1998 I.E เริ่มผูกขาดระบบปฏิบัติการ Windows 98 ได้มีการติดตั้ง I.E มาด้วยในตัว ทำให้ผู้ใช้ Windows 98 ไม่จำเป็นต้องไปหาเว็บบราวเซอร์จากที่อื่นๆมาใช้อีกแล้ว เพราะใน Windows 98 ทุกรุ่นมี I.E แถมมาให้แล้ว ในปี 1998 I.E มีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
เมื่อไมโครซอฟต์ใช้วิธีการผูกขาดเช่นนี้ หลายๆคนก็เริ่มจะมองออกแล้วว่า ไมโครซอฟจะต้องสามารถยึดตลาดเว็บบราวเซอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบในไม่ช้าอย่างแน่นอน ซึ่งหากผู้ใดสามารถยึดครองตลาดเว็บบราวเซอร์ได้ก็จะเสมือนว่าผู้นั้น คือผู้ที่สามารถครอบครองมาตรฐานการแสดงผลบนอินเตอร์เน็ตได้ด้วย และเมื่อควบคุมมาตรฐานสำเร็จ จะทำอะไรต่อก็ไม่มีคู่แข่ง
netscape เองก็คงรู้ถึงจุดนี้ได้เป็นอย่างดี จึงได้ก่อตั้ง มูลนิธิ มอซิลล่า (Mozzilla Foundation) ขึ้นมาเพื่อพัฒนาเว็บบราวเซอร์แบบโอเพนซอร์ส ในเวลานั้นหลายคนหวังว่า Mozzilla อาจจะเป็นความหวังเดียวที่จะกอบกู้อิสระภาพคืนให้กับตลาดบราวเซอร์ได้ (แต่ของมันต้องใช้เวลา) ในขณะเดียวกันอีกหลายคน(ส่วนใหญ่)ก็คิดว่ามันคงเป็นไปไม่ได้
ปี 2002 จุดสูงสุดของ I.Eในปีนี้ I.E สามารถยึดครองตลาดได้ถึง 95% นักวิเคราะห์ฟันธงว่า I.E จะต้องสามารถยึดครองตลาดเว็บบราวเซอร์สำหรับแพล็ตฟอร์มวินโดวส์ได้ 100% อย่างแน่นอน
แต่หลังหลังจากที่ I.E สามารถยึดครองตลาดบราวเซอร์ได้ถึง 95%แล้ว ก็ยังที่บอกล่ะครับ ไมโครซอฟต์ก็เริ่มใช้ I.E บิดเบือนมาตรฐานต่างๆบนอินเตอร์เน็ต ทำให้นักพัฒนาเว็บหันมาใช้มาตรฐานของ I.E แทนที่จะใช้มาตรฐานสากลของ w3c ทำให้ผู้ที่ใช้งานโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ตัวอื่นๆเริ่มที่จะเปิดอ่านข้อมูลในเว็บบ้างเว็บไม่รู้เรื่องและต้องเปลี่ยนกลับมาใช้ I.E ในที่สุด ที่สำคัญ I.E ให้ใช้บนระบบปฏิบัติการ Windows เท่านั้น (บน MAC OS ก็เคยมี I.E นะครับแต่ไมโครซอฟต์เลิกพัฒนาไปแล้ว) ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานต่างๆเกี่ยวกับอินเตอร์เลือกใช้ Windows มากกว่าระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆ
สิ่งที่เหนือกว่าการควบคุมมาตรฐานคือ การควบคุมวัฒนธรรม เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เข้ามาใหม่ในช่วงเวลานั้นแทบจะไม่รู้เลยว่ามีโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ตัวอื่นๆนอกจาก I.E ด้วย ทำให้หลายคนคิดว่า I.E เป็นโปรแกรมเพียงโปรแกรมเดียวที่สามารถเล่นอินเตอร์ได้ I.E ในช่วงเวลานั้นจึงเปรียบเสมือน Logo ของอินเตอร์เน็ตก็ว่าได้
ด้วยเหตุนี้ ชัยขนะของ I.E จึงเปรียบเสมือนสิ่งที่เข้าไปเสริมความแข่งแกร่งให้กับรากฐานของไมโครซอฟต์ก็ไม่ปาน
ปี 2004 กำเนิดจิ้งจอกเพลิงอหังการสะท้านบัลลังค์หลังจากที่ I.E สามารถครอบครองตลาด มาตรฐาน ตลอดจนวัฒนธรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของผู้คนทั่วไปได้แล้ว ไมโครซอฟต์ก็เริ่มที่จะไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนา I.E ต่อเลย ไม่ว่าจะมีเสียงบ่นจากผู้ใช่งานว่า I.E ไม่ปลอดภัย ไม่เสถียร ไม่เร็วบ้างก็ตามที่ แต่ไมโครซอฟท์ก็ไม่สนใจเพราะถือว่าตนเองยึดครองทุกอย่างไว้หมดแล้ว
ในระหว่างนั้นนั่นเองไพ่ตายที่ทาง netscape ได้แอบควัมไว้ก็ได้หงายหน้าขึ้นมา มันคือเว็บบราวเซอร์นามว่า Firefox นั้นเอง มันเป็นบราวเซอร์ OpenSource ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย มูลนิธิ มอซิลล่า (Mozzilla Foundation) จุดเด่นของมันคือ เร็ว เสถียร ปลอดภัย มี Plug-in มากมาย และใช้งานได้หลายแฟล็ตฟอร์ม
แต่ I.E ก็หาได้สนใจ Firefox ไม่
เพราะ I.E ได้ขุดหลุมพรางวางไว้แล้วนั้นก็ การที่ I.E ได้ยึดมาตรฐานเว็บไว้แล้วนั้นเอง ทำให้ Firefox ในช่วงแรกไม่สามารถแสดงผลหน้าเว็บต่างๆในโลกนี้ออกมาได้ไม่อย่างสมบูรณ์นัก
แต่ด้วยจุดเด่นของ OpenSource ทำให้ Firefox มีการพัฒนา และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆได้อย่างอย่างรวดเร็ว บวกกับเครื่องมือในที่ใช้ในการพัฒนาเว็บชนิด Open Source ซึ่งสนับสนุนมาตรฐานสากลมีมากขึ้น จึงทำให้มีผู้สนใจในใช้งาน Firefox มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น
และด้วยผลบุญที่ Firefox เป็น OpenSource ทำให้มีผู้นำ Source Code ของ Firefox ไปพัฒนาเป็นเว็บบราวเซอร์ใหม่ๆขึ้นมากอีกมากมาย และ nescape เองก็สามารถคืนชีพได้ดวยการนำ Source Code ของ Firefox มาพัฒนาต่อ
เนื่องจาก Firefox ใช้มาตรฐานสากลจาก W3C และเมื่อมีผู้ใช้งาน Firefox มากขึ้นจึงทำให้มาตรฐานสากลเริ่มกลับมามีบทบาทในโลกอินเตอร์เน็ตอีกครั้ง และเว็บที่ไม่สนับสนุนมาตรฐานของ I.E ก็เริมมีออกมาให้เราได้พบเห็นกันอีกครั้งเช่นกัน
ส่วนแบ่งตลาดของ I.E ก็เริ่ม น้อยลง น้อยลง น้อยลง
จนในทีสุดไมโครซอฟต์ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนา I.E และการสนับสนุนมาตรฐานสากลอีกครั้ง(โดยเริ่มตั้งแต่ I.E 7 เป็นต้นไป)
http://j7jgpa.bay.livefilestore.com/y1pGEMV3yHYEwGwmijhI_AcWgX3C4DpHO--lA_fbe-FL_JXg9DIvZEkRmejehRp4vSENXX2SOumTwCrQ10P-6lifcY3-7F0uYLm/001_042.jpg
