หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ติงส์ ออน เน็ต ร่วมมือ ม.เทคโนโลยีมหานคร พัฒนา Things on Net Academy  (อ่าน 788 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
prreporter
Registered User
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24


« เมื่อ: 18 ธันวาคม 2020, 16:32:00 »

กรุงเทพ, ธันวาคม 2563ติงส์ ออน เน็ต และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ลงนามบันทึกข้อตกลงในโครงการ Things on Net Academy เพื่อยกระดับองค์ความรู้เทคโนโลยีไอโอทีในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีไอโอทีในภาคการศึกษา รวมถึงต่อยอดการเรียนการสอน การวิจัย ไปสู่นวัตกรรมการใช้งานจริงที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน Cool



นายปวิณ วรพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ติงส์ ออน เน็ต จำกัด เปิดเผย ความร่วมมือครั้งนี้เกิดขึ้นจากที่ทั้งสององค์กรเล็งเห็นถึงความสำคัญของสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทในการเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกทั้งเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่มีความใกล้ชิดและเข้าใจสภาพแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างดี จึงเป็นกลไกสำคัญหนึ่งของไอโอทีอีโคซิสเต็ม (IoT Ecosystem) ในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีไอโอทีของประเทศไทยเพื่อแข่งขันกับเวทีโลก และถือเป็นองค์กรหนึ่งที่มีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนได้ดีที่สุด  

“ติงส์ ออน เน็ต มีเป้าหมายสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา และส่งเสริมคนในสังคมและชุมชนต่างๆ เข้าถึงองค์ความรู้ที่เป็นเลิศระดับโลก สามารถนำเทคโนโลยีไอโอทีไปปรับใช้เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นสถาบันการศึกษาที่ตอบโจทย์ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ มีระบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีหลักสูตรและองค์ความรู้ที่หลากหลาย ที่ผ่านมาได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและความสามารถจำนวนมากเข้าสู่ตลาดเทคโนโลยีซึ่งเป็นกำลังสำคัญของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง”  

ทั้งนี้ ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว บริษัท ติงส์ ออน เน็ต จะนำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีไอโอที เครือข่าย และโซลูชันระดับโลกของบริษัทมาร่วมขยายผลโครงการพัฒนาการศึกษา พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบด้วยเทคโนโลยีไอโอที โดยในเบื้องต้นได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ

ในระยะแรกเพื่อให้โครงการความร่วมมือสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติงส์ ออน เน็ต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้ทำความร่วมมือแบบบูรณาการที่เป็นรูปธรรมด้วยการส่งทีมวิศวกรเข้าติดตั้งเสาสัญญาณไอโอทีของติงส์ ออน เน็ต เพื่อให้สัญญาณครอบคลุมพื้นที่มหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ สนับสนุนอุปกรณ์ไอโอทีและเซ็นเซอร์ สนับสนุนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่นักศึกษา

โครงการระยะที่สอง ติงส์ ออน เน็ต สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีไอโอทีผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการติดตั้งชุดอุปกรณ์เซ็นเซอร์และโซลูชันติดตามรถรับ-ส่งภายในมหาวิทยาลัย โครงการติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศในห้องเรียน โครงการตรวจสอบคุณภาพน้ำใช้ และโครงการติดตั้งระบบติดตามสัตว์ใหญ่ เป็นต้น

โครงการระยะที่สาม ติงส์ ออน เน็ต สนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ของนักศึกษาและมหาวิทยาลัยในการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีไอโอทีที่สร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมจริง

ด้าน ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “ติงส์ ออน เน็ต เป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้นำไอโอทีโซลูชันครบวงจรด้วยโครงข่ายเทคโนโลยีสื่อสารชั้นนำระดับโลก และมีเป้าหมายสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครที่ต้องการสร้างความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีไอโอทีให้กับภาคการศึกษา โดยความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยสามารถยกระดับและพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถให้นักศึกษาสู่ระดับอาชีพ สร้างนักพัฒนาเทคโนโลยีไอโอทีชั้นนำของประเทศ อีกทั้งยังต่อยอดงานวิจัยจากภาควิชาการไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีไอโอทีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน”

เทคโนโลยีไอโอทีของติงส์ ออน เน็ต จะเข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ จากการรังสรรค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครให้มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น อาทิ การพัฒนาหุ่นยนต์ (Robot) ต้นแบบสร้างอรรถประโยชน์ที่ใช้งานได้อเนกประสงค์ ช่วยเติมเต็มฟังก์ชันการทำงานด้านต่างๆ ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้กับงานด้านการเกษตรในรูปของโรบอทตัดหญ้า พ่นปุ๋ย ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ หรือใช้ในด้านการทหาร เป็นต้น

นายปวิณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะสามารถสร้างสรรค์โครงการที่เป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีไอโอทีให้กับมหาวิทยาลัยอื่นๆ และชุมชนรอบข้างในเขตหนองจอก เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้ดีขึ้น (Smart Community) สอดรับกับนโยบายของภาครัฐบาลที่เดินหน้าพัฒนาเมืองต่างๆ สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: