หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 5 แนวทางที่ซอฟต์แวร์จะช่วยยกระดับความยั่งยืนใน 5 ปีข้างหน้า  (อ่าน 1257 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 02 มิถุนายน 2023, 14:58:54 »

ดีเอ็กซ์ซี เทคโนโลยี เผย 5 แนวทางที่ซอฟต์แวร์จะช่วยยกระดับความยั่งยืนใน 5 ปีข้างหน้า

นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จำเป็นต่อการสร้างอนาคตที่มีความมั่นคงด้านสภาพภูมิอากาศ

ดีเอ็กซ์ซี เทคโนโลยี (DXC Technology) (NYSE: DXC) บริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่ติดทำเนียบฟอร์จูน 500 (Fortune 500) ได้คาดการณ์ 5 แนวทางที่ซอฟต์แวร์จะเข้ามาช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า

"เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในแทบทุกด้านของความยั่งยืน ตั้งแต่การเพิ่มผลิตภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพ และการประหยัดต้นทุน ไปจนถึงการติดตามและการสร้างแบบจำลองความก้าวหน้า" คุณเฮนริก ฮวิด เจนเซน (Henrik Hvid Jensen) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์เทคโนโลยีของดีเอ็กซ์ซี กล่าว "ในฐานะผู้นำด้านบริการไอทีระดับโลก ดีเอ็กซ์ซีเล็งเห็นแนวทางสำคัญ ๆ ที่เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในอีก 5 ปีข้างหน้า"

1. องค์กรต่าง ๆ จะหันมาใช้โมเดลธุรกิจแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

ปัจจุบัน ทรัพยากรธรรมชาติกำลังลดลงทั่วโลก และการนำทรัพยากรมาใช้มากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของทั่วโลกกำลังก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนระดับโลกที่เอื้อต่อการแข่งขันและไม่ก่อให้เกิดขยะ บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับโมเดลธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากร พัฒนาผลิตภัณฑ์รีไซเคิลได้ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

หนึ่งในความท้าทายสำคัญที่สุดของการก้าวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนก็คือ การเก็บรวบรวมและแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาพาสปอร์ตดิจิทัลสำหรับผลิตภัณฑ์ (Digital Product Passport หรือ DPP) เพื่อบันทึกข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยความโปร่งใส ทั้งในส่วนของประวัติความยั่งยืน คุณสมบัติด้านสิ่งแวดล้อม และความสามารถในการรีไซเคิล โดยสหภาพยุโรปเป็นผู้ลงมือก่อนในเรื่องนี้ และคาดว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรปจะมีพาสปอร์ตดิจิทัลภายในปี 2573

2. เอไอจะช่วยบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

เอไอจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการรับมือกับประเด็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ พลังงาน การคมนาคมขนส่ง หรือการบริหารจัดการระบบนิเวศเกษตร โดยในภาคเกษตรกรรมนั้น เอไอสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกและเพิ่มการทำงานอัตโนมัติเพื่อยกระดับการรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนตรวจจับโรคและการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลหรือปศุสัตว์ นอกจากเทคโนโลยีจะมีประโยชน์ต่อผลผลิตของฟาร์มแต่ละแห่งแล้ว ยังช่วยสร้างข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจด้านนโยบายทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

ยกตัวอย่างเช่น ดีเอ็กซ์ซีได้จับมือกับกระทรวงเกษตร ประมง และอาหารของสเปน เพื่อพลิกโฉมภาคเกษตรกรรมของสเปนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและเอไอ โดยโครงการหนึ่งมีการนำอัลกอริทึมเอไอมาใช้พยากรณ์ไฟป่าได้อย่างแม่นยำ ด้วยการประเมินข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่รวบรวมโดยกระทรวงฯ และพันธมิตร ส่วนในโครงการอื่น ๆ นั้น เอไอก็ช่วยให้เกษตรกรได้รับข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับชนิดของพืชผลและตำแหน่งที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก

3. เอไอจะช่วยเพิ่มความสำเร็จในการใช้พลังงานหมุนเวียน

แมคคินซี่ (McKinsey) ประมาณการณ์ว่า ภายในปี 2569 กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 80% จากระดับของปี 2563 ยกตัวอย่างเช่น ยุโรปจะเพิ่มสินทรัพย์ประเภทพลังงานหมุนเวียน เช่น แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ยานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงานราว 36 ล้านรายการสู่โครงข่ายไฟฟ้าภายในปี 2568 และราว 89 ล้านรายการภายในปี 2573

ระบบอัตโนมัติและการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถช่วยบริหารจัดการแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ ควบคุมการใช้ไฟฟ้าส่วนเกิน และแจ้งเตือนจุดบกพร่องของโครงข่ายไฟฟ้าก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ตลอดจนช่วยหน่วยงานสาธารณูปโภคปรับการจ่ายไฟฟ้าไปสู่ที่ที่ต้องการได้ทันที


อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่ https://www.thaipr.net/it/3343488


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: