หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไอบีเอ็มชี้ซีอีโออาเซียน-ไทยให้ความสำคัญกับการโมเดิร์นไนซ์ระบบไอที  (อ่าน 1162 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2023, 11:03:52 »

สถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) เผยผลการศึกษาซีอีโอทั่วโลกล่าสุด พบครึ่งหนึ่งของซีอีโอในอาเซียน-ไทยที่สำรวจ มองการโมเดิร์นไนซ์ระบบไอที (tech modernization) เป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุด เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านการเพิ่มผลิตภาพขององค์กร รวมถึงการสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า ซึ่งซีอีโอมองว่าเป็นสองเรื่องที่มีความสำคัญสูงสุดรองลงมา อย่างไรก็ดี ยังมีอุปสรรคสำคัญที่ซีอีโอต้องเผชิญในก้าวย่างการโมเดิร์นไนซ์ระบบและการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง generative AI เข้ามาใช้ในองค์กร

การศึกษาประจำปีนี้* ภายใต้หัวข้อ CEO decision-making in the age of AI, Act with intention ได้ทำการศึกษาซีอีโอทั่วโลก 3,000 คน รวมถึงได้สำรวจซีอีโอจากบริษัทข้ามชาติในสหรัฐอเมริกาในประเด็น generative AI เพิ่มเติมอีก 200 คน

ทั้งนี้ สามในสี่ซีอีโอที่สำรวจเชื่อว่าความได้เปรียบในการแข่งขัน จะตกเป็นของผู้ที่มีระบบ generative AI ที่ก้าวล้ำที่สุด โดยผู้บริหารเองก็กำลังชั่งน้ำหนักความเสี่ยงหรืออุปสรรคจากตัวเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน ไม่ว่าในแง่อคติเอนเอียง จริยธรรม หรือความปลอดภัย โดยกว่าครึ่ง (57%) ของซีอีโอในอเมริการที่สำรวจ มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล ขณะที่ 48% กังวลเกี่ยวกับอคติหรือความถูกต้องของข้อมูล

"วันนี้ generative AI คือก้าวสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับใช้ AI ให้เข้ากับความต้องการได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงพัฒนาและขยายการใช้งานบนคลาวด์ต่าง ๆ ได้อย่างยืดหยุ่นคล่องตัว อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็น use case แบบใด สิ่งสำคัญที่ซีอีโอควรใช้เป็นตัววัดความสำเร็จคือความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการแสดงที่มาของผลลัพธ์อย่างโปร่งใส และความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูลที่ AI แสดงผล และที่มองข้ามไม่ได้คือการที่ข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคต้องได้รับการปกป้องและคุ้มครอง" สวัสดิ์ อัศดารณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าว "ในวันนี้ที่ซีอีโอต่างเร่งเครื่องนำ AI เข้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน รวมถึงการดูแลลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น โมเดล AI ต่าง ๆ ที่ใช้ต้องมีความปลอดภัย ให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และมีการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามข้อพิจารณาด้านกฎระเบียบและจริยธรรมต่าง ๆ"

ผลการศึกษายังสะท้อนมุมมองของซีอีโอในอาเซียน ซึ่งรวมถึงในประเทศไทย อาทิ

เทคโนโลยีคือเรื่องสำคัญเร่งด่วนและเป็นกุญแจหลักที่ขับเคลื่อนองค์กร

50% ของซีอีโอที่สำรวจในอาเซียน รวมถึงในไทย มองการโมเดิร์นไนซ์ระบบและแอพพลิเคชันไอทีเป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุด โดยที่การเพิ่มผลิตภาพขององค์กร (48%) และการสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า (48%) เป็นสองเรื่องที่มีความสำคัญสูงสุดรองลงมา
นับเป็นเวลาสี่ปีติดต่อกันแล้ว ที่ซีอีโอในอาเซียนมองเทคโนโลยีว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่จะส่งผลกระทบต่อองค์กรสูงสุดในอีกสามปีข้างหน้า
ซีอีโอมองผู้บริหารด้านปฏิบัติการและเทคโนโลยีเป็นผู้ช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

เมื่อถามว่าผู้บริหารระดับ C-Suite ตำแหน่งใดที่จะมีส่วนต่อการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในอีกสามปีข้างหน้า ซีอีโอในอาเซียนและในไทยระบุว่าคือ COO (62%) และ CFO (54%)
ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของซีอีโอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดย 41% ของซีอีโอมอง CIO, CTO และ Chief Digital Officer หรือ CDO ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดขององค์กร
ซีอีโอระบุว่าพร้อมที่จะนำ generative AI มาใช้ แต่ผู้บริหารอื่น ๆ ยังมีข้อกังขา

สามในสี่ (75%) ของซีอีโอในสหรัฐฯ ที่สำรวจเชื่อว่าองค์กรที่มี generative AI ที่ก้าวล้ำมากที่สุดจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน
ครึ่งหนึ่ง (50%) ของซีอีโอระบุว่าได้เริ่มนำ generative AI มาใช้กับผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ แล้ว โดย 43% ระบุว่ากำลังใช้ generative AI เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ขณะที่ 36% ใช้เทคโนโลยีในการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ
69% ของซีอีโอในสหรัฐฯ มองเห็นถึงประโยชน์ของการนำ generative AI มาใช้ทั่วทั้งองค์กร แต่มีทีมผู้บริหารเพียง 29% ที่มองว่าองค์กรมีความเชี่ยวชาญภายในมากพอสำหรับการเริ่มใช้ generative AI
มีผู้บริหารอาวุโส (ที่ไม่ใช่ซีอีโอ) เพียง 30% เท่านั้น ที่มองว่าองค์กรของตนพร้อมนำ generative AI มาใช้อย่างมีความรับผิดชอบ
Generative AI กำลังทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร แต่ยังขาดการประเมินผลกระทบในภาพกว้าง

ประมาณ 43% ของซีอีโอในสหรัฐฯ ที่สำรวจ ระบุว่าได้ปรับลดหรือปรับตำแหน่งงานของพนักงาน อันเป็นผลพวงมาจาก generative AI ขณะที่อีก 28% วางแผนที่จะดำเนินการดังกล่าวในอีก 12 เดือนข้างหน้า
46% ของซีอีโอที่สำรวจระบุว่า generative AI นำสู่การจ้างพนักงานเพิ่ม และ 26% มีแผนจ้างงานเพิ่มขึ้นในอนาคต
อย่างไรก็ดี มีซีอีโอในสหรัฐฯ เพียงหนึ่งในสาม (28%) ที่ได้ประเมินผลกระทบที่ generative AI อาจมีต่อบุคลากรของตนแล้ว ขณะที่ 36% วางแผนที่จะทำในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ดูผลการศึกษาฉบับเต็มได้ที่ https://ibm.co/c-suite-study-ceo 

*ระเบียบวิธีการศึกษา

สถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) ได้ร่วมกับ Oxford Economics ในการสัมภาษณ์ซีอีโอ 3,000 คน จากกว่า 30 ประเทศ และ 24 อุตสาหกรรม ในการศึกษา IBM C-Suite Study ฉบับที่ 28 นี้ โดยเน้นที่มุมมองของผู้บริหารเกี่ยวกับภาวะผู้นำและธุรกิจ, บทบาทและความรับผิดชอบที่กำลังเปลี่ยนไป และการตัดสินใจของซีอีโอในปัจจุบัน รวมถึงความท้าทายและโอกาสสำคัญ ๆ, การใช้เทคโนโลยี ข้อมูล และการวัดผล รวมถึงวิสัยทัศน์ที่มีต่อโลกอนาคต โดย IBV ยังได้ทำการสำรวจซีอีโอ 200 คนในสหรัฐฯ เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อ generative AI

อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่
https://www.thaipr.net/it/3357449
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: