iqpressrelease
|
|
« เมื่อ: 25 มิถุนายน 2020, 10:31:54 » |
|
พร้อมประกาศแผนพัฒนาโซลูชันร่วมกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่น ในขณะที่เศรษฐกิจสิงคโปร์กำลังฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19
หัวเว่ย จัดการประชุมออนไลน์ Huawei Ecosystem Summit 2020 โดยมีการประกาศยกระดับความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อพัฒนาโซลูชันร่วมกัน ในขณะที่เศรษฐกิจสิงคโปร์กำลังฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ บริษัทยังประกาศเปิดตัว Virtual AI Academy พร้อมคอร์สเรียนออนไลน์ฟรีกว่า 140 คอร์ส เพื่อเร่งฝึกฝนและเพิ่มทักษะให้กับผู้ประกอบวิชาชีพด้าน ICT ในสิงคโปร์ และช่วยพลิกโฉมธุรกิจ SME สู่ระบบดิจิทัล ในขณะที่สิงคโปร์มุ่งหน้าสู่โลกดิจิทัลแห่งอนาคต
ในการกล่าวเปิดการประชุมออนไลน์ครั้งแรก Nicholas Ma ซีอีโอของหัวเว่ย อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ขอบคุณพาร์ทเนอร์ในสิงคโปร์ที่ช่วยให้ หัวเว่ย สิงคโปร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ มีรายได้ปี 2019 เพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่บรรดาพาร์ทเนอร์ธุรกิจได้รับเอกสารรับรองเพิ่มขึ้น 68% ทั้งนี้ การประชุมออนไลน์จัดขึ้นในธีม “Stay Together, Win Together” โดยมีพาร์ทเนอร์และลูกค้ากว่า 1,000 รายเข้าร่วมงาน
ฝึกฝนและเพิ่มทักษะบุคลากร ICT ผ่าน Virtual AI Academy
ในงานนี้ หัวเว่ยได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาระบบดิจิทัลให้กับ AI Lab เทคโนโลยี 5G ที่เปิดให้บริการในสิงคโปร์เมื่อปีที่แล้ว โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึง AI Lab ได้ง่ายขึ้นผ่านคลาวด์ ขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) สามารถเข้าถึงโซลูชันการพลิกโฉมธุรกิจสู่ระบบดิจิทัลที่สนับสนุนโดยหัวเว่ย
AI Lab ได้รับการยกระดับศักยภาพด้วยการบูรณการกับ Virtual AI Academy โดยหัวเว่ยจะเปิดโอกาสให้ชาวสิงคโปร์ได้ฝึกฝนทักษะฟรีผ่านคอร์ส AI, 5G, คลาวด์คอมพิวติ้ง และบิ๊กดาต้ากว่า 140 คอร์ส ซึ่งจะช่วยเสริมทักษะเดิมและเพิ่มทักษะใหม่ คอร์สเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อฝึกฝนและให้การรับรองผู้ใช้ทุกระดับ ตั้งแต่มือสมัครเล่นไปจนถึงผู้ประกอบวิชาชีพด้าน ICT
นับตั้งแต่สิงคโปร์ประกาศใช้มาตรการ Circuit Breaker เมื่อเดือนเมษายน หัวเว่ยได้จับมือกับบริษัทท้องถิ่นรับสมัครบุคลากร ICT กว่า 300 คนในสิงคโปร์ เพื่อให้มาทดลองฝึกฝนและเพิ่มทักษะกับ Virtual AI Academy
หลังจากที่เปิด Virtual AI Academy อย่างเป็นทางการ หัวเว่ยตั้งเป้าว่าจะให้การรับรองวิศวกร ICT ในสิงคโปร์ให้ได้ 1,000 คนภายในสิ้นปี 2021
นอกจากคอร์สออนไลน์แล้ว Virtual AI Academy ยังมอบประสบการณ์การฝึกฝนจริงผ่านแล็บจำลองด้านการพัฒนา AI ขณะเดียวกัน ในไตรมาส 3 ของปีนี้ หัวเว่ยมีแผนเปิดคอร์ส Cyber Range เพื่อเพิ่มทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่จำเป็นให้แก่พาร์ทเนอร์และ SME
ก่อนเปิด Virtual AI Academy หัวเว่ยได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ได้แก่ หนานหยาง โพลีเทคนิค, เทมาเส็ก โพลีเทคนิค, สิงคโปร์ โพลีเทคนิค และมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์สิงคโปร์ เพื่อช่วยกันสร้างเสริมทักษะดิจิทัลให้แก่นักศึกษาหัวกะทิรุ่นใหม่
“วิกฤตโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ ประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีบุคลากรหัวกะทิเป็นสมบัติล้ำค่าและข้อได้เปรียบในการแข่งขัน จะยังคงเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล” Nicholas Ma กล่าว “ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสิงคโปร์ หัวเว่ยมีหน้าที่สานต่อความร่วมมืออันยาวนานกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ โดย AI Lab เทคโนโลยี 5G และ Virtual AI Academy จะช่วยสนับสนุนความพยายามของเราในการเพิ่มทักษะให้กับหัวกะทิในสาย ICT และช่วยพลิกโฉมธุรกิจ SME สู่ระบบดิจิทัล เราเชื่อว่าความพยายามเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ รวมถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และช่วยให้เรากลับมาเข้มแข็งยิ่งกว่าเดิมไปด้วยกัน”
ลงทุนเพื่อยกระดับความร่วมมือและพัฒนาโซลูชันร่วมกัน
ในการประชุมครั้งนี้ หัวเว่ยได้เผยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่น ในขณะที่สิงคโปร์กำลังฟื้นตัวจากโควิด-19
หัวเว่ยระบุในแผนว่า บริษัทจะลงทุน 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปีนี้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโซลูชันร่วมกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นและเสริมสร้างระบบนิเวศ
หัวเว่ยจะยังคงให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี ICT ผ่านการขยายและยกระดับธุรกิจคอมพิวติ้งและการเชื่อมต่อด้วย AI ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเน้นไปที่ 4 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ภาครัฐ การเงิน การขนส่ง และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)
“องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องออกแบบบริการใหม่เพื่อปรับตัวสู่ยุค New Normal ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลที่ขับเคลื่อนโดย 5G, AI และคลาวด์ จะเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้” Aaron Wang กรรมการผู้จัดการของหัวเว่ย สิงคโปร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ บิสิเนส กรุ๊ป กล่าว “ภายใต้ยุทธศาสตร์ AI ของหัวเว่ย เราจะให้ความสำคัญกับคอมพิวติ้งและการเชื่อมต่อในสิงคโปร์ ด้วยการสร้างระบบนิเวศแบบเปิดร่วมกับพาร์ทเนอร์ของเรา ซึ่งเราเชื่อว่าจะช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่าง ๆ สู่ระบบดิจิทัล และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับพาร์ทเนอร์ในระบบนิเวศของเราในท้ายที่สุด”
แม้ปี 2019 มีความท้าทายเพิ่มมากขึ้น แต่หัวเว่ยก็ยังสร้างความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์กว่า 28,000 รายทั่วโลก และมีอัตราการเติบโตต่อปีสูงกว่า 10% แปดปีติดต่อกัน โดยรายได้ 86% ของเอ็นเตอร์ไพรส์ บิสิเนส กรุ๊ป มาจากการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังประกาศแผนเปิดโครงการ Asia-Pacific Ascend Partner Program เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม AI ของสิงคโปร์ ซึ่งประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่ Independent Software Vendor AI Collaboration, Institute of Higher Learning (IHL) AI Talent Cultivation และ Government AI Industry Development โดยหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์จะสนับสนุนประเทศในเอเชียแปซิฟิกด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชัน AI ที่แข็งแกร่ง รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ การส่งเสริมการเข้าสู่ตลาด และทรัพยากรเชิงกลยุทธ์
|