หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: RARE! Levi's LVC 201XX1937 ดุม 555 USAแท้ๆใหม่เอี่ยมผ้ายังแข็ง สำหรับเอว 28 only  (อ่าน 35996 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2011, 23:38:24 »

"RARE !!!! "
Levi's Vintage Clothing LVC 201XX 1937 #555 ON TOP BUTTON

This model bears the number 555 on the back of the button, which means the jeans were manufactured at the original now-closed historic

Levi's factory on "Valencia Street" in San Francisco.

รุ่น ย้อนยุค รุ่นปี1937 201XX big E made in usa ผลิตปี 1998
ทรง กระบอกขาตรง ตะเข็บขาซ้ายปัดมาด้านหน้า ตะเข็บขาขวาปัดไปด้านหลัง

สภาพใหม่เอี่ยม เก็บอย่างดี ลงน้ำแค่ครั้งเดียว สียังเข้มเอาไปปั้นให้สวยได้ตามใจชอบได้เลย ตะเข็บสวย





ไซด์ ที่ป้าย W 30 L 36 *กางเกงหด 10 % เป็นปกติ

วัดจริงได้ เอว 28 ยาว จากเป้าถึงปลายขา 34
ยาวจากเอวถึงปลายขา 45.5 นิ้ว ปลายขากว้าง 8 .25 นิ้ว

**กางเกงไม่หน้าจะหดแล้วครับ**






+ ป้ายหนัง + ป้าย เรดแทบ บิ๊กอี ด้านเดียว อีกด้านเป็นพื้นสีแดง มีวงกลมตัวอาร์ตรงกลาง
+ เป็กหลัง ซ่อนอยู่ที่ด้านในขอบบน ของกระเป๋าหลัง
+ แซกดำ แบบ จมหรือ ฝั่งที่มุมบน ของกระเป๋าหลัง
+ กระดุมปั๊ม 555 + มีเบลล์หลังปรับกระชับ
+ ด้านในของกระเป๋าเล็กใส่เหรียญ เป็นริมแดง
+ ตะเข็บแบบเดี่ยว ที่ตะเข็บขากางเกง
+ ริมแดง ที่กระเป๋าเล็กใส่เหรียญ
+ ผ้าด้าน รหัส ผ้า 0003
+ แสตมแข็ง อันใหญ่ มีตัววื่ง ลีวายเสตาร์ในซิลเวอรไลน์ พิมพรหัสกางเกง เบอรกระดุม เดือนปี ที่ผลิต และแสตม โลโก้ลีวายสีแดง

















8,500.- บาท
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กุมภาพันธ์ 2011, 12:41:21 โดย porama » บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 00:18:01 »


ผมแปลแบบสรุป ผสมกับประสบการณ์ของผมที่ซื้อ LVC จาก http://www.cultizmในท ผสมกันไปนะครับ
มาว่าที่เรื่องของกระดุม กันก่อน
LVC ยุคแรก
กระดุมหมายเลข 555 ผลิตโรงงานที่ถนนValencia
กระดุมหมายเลข 554 ที่โรงงานSan Antonio
กระดุมหมายเลข 822 ผลิตปี 2001 ไม่ได้ระบุโรงงาน
กระดุมหมายเลข 643 ไม่ได้ผลิตใน อเมริกา
LVC หลังปี 2008
กระดุมหมายเลข 233 M North Carolina ใกล้ Cone mill
ตอนนี้ LVC ที่นิยมเล่นหาและมีสนนราคาแพงสุดของเป็น กระดุมตอง 555 นี่แหละ เพราะผลิตที่ Valencia

 เรื่องขนาดของ LVC เป็นปัญหาที่ปวดหัวกว่า Vintage เยอะครับ เพราะว่า LVC มีการทำออกมาหลายล็อต กระดุม 555 ตอนนี้ผ้าแข็งคงหายากแล้ว แต่รุ่นใหม่ๆ ซื้อได้ใน http://www.cultizm.com ราคาก็ไม่แพง ถ้าฟลุคๆได้ตัว sale แล้วใส่ได้ก็ถูกตังค์ดีครับ ได้ผ้าแข็งของใหม่เอามาปั้นเอง มันส์ดีแท้ ขอยืมสำนวนของพี่ flight มาหน่อยนะครับ "Vintage เปรียบเหมือน ช้างเผือก สะสมเอาไว้ใส่ออกงาน จะนั่งแต่ละครั้งต้องระวัง LVC หรือ Repro เปรียบเหมือนช้างศึกเอาไว้ใส่ลุยได้เต็ม"
คำแนะนำสำหรับ LVC รุ่นใหม่ๆ
1920s 201 ดึงให้ตึงพอสมควรขนาดจะใหญ่กว่าป้าย 1 นิ้ว จากขนาดป้าย
1955 501 ให้วัดจากขนาดเอวจริง
1890 – 1936 ซื้อจากขนาดเอวจริงเพราะกางเกงจะ UP ขนาด 2 นิ้วและหดเท่ากับป้าย
บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 00:19:39 »

รุ่น1937 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ2อย่างคือเริ่มใช้ป้ายRed Tab เพื่อให้แตกต่างจากคู่แข่ง เช่น Lee ซึ่งใช้โค้งปีกนกที่กระเป๋าหลังเหมือนกันและใช้หมุดซ่อนเพื่อป้องกันหมุดที่โผล่ไปทำลายเฟอร์นิเจอร์และเบาะที่นั่งของรถยนต์ ไม่มีกระดุมรอบเอว แต่มี Press on button มาเพื่อให้ผู้ซื้อ(ในสมัยนั้น)เลือกวิธีกระชับกางเกง มีหูเข็มขัดและเข็มขัดกระชับเอวอยู่ ผ้าหนัก10 oz.ก่อนซัก และหนัก 12-13 oz.หลังซัก มีริมแดง ผ้าจะเข้มกว่า 1933(ใน LVC)
คุณสมบัติ
กระเป๋า : 5 ใบ มีหมุดซ่อนและเย็บทับบนหมุดอีกทีหนึ่ง
หมุดย้ำ : LS & CO SF
ป้าย : เป็นป้ายหนังมีม้า 2 ตัวและพิมพ์ size ลงไป
การตัดเย็บ : ขาช่วงบนใหญ่กว่า 1933
บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 00:37:23 »

บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 00:44:24 »

    ที่มาของ LVC

บทความนี้เขียน โดย พี่ไฟท์ ลองอ่านกันดูนะครับเพื่อคุณจะได้เข้าใจ ที่มาของ LEVI'S VINTAGE CLOTHING

ก่อนจะทำ LVC ออกมาขาย จะขอย้อนกลับไปช่วง 80’s Levi’s ต้องสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสู้กับ Calvin Klien,DKNY,Jordace โดยเปลี่ยนไปใช้ผ้าหน้ากว้าง เนื้อทราย โดยการทุ่มโฆษณาแข่ง ซึ่งก็เป็นผลสำเร็จเพราะโฆษณาของ Levi’s เป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมากมายในปี86 ทำให้ยอดขายพุ่งสูงขึ้นทั้งในตลาดยุโรปและเอเชียจนถึงช่วงปี 1990 ส่วนแบ่งจากตลาด USA พุ่งสูงถึง 31% Levi’s จึงหลงระเริงกับความสำเร็จ จนลืมนึกถึงว่ามีคู่แข่งกำลังรุกเงียบแย่งตลาดจาก Levi’s ไป(ซึ่งทำให้ Levi’s ต้องปรับกลยุทธจนหัวปั่นในภายหลัง)เช่น JC Penney’s ผลิต Arizona สู้ด้วยราคาที่ถูกกว่า ร่วมด้วย Tommy Hilfiger และ DKNY กลายเป็นที่ต้องการในตลาดใหญ่ในเวลาต่อมา ขณะที่ Ben Davis และ Carhartt ได้ตลาดกลุ่ม Hip-Hop และกลุ่ม Work Wear และยังมี Gap และ Uniqlo ทำราคาค่อนข้างถูก แต่ใช้ผ้า Ring Spun+Selvage ซึ่งเป็นเหตุให้ Levi’s ต้องปิดโรงงานในประเทศ และใช้โรงงานที่ต้นทุนต่ำจากนอกประเทศผลิตสินค้าสู้ตลาดกลางและตลาดสินค้าราคาถูก สร้าง Levi’s Red , Levi’s Engineerสู้ตลาด Hip-Hop ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นตลาดพื้นฐานของ Levi’s
แต่มีอีกตลาดหนึ่งซึ่ง Levi’s ยอมไม่ได้(มันเป็นศักดิ์ศรีของ Levi’s)กล่าวคือในช่วงปี1985มีกลุ่มผู้แทนจำหน่าย Levi’sได้นำสินค้าที่เป็น Selvage Dead Stock ออกมาขาย และสร้างความต้องการและกลายเป็นของสะสมที่มีค่า ผู้ขายอ้างว่าเลิกผลิตผ้า Selvage แล้ว ผู้ซื้อก็พอใจเพราะได้ของหายาก ผู้ขายก็พอใจเพราะขายได้ราคาดีมากๆ ต่อมาได้มีการนำสินค้าที่เป็น Selvage มือสองออกมาขาย ซึ่งก็เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งที่มีราคาสูงกว่าของใหม่มาก (เหตุการณ์นี้เกิดในยุโรปและญี่ปุ่น) ขณะเดียวกันพอสะสมลึกๆเข้า คนกลุ่มนี้จึงรู้ว่าไม่ใช่เป็นแค่ Selvage เท่านั้น แต่ยังเป็น Ring Spun และ Pure Indigo ด้วย ทางโรงงานผลิตผ้า Denim ยักษ์ใหญ่ที่ญี่ปุ่น มีโรงงาน Kurabo และ Nisshinbo แห่ง Osaka และ Kaihara แห่ง Hiroshima จึงผลิตผ้า Selvage หน้าแคบ 29 นิ้ว ตามแบบ Levi’s ดั้งเดิม พร้อมทั้งใช้ด้ายคุณภาพสูงในการทอคือ Ring Spun และย้อมด้วย Pure Indigo และผลิตให้ Evis และ Edwin ก่อน สร้างจุดขายโดยการปล่อยข่างลือว่า ได้ใช้เครื่องทอที่เคยผลิตผ้าให้ Levi’s มาทำ แถม Evis ยังสร้างจุดขายให้รู้สึกว่าเป็น Levi’s Big E จำแลงโดย Red Tab เหมือน Levi’s แต่ขาด L เท่านั้น ผลคือขายดิบขายดีในกลุ่มคนรัก Levi’s รุ่นทำในญี่ปุ่น นักสะสมบางกลุ่มทั้งในยุโรปและญี่ปุ่น ต่างตอบรับการเกิดของยีนส์แนวนี้ ทำให้เกิดยีนส์แนวนี้ในญี่ปุ่นอีกหลาย Brand จนนับไม่ถ้วน
ในเวลาไล่เลี่ยกันนี้มี Designer ชาวยุโรปชื่อ Andriano Goldshimed ผู้หลงใหลแนว Vintage ของ Levi’s ได้ใช้ผ้า Kurabo ไปทำการซักที่ Martelli ใน Bolonga Italy ทำ Stonewash บ้าง ทำ Cat Whisker บ้าง ขัดด้วยกระดาษทรายบ้าง ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมือนของใช้แล้วแต่สวยและทนทาน ไม่เหมือน Stone wash ของ Levi’s ซึ่งใช้ผ้า Open end เปื่อยง่าย ทำให้เป็นที่นิยมของคนทั่วยุโรปและ USA ในนาม Diesel ปี 1987 ทาง Levi’s ในญี่ปุ่นจึงริเริ่มทำ LVC รุ่น 502 ขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะปล่อยตลาดนี้ไปให้ Brand ญี่ปุ่นนานๆไม่ได้ แต่ทาง USA กลับทำ Capital E ซึ่งใช้ผ้า Ring Spun แต่เป็นแนวแฟชั่นในปี 1992 แต่ไม่ได้รับความนิยม จึงริเริ่มคิดทำ LVC แบบเต็มตัวโดยให้ Cone Mill ไปศึกษาผ้าที่เคยทำไปแล้วในอดีต และปัดฝุ่นเครื่องจักรเก่าที่ทอผ้าหน้าแคบ และเครื่องปั่นด้าย Ring Spun ออกตลาดเต็มตัวเริ่มปี 1996 การทำ LVC เป็นเรื่องยาก เพราะนอกจากใช้เครื่องจักรเก่าซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของคนทอแล้ว ยังมีการทำผ้าหลายรุ่นซึ่งแต่ละปีของการ Reproduct จะได้ผ้าไม่เหมือนกัน ทั้งการย้อมและการทอ เพราะฉะนั้นรุ่นก่อนประวัติศาสตร์ของ Cone Mill(1915) จึงต้องใช้ผ้าของ Kurabo 9 ออนซ์ก่อนซักและ12 ออนซ์หลังซัก และใช้ผ้า Preshrunk จาก Kaihara 14 ออนซ์ ส่วน Cone Mill ทำผ้า 12.5 ออนซ์ก่อนซักและ 14 ออนซ์หลังซัก ในช่วงปีแรกๆจะทำจากโรงงานของ Levi’s เอง โดยทำเฉพาะผ้าแข็งเท่านั้น ในปีถัดมาจึงทำผ้าฟอกโดยใช้ต้นแบบจากยีนส์เก่าที่เก็บในพิพิธภัณฑ์ของ Levi’s โดยทำใน USA ทั้งหมด หลังปี 2002 โรงงาน Levi’s ใน USA ปิดลง พวกผ้าแข็งยังคงทำใน USA ส่วนผ้าฟอกจะทำใน Turkey เป็นส่วนมาก เพราะอาศัยความชำนาญในการฟอกย้อมที่ต้นทุนต่ำ
ทุกวันนี้ Levi’s ยังคงทำ LVC ขายอยู่ แต่อาจจะเปลี่ยนรุ่นที่ผลิตบ้าง ตามความคาดคะเนของนักการตลาดของ Levi’s
บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 09:55:45 »

up
บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 11:13:10 »

ดุม bank ดุม 4170 หรือ เลข 4 ตัวอื่น ๆ ผลิต แถวปี 2006 - 2009 นี่เอง จะเป็นตัวรีวายที่ทำตลาดต่างประเทศ คือ EU ครับ innor เป็นแบบริบบินยาว
มีรายละเอียด หลายภาษาและไม่ได้ผลิตที่โรงงานเดิมของลีวายที่ซานฟรานฯ แล้วครับ คือ โรงงานที่ตั้งอยู่ที่ถนน วาเลนเซีย ซานฟราน หรือ โรงงานใน รัฐเท็กซัส เพราะถูกปิดไปตั้งแต่ ปี 2002 แล้วเพราะปัญหาค่าแรงงาน และตั้งแต่นั้นมา ก็ถูกผลิตขึ้นใน โรงงานการ์เม้น อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ โรงงานเดิมแล้ว

อย่างตัวที่ลงขาย ดุม 555 ผลิตปี 1998 ที่ผมลงขายนี้ ยังอยู่ที่ โรงงาน วาเลนเซีย โรงงานดั่งเดิม ของลีวาย มาตั้งแต่ปี 1906 ที่เกิดแผ่นดินไหว และไฟไหม้
ครั้งใหญ่ที่ ซานฟรานครับ ทำให้โรงงานลีวายถูกไฟไหม้ จึงต้องย้ายการผลิต มาที่ถนนวาเลนเซีย ตั้งแต่นั้นมาจนถึง ปี 2002 ครับ


ดีสุดที่ ขายลีวายที่เค้าเล่นกัน ก็ต้อง vintage และ โคตรแพงและบางคนไม่มีปัญญาซื้อครับ เพราะตัวสุดก็ตัวละ 25000 ขึ้นไป ถึงตัวละเป็นแสน เป็นล้าน

รองลงขายที่เล่นกัน ก็ ดุม 555 554 822 นี่แหละครับ เพราะอะไร เพราะยังผลิตในโรงงานดั้งเดิมของลีวายนี่เอง

เพราะถ้าหลัง ปี 2002 เป็นต้นไป ถึงจะเป็น ลีวายแท้ ๆ แต่ก็ไม่ได้ถูกผลิตที่โรงงานเดิมแล้ว และเครื่องทอผ้า ก็ไม่ใช่ของเดิมแล้ว เพราะจ้างเค้าผลิต

ถึงจะผลิตใน USA ก็ตาม

นี่ไม่ต้องไปนับรวมถึง ลีวายที่ ผลิต เมค อิน ตุรกี บ้าง , เม็กซิโก บ้าง อิตาลี บ้าง ญี่ปุ่นบ้าง ถึงจะลีวายแท้ ก็ไม่ใช่โรงงานเดิม

เข้าใจไหมครับ ถ้าโทรคุยกันจะอธิบายได้มากกว่านี้ครับ



ส่วนถ้าต้องการจริง คุยกันได้ครับ สภาพนี้ หายากครับ เพราะ ถูกเก็บมาอย่างดี เหลือไซด์นี้แค่ ตัวเดียว ถ้าเป็นไซด์คุณ และคุณต้องการ คุยกันได้ครับ

เพราะถ้าไปซื้อที่ สวน ฯ หรือ ร้านที่ขายโดยเฉพาะ ตัวนี้จะถูกแจ้งถ้าที่ 14000 ถึง 15000.- ครับ เป็นราคามาตรฐาน ครับ เป็นราคามาตรฐาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 11:21:27 โดย porama » บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 20:09:24 »

up
บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 22:19:55 »

up
บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2011, 01:09:52 »

8,500.- บาท
บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2011, 11:07:19 »

up
บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2011, 12:50:19 »

up
บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2011, 13:17:03 »

Levi’s 501 Guide >>>>>> LVC (1996- present) Made in USA
 
LEVI’S  VINTAGE  CLOTHING (LVC)  เป็นแบรนด์ย่อย ที่ผลิตยีนส์ Levis ในแบบย้อนยุคสมัยก่อนตามประวัติศาสตร์ของอเมริกันยีนส์ตั้งแต่ปี 1870 จนถึง 1970  ตามข้อมูลที่มีในปัจจุบัน ซึ่งใช้นักประวัติศาสตร์ของ Levis และ designer ทำร่วมกัน ในยุคแรกเริ่มของการผลิต reproduction ในปี 1996 ซึ่งจะตัดเย็บอยู่ที่โรงงาน Levis เอง 2-3 แห่งหลักเท่าที่ทราบเช่นโรงงานที่ San Francisco ,โรงงานที่ Texas และจะมี code โรงงานตอกอยู่ที่กระดุมเม็ดบนเช่น 555 , 554 ,822 เป็นต้น ซึ่งพบได้ใน LVC ยุคแรกเริ่มครับ และโรงงาน Levis เองในช่วงปี 2003 ก็ได้ปิดกิจการโรงงานตัดเย็บทั้งหมดในสหรัฐเพราะปัญหาเกี่ยวกับค่าแรงงาน  และตั้งแต่นั้นมา พวก 501 ก็ทำจากที่อื่นหมดเลยครับ สังเกตได้ว่าในปัจจุบัน 501 ที่ขายในเมกาก็จะเป็นของนำเข้ามาจากที่อื่นหมด เว้นแต่ในส่วน premium product ก็ยังผลิตใน US ครับ ซึ่งก็ผลิตจากโรงงาน garment ทั่วๆไป

ในส่วนนี้ขอพูดถึง LVC current line ละกันครับ  พอโรงงานตัดเย็บของ Levis ในเมกาปิดหมด LVC  ก็ต้องมีการย้ายกิจการการตัดเย็บไปที่โรงงานอื่นที่ไม่ใช่โรงงานของ Levis ครับ จริงๆก็น่าจะราวๆช่วงปี 2000 เช่น code R , 643M กระดุม blank

และช่วงปี 2000 ต้นๆ LVC ก็ได้มีการแยก production line สำหรับการส่งออกไปขายทางทวีปยุโรปซึ่งจะป็นคนละ design กันกับที่ขายใน US  ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะตัดเย็บที่โรงงานเดียวกัน และจะผลิตออกมาในแต่ละ lot ในแต่ละปีค่อนข้างจำกัดครับ และรุ่นก็ค่อนข้างเยอะและไม่ตายตัวในการผลิตจำหน่าย เช่น ผ้าแข็ง 1947 ผลิตทุกปีแน่นอน นอกนั้นก็ผลิตบ้างหยุดไปบ้างเปลี่ยนชื่อรุ่นบ้าง โดยจะเน้นการตลาดไปทางยุโรปเยอะกว่าการทำตลาดในของ US เองครับ ในปัจจุบันรุ่นผ้าแข็งต่างๆยังคงผลิตอยู่ใน US ทั้งผ้า ,การตัดเย็บ  ส่วนรุ่นฟอกหรือทำฟอกโดยมากจะผลิตหรือทำที่ตุรกี

อันนี้เป็นตัวอย่าง catalog หรือ booklet ของ LVC ยุคแรกครับ ก่อนปี 2000 จะพบป็น code กระดุม 555,554 , 822  ทั้งหมดครับ   

ทางด้านคุณสมบัติของ  denim ที่ใช้ผลิต Levis  LVC  ผ้าแข็งก็คือผ้า  unsanforisation (shrink to fit)   100% cotton denim มีการหดตัวของเนื้อผ้าเต็มที่ประมาณ 10%  เมื่อผ่านซักน้ำหรือแช่ไประยะหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ denim ที่ผลิตในยุคเก่าก่อนปี 1960 ที่ด้าย cotton ไม่ได้ผ่านกระบวนการทำ treatment ใดๆเหมือนในยุคปัจจุบัน ผลิตโดยกรรมวิธี ring spinning แบบดั้งเดิม ย้อมสีแบบ rope dying ซึ่งถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการย้อมสี indigo แล้วนำมาเข้าเครื่องทอผ้าริม shuttle loom ซึ่งใช้โครงสร้างแบบ 3X1  คือด้ายย้อมสี (warp, length-wise indigo dyed yarn)3 เส้นขัดล่างด้วยด้ายขาว(weft, natural-colored cross-wise yarn) 1 เส้น โดยทอตั้งฉากกัน ลายทอจะวิ่งตามแนวเฉียงๆ (RHT)  และด้าย 2 แนวที่ทอเข้าด้วยกัน ในศัพท์ทาง denim เค้าก็จะเรียกว่า dual ring spinning หรือ ring-ring spinning  แท้ที่จริงแล้วมันเป็นโครงสร้างการทอยุคโบราณของ Cone Mill ที่เป็น supplier ผ้าให้กับ Levis นั่นเองครับ

ซึ่ง ปกติผ้าโครงสร้างพวกนี้เวลาผ่านใช้งานผ่านไป จะปรากฏว่าขากางเกงมันบิดซึ่งก็เพราะผ้ามันเกิดการหดตัวและปัจจัยจากโครง สร้างการทอครับ  ในปัจจุบันการ process แบบนี้มันก็คือ high end หรือแนว vintage ครับ ต้นทุนจะค่อนข้างสูงกว่าพวกด้าย open end  ที่เกิดในยุคหลังหรือในผ้าบางชนิดอาจจะมีการทอโดยใช้ด้ายทั้ง ring spun กับ open end ทอเข้าด้วยกัน หรือเรียกว่าพวก single ring

ขอต่อเรื่องการหดตัวของผ้านิดนึงครับ ระดับ 10 %  (ขนาดเอว 2 นิ้ว ,ความยาวขา 3 นิ้ว) ถือว่าเป็นอัตราการหดสูงสุดของผ้า denim พวกนี้ครับ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเอว , ขนาดความยาวขา ซึ่งเป็นส่วนหลักๆ ส่วนขนาดความกว้างขาไม่ค่อยมีผลครับ  โดยมากจะหดเยอะหน่อยเวลาซักแต่ถ้าแช่น้ำจะหดไม่มากครับของการแช่แต่ละครั้ง ถ้าซักประมาณ 3 รอบขึ้นไปเนื้อผ้าจะอิ่มตัวหดเต็มที่ครับ และจะไม่หดอีกเลย และในช่วงที่ผ้ายังหดไม่เต็มที่อาจจะมีการยืดหยุ่นได้นิดหน่อยครับ  ในส่วนของ LVC ผ้าแข็งใหม่ที่เป็น unsanforised  ตั้งแต่ ยุคแรกจนปัจจุบันเราจะอนุมานไว้ดังที่พูดมาก่อนครับเวลาซื้อใส่เพราะปีเก่า ค้างสต๊อกหรือปีใหม่ๆตัวผ้ายังไงมันก็หดครับเวลาซัก ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดครับว่าผ้าปีนี้ปีนั้นหดมากหดน้อย เพียงแต่ว่าใน LVC ปีหลังๆ จะตัดมาเผื่อขนาดการหดไว้เรียบร้อยแล้วครับในบางรุ่นของ EU line  ส่วนในตระกูลผ้าริมน้ำเงิน 9-10 oz เช่นในรุ่น 1920 ขึ้นไปผ้าจะหดน้อยครับ

มาพูดถึง design ของ LVC ครับ ขอ overview ในรุ่นปีหลักๆที่เป็น deadstock/dry/rigid/raw/unwashed  ในส่วนข้อมูลหลักๆเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจ 

รุ่นแรกๆขอกล่าวโดยรวมๆของ Levis  reissue ก่อนปี 1900 denim XX  ยีนส์ในช่วงนี้คือยุคแรกๆของ Levis ครับและเป็นต้นกำเนิดของ blue jeansหรือพวก waist overalls ซึ่งยังไม่ได้เรียก 501 ครับ กางเกงผ้ามีริมน้ำเงิน ส่วนใหญ่ LVC รุ่นพวกนี้เท่าที่ทราบจะใช้ผ้าจากของ Cone  และจาก Kurabo ญี่ปุ่น น้ำหนัก 9 oz ซึ่งก็มีทั้งย้อมสี  indigo ธรรมชาติ แล้วก็สังเคราะห์ ทำทั้งรุ่นผ้าแข็งแล้วก็รุ่นฟอกครับ ทรงก็ตามที่เห็นล่ะครับ และข้อมูลรายละเอียดบางส่วนของกางเกงในยุคนี้ ทาง Levis อ้างข้อมูลหายไปเยอะตอนช่วงปี 1906 เพราะโรงงานไฟไหม้ครับ  ส่วนเรื่องทรงการตัดเย็บจะออกแนว baggy  อ้างอิงตามข้อมูลของยีนส์  Levis  ในยุคเดิมครับ

บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2011, 20:24:06 »

up
บันทึกการเข้า
porama
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3401


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2011, 11:13:25 »

up
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: