หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “บายพาสหัวใจ” ทางเลือกการรักษาใหม่รักษาหลอดเลือดหัวใจอุดตัน  (อ่าน 1175 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
inkuma
Registered User
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


อีเมล์
« เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2016, 17:08:26 »

หลายคนอาจยังไม่รู้ตอนนี้สาเหตุการตายของคนไทยไม่ใช่อุบัติเหตุอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นโรคภัยต่างๆตั้งหากที่คร่าชีวิตคนไทย และแน่นอนโรคที่มาเป็นอันดับหนึ่งคงไม่พ้นมะเร็ง ทำให้ปัจจุบันในบ้านเรามีการรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็งกันมากมาย แต่จะมีใครรู้หรือไม่ว่า โรคที่อันตรายไม่ต่างจากโรคมะเร็งตามมาเป็นอันดับสองคือโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้คนไทยบ้านเราในปัจจุบันมัวแต่ระวังโรคมะเร็งจนไม่ได้ใส่ใจโรคอื่น จึงเป็นสาเหตุให้คนไทยมีอัตราการเกิดโรคนี้มาก และเป็นสาเหตุของการตายอันดับต้นๆ ของเมืองไทย

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั้นเกิดจากความเสื่อมของเส้นเลือด  ผลจากการมีไขมันและการสะสมของหินปูนไปเกาะเส้นเลือดแดง จนเกิดการอุดตันหรือเส้นเลือดแตกเกิดขึ้น  จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง บางรายอาจทำให้เสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ ส่วนเหตุที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อม เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น การสูบบุหรี่  ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน เป็นต้น โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันนี้ ในระยะแรกส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการร้ายแรงใดออกมา ผู้ป่วยจะใช้ชีวิตปกติ แต่ถ้าหากในระยะหลังๆจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างมาก เหมือนมีอะไรหนักๆมากดทับตรงกลางหน้าอก อาจเจ็บขึ้นไปถึงคาง หรือเจ็บลงไปถึงแขนซ้ายก็มี

การทำบายพาสหัวใจ รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่ได้รับนิยม มักจะใช้วิธีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือที่รู้จักกันว่า “การทำบายพาสหัวใจ” โดยแพทย์จะใช้เส้นเลือดภายในทรวงอกด้านซ้าย และเส้นเลือดแดงบริเวณแขนซ้าย หรือเส้นเลือดดำบริเวณขา ตั้งแต่ข้อเท้าด้านในจนถึงโคนขาด้านใน  มาเย็บต่อเส้นเลือดเพื่อนำเลือดแดงจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดโดยข้ามผ่านเส้นเลือดส่วนที่ตีบ

“กรณีแพทย์ตัดสินใจทำการผ่าตัด ส่วนใหญ่จะทำเมื่อเส้นเลือดตีบและอุดตันแล้วประมาณ 70% ขึ้นไป แต่หากมีไขมันมาเกาะโดยไม่มีหินปูน และมีอายุ 30-40 ปี อาจรักษาด้วยการทานยาอาจช่วยให้ไขมันลดลง หรือกรณีที่อุดตันเส้นเดียว ก็ทานยา หรือ ใส่ขดลวดบอลลูนได้”
สำหรับการทำผ่าตัดบายพาสหัวใจตีบตันในปัจจุบัน มี 2 วิธี  คือ
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) หรือ แบบ “ไม่ต้องหยุดหัวใจ”

การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แบบต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On Pump CABG) เพื่อ “หยุด” การทำงานของหัวใจทั้งหมด


“ปัจจุบันการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจของไทย มีการทำทั้งสองแบบ แต่ผ่าตัดแบบไม่ต้องหยุดหัวใจ เป็นเทคโนโลยีแนวใหม่ที่นำมาใช้เมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา  ขณะที่แบบเดิมหรือผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม ทำกันมากว่า 40 ปี ในส่วนโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพของเราได้มีการพัฒนาการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบไม่ต้องหยุดหัวใจ  ซึ่งให้ผลการรักษาดีกว่าแบบเดิม  แต่จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างในการต่อเส้นข้างใต้หัวใจที่หัวใจยังเต้นอยู่  แต่ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางและชำนาญจึงลดความเสี่ยงและมั่นใจได้” ทีมศัลยกรรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลกรุงเทพ

โดยทั่วไปแพทย์หัวใจจะใช้วิธีการผ่าตัดบายพาสแบบใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม  เพื่อหยุดการทำงานของหัวใจทั้งหมด  แต่ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพนั้น  แพทย์หัวใจจะมีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดบายพาสแบบหัวใจยังเต้นอยู่  โดยใช้เครื่องมือเกาะยึดหัวใจให้หยุดนิ่ง ซึ่งข้อดีของการผ่าตัดแบบนี้ก็คือ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแทรกซ้อนจากเครื่องปอดหัวใจเทียม แต่ก็อาจพบได้ 2-3% กรณีผู้ป่วยมีปัญหาโรคแทรกซ้อนอื่น เช่น  ไตวายชั่วคราว  stroke หลังผ่าตัด   เลือดไม่แข็งตัวทำให้เลือดออกไม่หยุด เป็นต้น นอกจากนั้นการผ่าตัดบายพาสแบบไม่หยุดหัวใจ ยังทำให้ใช้ปริมาณเลือดน้อยลง และลดระยะเวลาในการผ่าตัดและการดมยาสลบให้สั้นลง 

ตลอดจนระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลก็สั้นกว่าแบบผ่าตัดบายพาสหยุดหัวใจ ปัจจุบันโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ มีทีมศัลยกรรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดบายพาสโรคหัวใจ ที่สามารถรองรับผู้ป่วยผ่าตัด1-2 รายต่อวัน นอกจากมีทีมแพทย์ที่มีความชำนาญด้านโรคหัวใจแล้ว ยังพร้อมด้วยเทคโนโลยีการรักษาผ่าตัดโรคหัวใจเพื่อเพิ่มความปลอดภัย และลดความกังวลให้กับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยด้วย

อ้างอิงข้อมูลจากhttps://www.bangkokhospital.com/hearthospital/en/heart-health-info/heart-disease-and-treatment/41/full_detail] [url]https://www.bangkokhospital.com/hearthospital/en/heart-health-info/heart-disease-and-treatment/41/full_detail[/url]
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: