หัวเว่ย เผยแนวคิดใหม่ด้านการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศ ปูทางสู่การสร้างโลกอัจฉริยะ 2030- ครั้งแรกกับการถ่ายทอดสดการประชุม Industrial Digital Transformation Conference ทางออนไลน์ทั่วโลก
การประชุม Mobile World Congress (MWC) Barcelona 2020 ได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ดังกล่าว หัวเว่ยจึงได้จัดการประชุมระดับโลก Industrial Digital Transformation Conference ผ่านการถ่ายทอดสดทางออนไลน์ โดยได้เชิญแขกผู้มีเกียรติจากทั่วโลกซึ่งรวมถึง สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และอิตาลีเข้าร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "Hi, Intelligent World" เพื่อเผย 5 แนวโน้มหลักที่จะนำไปสู่การสร้างโลกอัจฉริยะในช่วงเวลา 10 ปีจากนี้ รวมทั้งนำเสนอการสร้างรากฐานที่พัฒนาต่อยอดขึ้นจากการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศรูปแบบใหม่ ซึ่งรากฐานดังกล่าวจะสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมือง การผลิต พลังงาน การเงิน การขนส่ง และอีกมากมาย โดยได้รับเกียรติจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มบริษัทท่าอากาศยานเซินเจิ้น และลูกค้ารายอื่น ๆ ของหัวเว่ย มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
ในอนาคต การไหลของสารสนเทศโดยเทคโนโลยี ICT รูปแบบใหม่ ๆ เช่น 5G, AI และ IoT จะช่วยให้เราสร้างรากฐานซึ่งเป็นจุดกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง กล่าวคือ โลกในปี 2030 จะเป็นโลกอัจฉริยะ และ ณ จุดเริ่มต้นของทศวรรษใหม่นี้ หัวเว่ยเชื่อว่าโลกอัจฉริยะ 2030 จะประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ ได้แก่:
1. ในระดับรัฐบาล รัฐบาลดิจิทัลที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ตอบรับกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมากยิ่งขึ้น
2. ในระดับเศรษฐกิจ หุ่นยนต์อัจฉริยะจะเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของกำลังแรงงานในอนาคต
3. ในระดับสังคม เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยให้การกระจายการศึกษา บริการสุขภาพ และทรัพยากรสาธารณะอื่น ๆ เป็นไปอย่างเสมอภาคและเหมาะสม เพื่อบรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางดิจิทัล
4. จากมุมมองทางวัฒนธรรม ประชาชนจะเป็นอิสระจากการใช้แรงงานหนักและงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย และจะหันไปให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจมากกว่าคุณค่าทางวัตถุ
5. จากมุมมองทางสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายจะช่วยให้เราตรวจสอบและควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะเป็นการช่วยปกป้องคุ้มครองโลก
หม่า เยว่ รองประธานกลุ่มธุรกิจเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย แสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ว่า "ในช่วงทศวรรษหน้า เราจะได้เห็นการพัฒนา ICT รูปแบบใหม่อย่างรวดเร็ว หัวเว่ยเชื่อว่าการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศใหม่จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับโลกอัจฉริยะในปี 2030 การสร้างเครือข่ายความเร็วสูงระดับ ultra-broadband โดยใช้ 5G, Wi-Fi 6 และการสื่อสารควอนตัม จะเป็นสะพานเชื่อมโลกกายภาพและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานสำหรับโลกอัจฉริยะ"
นายหม่ากล่าวต่อไปว่า "ระบบประมวลผลแบบใหม่จะนำเสนอโซลูชันแบบฟูลสแตกสำหรับทุกสถานการณ์ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ชิปในระดับ bottom-layer chips ตลอดจนถึงอัลกอริทึมในระดับ upper-layer อีกทั้งครอบคลุมตั้งแต่ผู้บริโภคไปจนถึงธุรกิจ ซึ่งถือเป็นแกนหลักของการเปลี่ยนผ่านสู่โลกอัจฉริยะ ส่วนแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ผสมผสานและแบ่งปันกันนั้น จะมีประสิทธิภาพสูงและเปิดกว้าง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถมุ่งเน้นไปที่ความได้เปรียบหรือจุดแข็งของตนเอง รวมไปถึงนวัตกรรมการบริการ แพลตฟอร์มแบบใหม่จึงนับว่ามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขณะที่ระบบนิเวศใหม่นั้น พัฒนาขึ้นโดยอิงจากกลยุทธ์ สถาปัตยกรรม นโยบาย และการดำเนินงาน (Strategy, Architecture, Policy, and Operations (SAPO)) ขององค์กรธุรกิจเป็นหลัก เพื่อนำเสนอความเชี่ยวชาญรอบด้านที่รวมและบูรณาการทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกันในเชิงลึก พร้อมนำไปสู่การส่งมอบโซลูชันธุรกิจที่ครอบคลุมและมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง"
รับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานประชุม Huawei Industrial Digital Transformation Conference ได้ที่:
https://e.huawei.com/topic/mwc2020/en/index.html?ic_medium=hwdc&ic_source=ebg_EEBGHQ205001G&source=ebg_banner&ic_content=mwc2020_cn รูปภาพ -
https://photos.prnasia.com/prnh/20200224/2728357-1 คำบรรยายภาพ: หม่า เยว่ รองประธานกลุ่มธุรกิจเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย