หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมอร์ค, genOway จับมือเป็นพันธมิตรสร้างโมเดลหนูทดลองรับ CRISPR/Cas9  (อ่าน 793 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 12 ธันวาคม 2018, 17:23:43 »

เมอร์ค และ genOway จับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ มุ่งสร้างโมเดลหนูทดลองรองรับเทคโนโลยี CRISPR/Cas9


- genOway จะได้รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียวสำหรับสิทธิบัตรการปรับแต่งจีโนมของเมอร์ค เพื่อผลิตและจำหน่ายโมเดลหนูทดลอง
- จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชั่นใหม่ ๆ โดยใช้ CRISPR/Cas9 เพื่อเร่งการส่งมอบยาที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นให้กับคนไข้

          เมอร์ค (Merck) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ และผู้นำด้านการปรับแต่งจีโนม ได้ประกาศเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในตลาดโมเดลหนูทดลอง CRISPR/Cas9 ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง genOway

          "เรามีพันธกิจในการเผยแพร่เทคโนโลยี CRISPR ภายใต้สิทธิบัตรของเราสู่ชุมชนการค้นคว้าวิจัยทั่วโลก" อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าว "ในการร่วมมือกับ genOway เราจะนำโมเดลสัตว์ทดลองที่ดีที่สุดออกสู่วงการเภสัชกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนวงการวิชาการได้อย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะช่วยเร่งขั้นตอนการวิจัยให้เร็วยิ่งขึ้น ย่นระยะเวลาการพัฒนายา และรักษาโรคที่เคยรักษาไม่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น เราจะมุ่งดำเนินการอย่างจริงจังด้วยความรับผิดชอบและจรรยาบรรณต่อไป เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี CRISPR ใหม่ล่าสุดได้"

          ด้วยสิทธิบัตรเทคโนโลยี CRISPR ระดับโลกของเมอร์ค ทาง genOway จะสร้างโมเดลสัตว์ทดลองและโซลูชั่นใหม่ ๆ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งที่หวังผลและไม่หวังผลกำไรสามารถใช้เทคโนโลยี CRISPR/Cas9 ได้ ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว genOway จะพัฒนาเครือข่ายผู้ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงในธุรกิจการผลิตและจำหน่ายโมเดลสัตว์ทดลอง ตลอดจนบริการทดลองขั้นพรีคลินิก สำหรับทุกการใช้งานทั่วโลก โดยมีเป้าหมายสำคัญได้แก่สหรัฐอเมริกา เอเชีย และยุโรป ทั้งนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของข้อตกลงดังกล่าว

          ทั้งเมอร์ค และ genOway ได้ค้นพบขอบข่ายการวิจัยที่ทั้งสองบริษัทจะสามารถนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ CRISPR/Cas9 ทั้งนี้ เทคโนโลยีบูรณาการ CRISPR ภายใต้สิทธิบัตรของเมอร์ค ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่แข็งแกร่งในการพัฒนาและเผยแพร่นวัตกรรมใหม่ ๆ

          เมอร์ค ให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศและความเชี่ยวชาญด้านการดูแล การใช้งาน และสวัสดิภาพของสัตว์เหนือสิ่งอื่นใด นอกจากภารกิจในการพัฒนายาและสารเคมีเชิงนวัตกรรมจากความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และมาตรฐานทางจริยธรรมที่ระบุไว้อย่างชัดเจน เมอร์ค ยังมีปณิธานว่าจะใช้สัตว์ในการวิจัยก็ต่อเมื่อไม่มีวิธีการวิจัยหรือการทดสอบอื่นใดที่จะสามารถนำมาซึ่งผลหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้ โดยหลีกเลี่ยงที่จะใช้สัตว์ที่ยังมีชีวิต

          "ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับ CRISPR/Cas9 มีความซับซ้อนและไม่แน่นอน" อเล็กซานเดอร์ แฟร์ชาร์ด ซีอีโอบริษัท genOway กล่าว "ขณะนี้สถานการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนไปแล้ว การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของเมอร์ค ให้ความสำคัญกับการปรับแต่งจีโนมยูคาริโอตโดยใช้ CRISPR/Cas9 ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการนำงานวิจัยมาผนวกรวมเข้ากับการทำธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสร้างโมเดลสัตว์ทดลองที่ถูกต้องตามหลักสรีรวิทยามากขึ้นให้แก่วงการวิทยาสศาสตร์ ตลอดจนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งจะช่วยเร่งการส่งมอบยาที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นให้กับคนไข้"

          เทคโนโลยี CRISPR ถือเป็นจุดแข็งสำคัญของเมอร์ค ซึ่งมีประสบการณ์ 14 ปีในด้านการปรับแต่งจีโนม ตั้งแต่ในขั้นตอนการค้นคว้าวิจัยไปจนถึงการผลิต เมอร์คตระหนักดีว่า การปรับแต่งจีโนมได้ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าที่สำคัญในด้านการวิจัยทางชีวภาพและยารักษาโรค แต่ในขณะเดียวกัน ศักยภาพที่เพิ่มสูงขึ้นของเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมก็ได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลทั้งในวงการวิทยาศาสตร์ กฎหมาย และสังคม ดังนั้น ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนาเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม เมอร์คจึงสนับสนุนการวิจัยด้านการปรับแต่งจีโนมภายใต้การพิจารณาอย่างรอบคอบตามมาตรฐานทางจริยธรรมและกฎหมาย โดยเมอร์คได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรม (Bioethics Advisory Panel) ขึ้น เพื่อให้คำแนะนำแก่โครงการวิจัยที่ธุรกิจของเมอร์คได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการวิจัยเรื่องการปรับแต่งจีโนม หรือที่ใช้เทคนิคการปรับแต่งจีโนม ตลอดจนกำหนดจุดยืนการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยพิจารณาถึงประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม สู่แนวทางการรักษาโรคที่มีความหวังว่าจะสามารถนำไปใช้ในการวิจัยและการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: