หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Ulmart เปิดเวทีภิปรายประโยชน์และความเสี่ยงของ IOT ที่งาน SPIEF 2017  (อ่าน 775 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2017, 09:58:14 »

          - การศึกษาของลูกค้าถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ

          Ulmart บริษัทค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย ได้รับบทหัวหอกในการระดมสมองผู้เชี่ยวชาญระดับหัวกะทิจากต่างประเทศและรัสเซีย บนเวทีประชุม St. Petersburg International Economic Forum (SPIEF) เพื่อหาแนวทางในการยกระดับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) ซึ่งเป็นหนึ่งในคอนเซปต์ที่ร้อนแรงที่สุดในโลกเทคโนโลยีขณะนี้ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมอบประโยชน์สูงสุดให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในตลาด

          ผู้เข้าร่วมประชุมเสวนาในหัวข้อ 'Internet of Things: Overcoming Obstacles' ซึ่งจัดโดย Ulmart และ Roscongress Foundation โดยมีไมค์ บุตเชอร์ บรรณาธิการ TechCrunch เป็นผู้ดำเนินรายการนั้น ต่างก็เห็นพ้องว่า การสื่อสารระหว่างผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันและระบบเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม พวกเขายอมรับว่ายังมีอุปสรรคมากมายที่ขัดขวางความเจริญรุ่งเรืองของอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ และทำให้ลูกค้าและภาคธุรกิจไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด  

          โอกาส:

          ดมิตรี คอสติจิน ประธานคณะกรรมการบริหาร Ulmart ได้แสดงความคิดเห็นว่า "ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ คืออนาคต ซึ่งมีทั้งความเสี่ยงและประโยชน์ เราสามารถเรียกคอนเซปต์นี้ว่า  'Things of Internet' (สรรพสิ่งแห่งอินเทอร์เน็ต) เนื่องจากในปัจจุบันมีสิ่งของน้อยลงเรื่อยๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล Ulmart ในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกการปฏิวัติยุคดิจิทัลในรัสเซีย และเป็นผู้นำตลาดในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศ ตระหนักดีว่า โอกาสที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้จำเป็นต้องถูกควบคุมด้วยความรับผิดชอบ เนื่องจากเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่การออกกฎเกณฑ์และส่งเสริมจริยธรรมเพื่อควบคุมการใช้งานในทางที่ผิดนั้นกลับทำได้ช้ากว่า นอกจากนี้ เราจำเป็นต้องใช้บิ๊กดาต้าและเครื่องมืออื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองลูกค้าในขณะที่เรามุ่งให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโต"

          "ในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ อาจสร้างตลาดที่มีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับเศรษฐกิจของจีน โดยที่ภาคการค้าจะมีมูลค่าสูงถึง 2 ใน 3" วลาดิเมียร์ เซอร์นาฟสกีส์ พาร์ทเนอร์, หัวหน้าฝ่ายโทรคมนาคม สื่อ และการใช้เทคโนโลยีในรัสเซีย บริษัท McKinsey & Company กล่าว

          "อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ เป็นมากกว่าการสื่อสารระหว่างสิ่งของต่างๆ เพราะมันเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับแพลตฟอร์ม ซึ่งสร้างหลักประกันในช่องทางการเก็บข้อมูล และเป็นความจริงที่ว่า การพัฒนาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์นั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องรอการพัฒนามาตรฐานเฉพาะขึ้นมารองรับ ขอเพียงปรับเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเท่านั้น" อังเดร คุซยาเอฟ ประธานกรรมการฝ่ายจัดการ และกรรมการบอร์ดบริหาร ER-Telecom Holding กล่าว

          "อุปกรณ์ต่างๆมีความเร็วและอัจฉริยะ ขณะที่ปัญญาประดิษฐ์ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่อุปกรณ์ต่างๆจะสร้างโปรโตคอลและภาษาของพวกมันเองขึ้นมา" มาร์ค กาซิต ซีอีโอของ ThetaRay ให้ทัศนะ

          อุปสรรค:

          กลุ่มผู้ร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็นว่า ความมั่นคงทางไซเบอร์ กฎระเบียบ และการที่ผู้บริโภคขาดความรู้ ถือเป็นปัญหาท้าทายสำคัญต่อการเจริญเติบโตของ IoT นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องขจัดอุปสรรคทางเทคนิคและปัญหาเชิงปฏิบัติการที่มีอยู่ เพื่อสร้างหลักประกันว่า การผสานและเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆนั้นจะทำได้อย่างราบรื่น

          "ผู้คนใช้อินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่หวั่นเกรงว่าจะถูกแฮ็กเกอร์ลักลอบเจาะข้อมูล เนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นถึงโอกาสมากกว่าความเสี่ยง ดังนั้น การเริ่มให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านความมั่นคงทางไซเบอร์จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ เมื่ออุปกรณ์ต่างๆเริ่มพูดคุยกันได้แล้ว ความเสี่ยงต่างๆจะไม่ได้อยู่ที่อุปกรณ์เหล่านั้น แต่อยู่ที่มนุษย์ที่ใช้งานพวกมันต่างหาก" ไมค์ บุตเชอร์ กล่าว

          "ปัญหาด้านจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ IoT อาจจะยังไม่ปรากฏเด่นชัดมากนักในปัจจุบัน แต่ในอีก 5-7 ปีข้างหน้า เราอาจดำดิ่งลงสู่ห้วงของเทคโนโลยี IoT จนสายเกินแก้ ดังนั้นเราจึงควรเริ่มจากการตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างน้อย" ไบรอัน คีน ประธานเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศของ Ulmart กล่าว

          "นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ และความเป็นส่วนตัวของการสื่อสาร ในขณะที่ผู้บริโภคอาจไม่ได้รับแจ้งถึงความเสี่ยงเหล่านี้" นายเอิร์มการ์ด กลาสมาเชอร์ กรรมการผู้จัดการ Accenture Strategy ประจำภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกา รัสเซียและตุรกี กล่าว

          "การวิเคราะห์และใช้งานบิ๊กดาต้าอย่างเหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญ เช่นเดียวกับการสร้างหลักประกันว่า อุปกรณ์ต่างๆจะสามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อต่อยอดการพัฒนาอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด" วลาดิเมียร์ เซอร์นาฟสกีส์ กล่าว "อุปกรณ์ต่างๆควรพูดคุยด้วยภาษาเดียวกันด้วย"

          "ในฐานะผู้ใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตนั้น ผมได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ จากนั้นผมก็ไม่สามารถควบคุมมันได้อีก ดังนั้นผู้คนจึงจำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์และเทคโนโลยีใหม่ๆตั้งแต่ในชั้นเรียน" สเวน วาเกนคเนชท์ บรรณาธิการใหญ่ BTC-ECHO กล่าว

          "ผมเชื่อว่ามีเพียงวิวัฒนาการเท่านั้นที่จะช่วยยกระดับความมั่นคงทางไซเบอร์" อังเดร คุซยาเอฟ กล่าว "กฎระเบียบที่มากเกินไปอาจขัดขวางการพัฒนา IoT ก็เป็นได้ ดังนั้นการหาจุดสมดุลระหว่างความมั่นคงกับความก้าวหน้าจึงถือเป็นกุญแจสำคัญ เนื่องจากมนุษย์และคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: