หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หัวเว่ยเผยสมุดปกขาว เปิดนิยามใหม่ของศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลช  (อ่าน 1828 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 05 สิงหาคม 2021, 16:29:47 »

International Data Corporation (IDC) เปิดตัวรายงานสมุดปกขาวเรื่อง Moving Towards an All-Flash Data Center Era to Accelerate Digital Transformation (มุ่งสู่ยุคแห่งศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลชเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลช รายงานดังกล่าวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหัวเว่ย ถือเป็นรายงานฉบับแรกของอุตสาหกรรมที่เผยให้เห็นภาพร่างของศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลชอย่างเป็นระบบ ทั้งในแง่ของการจัดเก็บ การประมวลผล และเครือข่าย รายงานฉบับนี้จะทำหน้าที่เป็นเอกสารอ้างอิงที่สำคัญและให้แนวทางการสร้างศูนย์ข้อมูลสำหรับองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการสร้างและการพัฒนาศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลชสำหรับทุกอุตสาหกรรมในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงและการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลเป็นแนวโน้มที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคอัจฉริยะ โดยหลังจากการอัปเกรดสถาปัตยกรรมไอทีแล้ว องค์กรจำนวนมากขึ้นก็เริ่มหันมาลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ครอบคลุมตั้งแต่นวัตกรรมข้อมูล ความคล่องตัวแบบเรียลไทม์ ประสิทธิภาพพลังงาน ไปจนถึงความน่าเชื่อถือ และการจัดการอัจฉริยะ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือเทรนด์ใหม่สำหรับศูนย์ข้อมูลที่มีความยั่งยืนและมุ่งสู่อนาคต

รายงานสมุดปกขาวได้ให้คำจำกัดความใหม่เกี่ยวกับแนวคิดศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลชว่า เป็นศูนย์ข้อมูลที่ใช้ SSD อย่างน้อย 90% ของหน่วยความจำ (ครอบคลุมระบบจัดเก็บข้อมูลภายนอกและเซิร์ฟเวอร์เก็บข้อมูลในตัว) พร้อมด้วยคุณสมบัติ ได้แก่ ความหนาแน่นและความน่าเชื่อถือสูง ตอบสนองไว และประหยัดพลังงาน ศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลชจะมีบทบาทในการส่งเสริมธุรกิจและแอปพลิเคชันที่เป็นดิจิทัล และช่วยองค์กรต่าง ๆ เพิ่มมูลค่าให้กับนวัตกรรมข้อมูลได้ถึงขีดสุด

นอกจากนี้ รายงานสมุดปกขาวยังอธิบายความหมายและสถานะของศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลช โดยอิงกับแนวปฏิบัติระดับโลกในอุตสาหกรรมการเงิน ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และบริการสุขภาพ เป็นต้น

ระบบออลแฟลชไม่ได้จำกัดอยู่แค่บางแอปพลิเคชันและภาระงานอีกต่อไป โดยปัจจุบันสามารถนำระบบแบบออลแฟลชไปใช้กับภาระงานที่สำคัญและมีมูลค่าเพิ่มในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
ปัจจุบัน หลายองค์กรเริ่มดำเนินนโยบายอนุรักษ์พลังงานทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ซึ่งครอบคลุมทั้งส่วนการผลิตและการดำเนินงานขององค์กร ศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลชจึงนับเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและเป็นก้าวต่อไปของการพัฒนาที่ยั่งยืน
เครือข่ายศูนย์ข้อมูลกำลังพัฒนาไปสู่การเป็นเครือข่ายแบบ all-IP โดยมีการคาดการณ์ว่า NVMe over Fabrics จะเป็นตัวเร่งให้เกิดนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมการรับส่งข้อมูล เพื่อบรรลุประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และทำให้การจัดการด้าน O&M ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาปัตยกรรมที่มีการแยกส่วนการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูล
การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนำมาซึ่งความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับองค์กร ซึ่งรวมถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ โครงสร้างพื้นฐานที่ขับเคลื่อนด้วยหน่วยความจำเป็นตัวเลือกหลักในขณะนี้ เนื่องจากตอบสนองเวิร์กโหลดไวที่สุด ตลอดจนใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น AI, แมชชีนเลิร์นนิง และการเรียนรู้เชิงลึก โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวรองรับการใช้ข้อมูลร่วมกันในระดับสูงและมีการตอบสนองไว จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการขยายเวิร์กโหลด
ในอนาคต โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจะพัฒนาจนแพร่หลายและครอบคลุมวงจรชีวิตของข้อมูลทั้งหมด ศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลชจะถูกติดตั้งใช้งานแบบข้ามโดเมน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่องานด้าน O&M โดยจะช่วยลดต้นทุนการจัดการศูนย์ข้อมูลและลดความซับซ้อน ในขณะที่มอบประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าศูนย์ข้อมูลรูปแบบอื่นๆ
ศูนย์ข้อมูลออลแฟลชใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลระดับไฮเอนด์แบบ full-series เพื่อนำเสนอการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลชสำหรับทุกสถานการณ์และการปกป้องข้อมูลในทุกสถานการณ์ เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการเร่งการพัฒนาด้านดิจิทัล ตลอดจนนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ด้วยเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบ all-IP และ O&M อัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูลแบบออลแฟลชยังช่วยลดขนาดพื้นที่ของศูนย์ข้อมูลและลดการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรลดต้นทุนด้านพลังงานและสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei OceanStor All-Flash Data Center Solution

ดาวน์โหลดรายงานสมุดปกขาวได้ที่ https://e.huawei.com/en/products/storage/form/2021/idc-white-paper?ic_medium=hwdc&ic_source=ebg_EEBGHQ197501L&source=news&ic_content=all-flash%20data%20center_IDC%20white%20paper
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: