หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Hyperion เปิดตัวระบบทำแผนที่บนบล็อกเชน มุ่งสนับสนุนการเปิดกว้างและกระจายศูนย์  (อ่าน 1146 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 07 สิงหาคม 2018, 11:51:39 »

          Hyperion ระบบทำแผนที่บนบล็อกเชนแบบเปิด Hyperion Digital Location Right (HDLR) ได้ประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีการทำแผนที่อย่างเป็นทางการ โดย Hyperion ตั้งเป้าที่จะพลิกโฉมระบบการทำแผนที่ในปัจจุบัน ด้วยการมอบโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับแผนที่ทั่วโลกที่ควบคุมได้เองและกระจายศูนย์อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะเปิดให้ผู้ใช้งานจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึง แก้ไข หรือใช้งานได้ตามความต้องการ ทั้งยังมีส่วนสนับสนุนการแบ่งปันมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกด้วย

          ดร. ไอแซค จาง ผู้ก่อตั้ง Hyperion กล่าวว่า

          "ในยุคสมาร์ทโฟนครองเมือง ทุกคนมีสิทธิใช้งานแผนที่ซึ่งมีรายละเอียดสูงได้ด้วยอุปกรณ์ในมือของตัวเอง อย่างไรก็ตาม วิธีการพัฒนาและบำรุงรักษาแผนที่เหล่านี้แทบไม่เปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว เนื่องจากเรายังคงพึ่งพาระบบข้อมูลแบบ top-down ที่ควบคุมผ่านศูนย์กลาง ซึ่งในยุคที่ข้อมูลถูกกระจายศูนย์มากขึ้น ทั้งยังขับเคลื่อนด้วยชุมชน เราจึงเชื่อว่าวิธีการข้างต้นเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ Hyperion จึงหวังเข้ามาพลิกโฉมวงการ ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการควบคุมโครงสร้างพื้นฐานของระบบแผนที่จากเดิมที่เป็นแบบควบคุมจากศูนย์กลางไปสู่การกระจายศูนย์กลาง ด้วยโมเดลที่เป็นประชาธิปไตยและกระจายศูนย์ ที่จะใช้จุดแข็งของเทคโนโลยีบล็อกเชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

          ระบบนิเวศของ Hyperion ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาหลัก ๆ ในการพัฒนาเทคโนโลยีแผนที่ หนึ่งคือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและบำรุงรักษาแผนที่ให้ทันสมัยและมีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วนโดยอาศัยโมเดลจากบนสู่ล่าง หรือ top-down นั้น มีราคาที่ค่อนข้างสูงและไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้บริษัทผู้ให้บริการแผนที่หรือรัฐบาลต้องส่งเจ้าหน้าที่จำนวนมากไปลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล สองคือ รูปแบบของโมเดลในปัจจุบันนั้นยากต่อการยืนยันว่า ตัวแผนที่มีความถูกต้องแม่นยำและอัปเดตข้อมูลใหม่อยู่ตลอดเวลาหรือไม่ อีกทั้งยังต้องมีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการบำรุงรักษาส่วนต่าง ๆ ของแผนที่ในเวลาที่แตกต่างกัน และสามคือ โครงสร้างพื้นฐานของแผนที่ในปัจจุบันถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปในการเข้าถึงหรือใช้งานแผนที่เหล่านี้

          Hyperion รับมือกับเรื่องนี้ด้วยการใช้โมเดลสามประสาน ที่เรียกว่า 'Hyperion Trinity' ซึ่งประกอบด้วย (1) เทคโนโลยีการจัดทำแผนที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและบำรุงรักษาแผนที่ (2) แบบจำลองทางเศรษฐกิจในการสร้างแรงบันดาลใจและมอบผลตอบแทนให้กับผู้มีส่วนร่วม และ (3) โครงสร้างชุมชนเพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่สามารถปกครองตนเองได้

          - Crowd-build เพื่อกระตุ้นให้มีการส่งมอบข้อมูลแผนที่ที่มีคุณภาพจากทั่วโลก พร้อมรับผลตอบแทนจากโครงสร้างระบบแบบกระจายศูนย์บน Hyperion Digital Location Right (HDLR) อย่างเช่น การขุด หรือ HDLR mining ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและบำรุงรักษาแผนที่
          - Crowd-share เพื่อสร้างแผนที่ทางเศรษฐกิจแบบกระจายอำนาจที่มีความยั่งยืน โดยค่าบริการแผนที่จะถูกนำมาแจกจ่ายให้กับเจ้าของ HDLR ตามที่ระบุไว้ในสัญญาอัจฉริยะ อาทิ เงินปันผล หรือ HDLR dividend ซึ่งเป็นแบบจำลองทางเศรษฐกิจในการสร้างแรงจูงใจและมอบผลตอบแทนให้กับผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมทั้งหลาย
          - Crowd-govern เพื่อบรรลุฉันทามติทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและเศรษฐกิจภายใต้การกำกับดูแลของผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เช่น การออกเสียง หรือ HDLR voting โดยชุมชน Hyperion ทั่วโลกที่ประกอบไปด้วยชุมชนในภูมิภาคหลากหลายระดับที่ปกครองโดยตัวแทนที่ผ่านการยอมรับจากสมาชิกผู้มีส่วนร่วมใน HDLR ของแต่ละภูมิภาค ตลอดจนมีโครงสร้างชุมชนที่สนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศที่สามารถปกครองตนเองได้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: