หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "คินโทน" ได้รับการยอมรับจากการ์ทเนอร์เป็นครั้งที่ 7 ติดต่อกัน  (อ่าน 434 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 12 ธันวาคม 2023, 11:21:14 »

คินโทนเดินหน้าสนับสนุนเทรนด์ที่ใครก็เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ ด้วยการนำเสนอแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนามือสมัครเล่น เพื่อให้สามารถสร้างเครื่องมือทำงานดิจิทัลได้ด้วยตัวเอง

คินโทน (Kintone) แพลตฟอร์มทำงานแบบดิจิทัลครบจบในที่เดียวที่ปรับแต่งได้เพื่อรองรับการทำงานร่วมกัน ได้รับการยอมรับอีกครั้งในรายงานเมจิก ควอแดรนท์ (Magic Quadrant(TM)) ฉบับล่าสุดของการ์ทเนอร์ (Gartner(R)) สาขาแพลตฟอร์มสร้างแอปพลิเคชันแบบเขียนโค้ดน้อย (Low-Code Application Platforms หรือ LCAP) ระดับองค์กร นับเป็นครั้งที่ 7 ติดต่อกันแล้วที่การ์ทเนอร์จัดอันดับคินโทนในรายงานประเมินผู้จำหน่ายโซลูชัน LCAP นอกจากนี้ คินโทนยังเป็นหนึ่งในผู้จำหน่ายเพียง 17 รายเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับในปีนี้

การ์ทเนอร์กำหนดนิยาม LCAP ว่าเป็น "แพลตฟอร์มสร้างแอปพลิเคชันเพื่อการพัฒนาและรันแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็ว ด้วยการหลีกเลี่ยงและลดการเขียนโค้ดให้เหลือน้อยที่สุด" โดยเกณฑ์ขั้นต่ำที่ทำให้เข้าข่ายเป็น LCAP ได้แก่ "การเขียนโค้ดน้อยแต่สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันให้สมบูรณ์ได้ อันประกอบด้วยยูสเซอร์อินเทอร์เฟสสำหรับเว็บไซต์และมือถือ ตรรกะทางธุรกิจ และคลังเก็บข้อมูล รวมทั้งรองรับการเขียนโปรแกรมแบบอาศัยโมเดลหรือภาพเมื่อเขียนสคริปต์ และทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มรันไทม์ให้แก่แอปพลิเคชันที่พัฒนาบน LCAP"

รายงานประจำปีนี้คาดการณ์ว่า ทั่วโลกจะให้ความสนใจมากขึ้นในการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยการเขียนโค้ดน้อยหรือไม่เขียนโค้ดเลย โดยภายในปี 2569 ตลาดการเขียนโค้ดน้อยคาดว่าจะมีรายได้แตะระดับ 1.57828 ล้านล้านบาท และส่วนแบ่งตลาดของ LCAP คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 6.3841 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นมากกว่า 20%

ในบรรดาเทรนด์ต่าง ๆ ที่ผลักดันให้องค์กรนำการเขียนโค้ดน้อยมาใช้งานนั้น การ์ทเนอร์ระบุว่า "แนวคิดประชาธิปไตยด้านซอฟต์แวร์และใครก็เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ ถือเป็นอีกแรงผลักดันที่ทำให้องค์กรต่าง ๆ นำเทคโนโลยีการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบเขียนโค้ดน้อยมาใช้ โดยแนวคิดเหล่านี้ไม่ได้จำกัดแค่ในแวดวงนักพัฒนาไอทีมืออาชีพที่ต้องการส่งมอบแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโดยไม่เขียนโค้ดเลยที่ถูกใช้งานโดยนักพัฒนามือสมัครเล่น (นักเทคโนโลยีธุรกิจ) ภายในหน่วยธุรกิจต่าง ๆ อีกด้วย"

แพลตฟอร์มคินโทนมีความโดดเด่นด้านการทำงานร่วมกันแบบไม่ต้องเขียนโค้ด ซึ่งช่วยให้นักพัฒนามือสมัครเล่นสามารถร่วมกันสร้างขั้นตอนการทำงานเพื่อยกระดับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และยังโดดเด่นในส่วนของระบบนิเวศพันธมิตรขนาดใหญ่ที่นำเสนอส่วนต่อขยายและปลั๊กอินที่หลากหลาย

"เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับการยอมรับเป็นครั้งที่ 7 ติดต่อกันในรายงานเมจิก ควอแดรนท์ ของการ์ทเนอร์ สาขาแพลตฟอร์มสร้างแอปพลิเคชันแบบเขียนโค้ดน้อยระดับองค์กร" คุณโยชิฮิสะ อาโอโนะ (Yoshihisa Aono) ประธานและซีอีโอของคินโทน กล่าว "นับตั้งแต่เราเปิดตัวแพลตฟอร์มคินโทนเมื่อปี 2554 เราได้ยกระดับฟังก์ชันการทำงานอย่างต่อเนื่อง และขยายระบบนิเวศพันธมิตรของเรา เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของนักพัฒนามือสมัครเล่น"

"ปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีทั่วโลกทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น ความสะดวกในการใช้งานแพลตฟอร์มคินโทนช่วยให้นักพัฒนามือสมัครเล่นที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีสามารถใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และผนวกแอปพลิเคชันเหล่านั้นเข้ากับระบบอื่น ๆ ได้ เราตั้งตารอที่จะเดินหน้าขยายธุรกิจทั่วโลกและสนับสนุนลูกค้าของเราด้วยการส่งมอบแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ที่ไม่ต้องเขียนโค้ดและปลอดภัย เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด"

ตลอดปี 2566 คินโทนยังคงเดินหน้าปรับปรุงผลิตภัณฑ์ด้วยฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่ ๆ ปัจจุบัน คินโทนมีลูกค้าใช้งานกว่า 31,000 รายทั่วโลก ตั้งแต่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปจนถึงองค์กรข้ามชาติ โดยเหล่าพันธมิตร ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที และนักพัฒนามือสมัครเล่น ได้ร่วมกันสร้างและใช้งานแอปพลิเคชันรวมกันกว่า 2 ล้านรายการ

ดาวน์โหลดสำเนารายงานเมจิก ควอแดรนท์ ของการ์ทเนอร์ สาขาแพลตฟอร์มสร้างแอปพลิเคชันแบบเขียนโค้ดน้อยระดับองค์กรฉบับล่าสุดได้ที่ https://resources.kintone.com/gartner-enterprise-low-code-platforms-2023

*ที่มา: Gartner, Magic Quadrant for Enterprise Low-Code Application Platforms, Oleksandr Matvitskyy, Kimihiko Iijima, Mike West, Kyle Davis, Akash Jain, Paul Vincent, October 17, 2023

การ์ทเนอร์ (Gartner) และ เมจิก ควอแดรนท์ (Magic Quadrant) เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท การ์ทเนอร์ อิงค์ (Gartner, Inc.) และ/หรือ บริษัทในเครือในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้แล้ว การ์ทเนอร์ขอสงวนลิขสิทธิ์ทั้งหมด

ข้อจำกัดความรับผิด: การ์ทเนอร์ไม่ได้ให้การรับรองผู้จำหน่าย ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใด ๆ ที่กล่าวถึงในรายงานการวิจัยของบริษัท และไม่ได้แนะนำให้ผู้ใช้เทคโนโลยีเลือกเฉพาะผู้จำหน่ายที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดหรืออันดับอื่นใดเท่านั้น รายงานการวิจัยของการ์ทเนอร์ประกอบด้วยความคิดเห็นขององค์กรวิจัยของการ์ทเนอร์ ดังนั้นจึงไม่ควรตีความว่าเป็นข้อเท็จจริง การ์ทเนอร์ปฏิเสธการรับประกันทั้งหมดเกี่ยวกับรายงานการวิจัยนี้ ไม่ว่าจะโดยชัดเจนหรือโดยนัย ซึ่งรวมถึงไม่รับประกันว่าขายได้หรือเหมาะกับวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง

อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่
https://www.thaipr.net/it/3421381
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: