หัวเว่ย (Huawei) เปิดตัวโซลูชันห้องเรียนอัจฉริยะแห่งอนาคตที่ฟอรัมการศึกษา (Education Forum) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2566 (MWC 2023) โซลูชันนี้ใช้ระบบไวไฟ 7 และอุปกรณ์เอดจ์ (Edge) อัจฉริยะ เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างอัจฉริยะผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างคลาวด์กับเอดจ์ โดยในฟอรัมนี้ หัวเว่ยยังเสนอให้ใช้ทรัพยากรการศึกษาที่ครอบคลุม ปรับปรุงความสามารถในการวิจัย และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการผ่านโซลูชันการศึกษาสำหรับทุกสถานการณ์ และท้ายที่สุด เร่งการยกระดับอุตสาหกรรมการศึกษาในด้านดิจิทัล
คุณมาร์ค หยาง (Mark Yang) ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมการศึกษา แผนกบริการภาครัฐทั่วโลกของหัวเว่ย กล่าวเปิดงานว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) รุ่นถัดไปกำลังเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลของระบบการศึกษา โดยช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย สัมผัสประสบการณ์เสมือนจริง และการเรียนรู้แบบสากลกำลังได้รับความนิยม ซึ่งหัวเว่ยเราก็ร่วมมือกับพันธมิตรด้านโซลูชันเพื่อช่วยลูกค้าสร้างรากฐานดิจิทัล สร้างแคมปัสและห้องเรียนอัจฉริยะ และทำให้กิจกรรมการสอนเป็นดิจิทัล พวกเราจะร่วมกันส่งเสริมสภาพแวดล้อมอัจฉริยะสำหรับการสอนตามสถานการณ์ ประสบการณ์ และการโต้ตอบ เพื่อให้ได้รับการศึกษาที่ดีขึ้นและมีความสามารถในการวิจัยที่สูงขึ้น"
คุณนาดิม อับดุลราฮิม (Nadim Abdulrahim) ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม จากแผนกบริการภาครัฐทั่วโลกของหัวเว่ย ประกาศเปิดตัวโซลูชันสมาร์ต คลาสรูม 2.0 (Smart Classroom 2.0) และแนะนำโซลูชันการศึกษาสำหรับทุกสถานการณ์ของหัวเว่ย ซึ่งคุณอับดุลราฮิมได้กล่าวว่า "โซลูชันการศึกษาของหัวเว่ยนั้นรวมไอซีทีเข้ากับสถานการณ์การสอน ทางหัวเว่ยได้อัปเกรดห้องเรียนอัจฉริยะ เปิดใช้งานเครือข่ายแคมปัสแบบรวมที่ใช้ระบบ Wi-Fi 7 ของหัวเว่ยเอง ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายออปติคอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการสอนอัจฉริยะที่หลากหลาย โดยสิ่งนี้จะช่วยให้นักการศึกษาสามารถทำลายข้อจำกัดของเวลาและพื้นที่ และเปิดใช้การเรียนการสอนที่เป็นสากลเพื่อการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง"
โซลูชันสมาร์ต คลาสรูม 2.0 มีข้อดีดังต่อไปนี้
อุปกรณ์เชื่อมต่อได้รับการอัปเกรด
Wi-Fi 7 มีอัตราการเชื่อมต่อทางอากาศที่ 18.67 กิกะบิต/วินาที ทำให้การเรียนรู้ออนไลน์เป็นไปได้อย่างราบรื่น
อุปกรณ์เอดจ์อัจฉริยะช่วยเชื่อมต่อทรัพยากรวิดีโอกับแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ เพื่อมอบฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมประชุมอัจฉริยะ การแปลงคำพูดเป็นข้อความแบบเรียลไทม์ และการจัดการทรัพยากรวิดีโอออนไลน์
โซลูชันนี้รองรับการสตรีมสด การบันทึกอัตโนมัติ และการวิเคราะห์ชั้นเรียน อำนวยความสะดวกในการสอนอย่างชาญฉลาดด้วยการทำงานร่วมกันของเอดจ์และคลาวด์
หัวเว่ยมอบบริการห้องเรียนอัจฉริยะที่ราบรื่น โดยใช้เครือข่ายแคมปัสแบบหลอมรวมและ NREN ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างรากฐานคลาวด์ดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูง หัวเว่ยมุ่งเน้นไปที่ห้องเรียนอัจฉริยะ วิทยาเขตอัจฉริยะ และนวัตกรรมการวิจัย จึงออกแบบโซลูชันการศึกษาสำหรับทุกสถานการณ์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาคุณภาพสูง
คุณอนา มาการิตา เรเยส ซีอีโอของไมเว่ย (Maiwei) บริษัทเทคโนโลยีและนวัตกรรมในเครือเอ็กซ์ซูซา (EXSUSA) ประเทศปานามา กล่าวว่า "ในปานามา ระบบไอซีทีแบบเดิมขัดขวางการสอนแบบอัจฉริยะ เราร่วมมือกับหัวเว่ย เพื่อสร้างวิทยาเขตอัจฉริยะโดยใช้ระบบเอ็นซีอี-แคมปัส (NCE-Campus) ระบบจัดเก็บและวิเคราะห์วิดีโอ และไอเดียฮับ (IdeaHub) สิ่งเหล่านี้กำลังขับเคลื่อนการจัดการวิทยาเขตที่มีประสิทธิภาพ ชาญฉลาด และมีการสอนแบบดิจิทัล ส่งผลให้ประสบการณ์การเรียนรู้ดีขึ้น"
หัวเว่ยได้ช่วยส่งเสริมการศึกษาอัจฉริยะกับลูกค้ามากกว่า 2,800 รายจากกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยใน 120 ประเทศและภูมิภาค และในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงนำเสนอโซลูชันตามสถานการณ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับอุตสาหกรรมการศึกษา เร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และช่วยโลกในการบ่มเพาะผู้มีความสามารถเชิงนวัตกรรม
สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
[email protected]รูปภาพ -
https://mma.prnewswire.com/media/2013269/image_986294_75671207.jpgคำบรรยายภาพ - เปิดตัวโซลูชันสมาร์ต คลาสรูม 2.0