ปี 2003 กำเนิด Apple Safari
ปี 2008 กำเนิด Google Chromeแม้ว่าในปัจจุบันจะมีเว็บบราวเซอร์ที่มีความเร็วสูง ความเสถียรสูง ออกมาแข่งกับ I.E มากมายแล้วก็ตาม
แต่โดยรวมแล้วในแง่ของส่วนแบ่งตลาด การควบคุมมาตร ตลอดจนการควบคุมวัฒณธรรม I.E ยังได้เปรียบเว็บบราวเซอร์ตัวอื่นๆอยู่มากๆ
เรียกงาน I.E ยังครองอันดับที่ 1 อยู่อีกนานนนนนนนนนนนนนครับ หลายท่านอาจจะว่า I.E ขี้โกงเพราะแถมมากับ Windows แต่หากเราคิดดูดีๆและสังเกตุดูดีๆจะพบว่า Mac เองก็แถม Safari และ Linux (บางรุ่น) ก็แถม Firefox มาให้เช่นกันครับนะครับ
พูดถึงเรื่องอดีตกันมาก็มากแล้ว ว่าแล้วเราลองทดสอบเว็บบราวเซอร์กันดูดีกว่าไหมครับ
ผมไปหาเว็บบราวเซอร์มาได้ทั้งรวมแล้วก็ 30 ตัวครับดังรูปข้างล่างครับ (จริงมันมีเยอะกว่านี้แต่เท่านี้คงจะพอแล้ว)
โดยทั้ง 30 ตัวสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ครับ
1) แบ่งตามลักษณะการแสดงผล
เป็นกราฟฟิคบราวเซอร์ 29 ตัว
เป็นเท็กซ์บราวเซอร์ 1 ตัว
2)แบ่งตามยุค
เป็นบราวเซอร์ตกรุ่น 4 ตัว
เป็นบราวเซอร์ปัจจุบัน 22 ตัว
เป็นบราวเซอร์ตัวทดสอบก่อนที่ตัวเต็มจะออกมาในอนาคต 2 ตัว
3)แบ่งตามการประมวผลของ CPU
เป็นบราวเซอร์ x86 32 Bit 28 ตัว
เป็นบราวเซอร์ x64 64 Bit 2 ตัว (ได้แก่ I.E 8 64-bit และ Minefield)
4)แบ่งตาม layout engines (คือ ตัวที่ใช้ render หน้าเว็บออกมาแสดงผลให้เราได้ชมกัน)
4.1) Trident engines ผู้พัฒนาคือ Microsoft บราวเซอร์ที่ใช้ engine ตัวนี้ได้แก่ Internet Explorer 4 ถึง 8, Maxthon 1 และ 2, AOL, TheWorld, UltraBrowser, Sleipner, Avant, SlimBrowser และ Plawan เป็นต้น
4.2) Pesto engines ผู้พัฒนาคือ OperaSoftware บราวเซอร์ที่ engine ตัวนี้ได้แก่ Opera
4.3) Gecko ผู้พัฒนาคือ Microsoft บราวเซอร์ที่ใช้ engine ตัวนี้ได้แก่ Firefox, Minefield, Seamonkey, Netscape Navigator 7 ถึง 9, K-meleon, Wyzo, Flock และOrca อื่นๆเป็นต้น
4.4) webkit ผู้พัฒนาคือ Apple บราวเซอร์ที่ engine ตัวนี้ได้แก่ Safari, Google Chrome, SRware Iron และ Maxthon 3
4.5) K-html ผู้พัฒนาคือ KDE Project บราวเซอร์ที่ใช้ engine ตัวนี้ได้แก่ Konqueror (ไม่มีในการทดสอบครั้งนี้เหนื่องจากเป็นเว็บบราวเซอร์สำหรับ Linux)
4.6) บราวเซอร์ที่ Engine ตกรุ่นล่าสมัย ได้แก่ Mosaic, LynX, และ Netscape 1 - 4 เป็นต้น
4.7)บราวเซอร์ Engine ลูกผสม เช่น Lunascape ที่มี 3 Engine ในตัวเดียว และผู้ใช้สามารถสลับ Mode ได้ด้วยว่าจะใช้ engine ตัวไหน ซึ่งได้แก่ Trident, Gecko และ webkit