หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ผลิตในเอเชียแปซิฟิกเผชิญกับความยากลำบากในการเอาชนะคู่แข่ง  (อ่าน 2237 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 20 มีนาคม 2023, 09:21:43 »

ผลสำรวจระดับโลกเผยให้เห็นผลกระทบของเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากที่สุด พร้อมดึงดูดบุคลากรคนเก่ง และลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุดในเรื่องซัพพลายเชน คุณภาพ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

Rockwell Automation, Inc. (NYSE: ROK) บริษัทรายใหญ่ที่สุดในโลกด้านระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ประกาศผลการศึกษาแวดวงการผลิตอัจฉริยะในหัวข้อ "State of Smart Manufacturing Report" ซึ่งมีขึ้นเป็นปีที่ 8 แล้ว การศึกษาดังกล่าวได้สำรวจผู้ผลิตกว่า 1,350 รายทั่วโลก ในประเทศที่ล้ำหน้าในด้านการผลิต 13 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

รายงานประจำปีนี้มุ่งแสดงให้เห็นแนวทางผลักดันการเติบโตโดยทำกำไรได้งอกสามแต่ไม่ลดทอนคุณภาพ เน้นดึงศักยภาพที่แท้จริงของข้อมูลออกมา และนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เพื่อสร้างความยืดหยุ่น นำเสนอความคล่องตัว ส่งเสริมความยั่งยืน และจัดการกับปัญหาท้าทายเรื่องกำลังคน

ข้อค้นพบสำคัญจากรายงานฉบับนี้

-  "ดูแลคุณภาพและการเติบโตอย่างสมดุล" และ "สอดส่องหรือแสดงปริมาณแนวปฏิบัติที่ยั่งยืน" เป็นอุปสรรคภายในที่หนักหน่วงที่สุด ซึ่งทำให้ผู้ผลิตในเอเชียแปซิฟิกก้าวหน้าไม่ได้มากอย่างที่ควรในปีนี้ เมื่อเทียบกับการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในปี 2565

-  ผู้ผลิตทั่วโลกที่เชื่อว่าองค์กรของตนขาดเทคโนโลยีที่จำเป็นในการเอาชนะคู่แข่งนั้นมีจำนวนมากกว่าปี 2565 ถึงสองเท่า

-  ผู้ผลิต 4 ใน 5 รายยังคงขาดโซลูชันวางแผนซัพพลายเชนแบบครบวงจร

-  ผู้ผลิตในเอเชียแปซิฟิกเกือบครึ่งหนึ่ง (44%) มีแผนใช้เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะภายในปีหน้า โดยผู้ผลิต 80% ในจีน 60% ในออสเตรเลีย และ 59% ในอินเดีย ได้เริ่มนำเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะมาใช้บางส่วนแล้ว

-  อุปสรรคสำคัญที่สุดสำหรับผู้ผลิตทั่วเอเชียแปซิฟิกในการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ ได้แก่การที่พนักงานไม่ยอมนำเทคโนโลยีมาใช้และไม่ยอมเปลี่ยน ขาดชุดทักษะในการดูแลเรื่องการนำเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะมาใช้ และมองไม่เห็นภาพชัดเจนในเรื่องคุณประโยชน์และผลตอบแทนจากการลงทุนกับเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะ

-  ระบบบริหารงานคุณภาพ (QMS) เป็นระบบการผลิตอัจฉริยะที่ผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชียแปซิฟิกมองเห็นผลตอบแทนจากการลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือระบบปฏิบัติการผลิต (MES) และระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP)

-  ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นอุปสรรคอันดับหนึ่งที่ผู้ตอบแบบสำรวจทุกรายต้องการบรรเทา โดยอาศัยเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะ

-  ผู้ผลิต 88% ทั่วเอเชียแปซิฟิกมีแผนจ้างงานในระดับเดิมหรือไม่ก็เพิ่มจากเดิมอันเป็นผลจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจ 39% เชื่อว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นจะทำให้ตนโยกย้ายพนักงานที่มีอยู่เดิมไปทำหน้าที่ใหม่ได้

-  ผู้ผลิตในเอเชียแปซิฟิก 94% มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ทั้งแบบทางการและไม่ทางการอยู่แล้ว โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (48%) ในจำนวนดังกล่าวเปิดเผยว่า ปัจจัยอันดับหนึ่งที่ทำให้ต้องมีนโยบายสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลนั้นเป็นเพราะนโยบายดังกล่าวเป็น "จุดสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน"

"เหล่าผู้ผลิตยังคงแสวงหาโอกาสในการเติบโตโดยทำกำไรได้ดี แต่ขณะเดียวกันก็ตระหนักว่าความไม่แน่นอนในเรื่องความพร้อมของแรงงานนั้นกระทบทั้งคุณภาพและความสามารถในการตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจากลูกค้า" Veena Lakkundi รองประธานอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์และการพัฒนาองค์กรของ Rockwell Automation กล่าว "การสำรวจครั้งนี้พบว่า เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตทุกขนาดเพิ่มประสิทธิภาพโซลูชันที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และยั่งยืนกว่าได้ ซึ่งจะช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงต่อไป หากประวัติศาสตร์ได้สอนอะไรสักอย่างให้กับเราแล้ว ก็คงเป็นเรื่องที่ว่าองค์กรที่ลงทุนในนวัตกรรมโดยมุ่งลงมือจริงในยามที่สิ่งต่าง ๆ ไม่แน่นอนนั้นสามารถแซงหน้าคู่แข่งได้"

ผลสำรวจดังกล่าวพบว่า เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงและผลักดันการเติบโต อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ผลิต 1 ใน 3 รายทั่วโลกแล้ว ระบบและแพลตฟอร์มที่มีอยู่มากมายทำให้เกิด "ภาวะอัมพาตทางเทคโนโลยี" (technology paralysis) หรือการเลือกโซลูชันไม่ได้ โดยผู้ผลิตจะเอาชนะความไม่แน่ใจนี้ได้ โดยเลือกพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถให้คำแนะนำและช่วยชี้ช่องทางในการนำโซลูชันที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ไปใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

"ที่ Rockwell เราผสานรวมโซลูชันทางอุตสาหกรรมของเราเข้ากับอีโคซิสเต็มพาร์ทเนอร์ของเราซึ่งไม่เป็นสองรองใคร เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาที่บริษัทชั้นนำทั่วโลกวางใจได้" คุณ Lakkundi กล่าว "เราเป็นบริษัทรายใหญ่ที่สุดที่มุ่งพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยเรามีเป้าหมายเพื่อทำให้งานที่ซับซ้อนง่ายขึ้น และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ของบริษัทบนเส้นทางของพวกเขา"

อ่านผลค้นพบทั้งหมดในรายงานฉบับนี้ได้ที่นี่

ระเบียบวิธี

รายงานฉบับนี้วิเคราะห์ความคิดเห็นจากผู้ตอบแบบสำรวจรวมทั้งสิ้น 1,353 ราย จากประเทศผู้ผลิตอันดับต้น ๆ รวม 13 แห่ง ผู้ตอบแบบสำรวจมีบทบาทตั้งแต่ระดับผู้จัดการไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง และดำเนินการร่วมกับ Sapio Research และ Plex บริษัทในเครือ Rockwell Automation โดยในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดนั้น มีผู้ที่อาศัยอยู่ในเอเชียแปซิฟิก 425 รายในออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี การสำรวจครั้งนี้ครอบคลุมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งอุตสาหกรรมแบบแยกส่วน กระบวนการ และแบบผสมผสานจากบริษัทขนาดต่าง ๆ ที่กระจายกันอย่างสมดุล โดยมีรายได้ตั้งแต่ 10 ล้านดอลลาร์ไปจนถึงกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งให้มุมมองทางธุรกิจในภาคการผลิตได้อย่างกว้างขวาง

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: