ผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยกับงาน Enlit Asia ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับงานวันไฟฟ้าแห่งชาติอินโดนีเซีย ครั้งที่ 78 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 12,000 คน หัวเว่ย (Huawei) ในฐานะผู้สนับสนุนระดับเพชร (Diamond Sponsor) ของงานนี้ ได้ร่วมนำเสนอโซลูชันนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า และเปิดตัวศูนย์นวัตกรรมร่วมกับเปรูซาฮาน ลิสตริก เนการา (Perusahaan Listrik Negara หรือ PLN) รัฐวิสาหกิจไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย
นิโคลัส หม่า (Nicholas Ma) ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ด้วยการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านการพัฒนาสีเขียวและดิจิทัลของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิก และชี้ให้เห็นว่าเรากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวและดิจิทัล อันจะเป็นการส่งเสริมความยั่งยืนควบคู่ไปกับการเติบโตที่แข็งแกร่ง การเปลี่ยนผ่านพลังงานไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ นักลงทุน และธุรกิจทุกขนาด
นิโคลัสกล่าวต่อไปว่า หัวเว่ย ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำระดับโลกที่มีรากฐานอยู่ในตลาดเอเชียแปซิฟิก จะยังคงมีส่วนร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลและพลังงาน บ่มเพาะบุคลากรคนเก่งด้านดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า และเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลผ่านความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับผู้เล่นชั้นนำในอุตสาหกรรม เช่น PLN เพื่อสร้างแบบอย่างที่ดีให้กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ในงานนี้ หัวเว่ยและ PLN ยังได้เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมร่วม (Joint Innovation Center) ซึ่งจะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของ PLN และกระตุ้นให้สินทรัพย์ต่าง ๆ ของบริษัทได้ปลดปล่อยมูลค่าทางดิจิทัล
นีซาร์ ปาเทรีย (Nezar Patria) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของอินโดนีเซีย พร้อมด้วยบาปัก ดาร์มาวาน ปราซอดโจ (Bapak Darmawan Prasodjo) ซีอีโอของ PLN และประธานคณะกรรมการกำกับของ MKI เข้าเยี่ยมชมบูธและแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ยเกี่ยวกับโซลูชันพลังงานไฟฟ้าที่ล้ำสมัย ซึ่งสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับการเปลี่ยนผ่านพลังงานในอนาคต
เอ็ดวิน ดีเอนเดอร์ (Edwin Diender) ซีไอโอหน่วยธุรกิจพลังงานไฟฟ้าของหัวเว่ย กล่าวในโอกาสการเปิดตัวรายงาน "แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า" โดยหัวเว่ย ว่า "เครือข่ายในอนาคตจะถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความจุมากกว่าปัจจุบันถึง 100 เท่า แต่การใช้พลังงานทั้งหมดจะไม่สูงกว่าเครือข่ายในปัจจุบัน หัวเว่ยจะยังคงคิดค้นรูปแบบการใช้งานใหม่ ๆ และเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรม เพื่อรับประกันความมั่นคงด้านพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สูงสุด ลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาพลังงานและพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสูง"
"การเปลี่ยนผ่านพลังงานจะนำเซ็นเซอร์ที่กระจายอยู่ทั่วไปหลายร้อยล้านตัวเข้าสู่ระบบ และการรับรู้แบบเรียลไทม์จะกลายเป็นพื้นฐานของสมดุลไดนามิกของระบบพลังงาน" แฟรงก์ ซู (Frank Zou) ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชันดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าของหัวเว่ย อินโดนีเซีย กล่าวในระหว่างการนำเสนอ Knowledge Hub "เราต้องการการสนับสนุนความสามารถทางดิจิทัลที่เป็นระบบ ทั้งการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ และความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านพลังงาน"
ปัจจุบัน หัวเว่ยร่วมมือเชิงลึกกับบริษัทพลังงานมากกว่า 190 แห่งทั่วโลก และร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศสร้างโซลูชันที่ตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานมากกว่า 40 โซลูชัน เพื่อปูทางสำหรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
รูปภาพ -
https://mma.prnewswire.com/media/2282371/image_5016036_45556606.jpgรูปภาพ -
https://mma.prnewswire.com/media/2282372/2.jpg