เมาเซอร์ อิเล็กทรอนิกส์ อิงค์ (Mouser Electronics Inc.) ผู้จัดจำหน่ายระดับ New Product Introduction (NPI) ชั้นนำที่มีเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือกมากที่สุด เริ่มต้นซีซันใหม่ของซีรีส์คอนเทนต์ในโปรแกรมระดับรางวัลเพื่อการส่งเสริมนวัตกรรมร่วมกันอย่าง Empowering Innovation Together(TM) (EIT) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกักเก็บพลังงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเปิดตัวไม่กี่วันก่อนวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ปี 2566 ซีซันใหม่นี้ขอเริ่มต้นโดยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการ ศักยภาพ และอนาคตของระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนส่วนประกอบจำนวนมากและคุณสมบัติทางเคมีของแบตเตอรี่
แม้ผู้เชี่ยวชาญในวงการจะประเมินว่าในปัจจุบันลมและแสงอาทิตย์ให้พลังงานคิดเป็น 20% ของพลังงานที่ผลิตได้ในสหรัฐอเมริกา แต่พลังงานหมุนเวียนยังไม่ถือเป็นแหล่งพลังงานที่เสถียรและยังต้องการระบบกักเก็บพลังงานเพื่อให้มีพลังงานใช้ตามต้องการ เนื้อหาของซีรีส์ EIT นี้จะเจาะลึกถึงแนวโน้มในการดักจับพลังงานเปรียบเทียบกับการจัดเก็บ และวิธีที่พลังงานแสงอาทิตย์เปลี่ยนไปอยู่ในแบตเตอรี่ นอกจากนี้ยังเน้นถึงวิธีการที่วิศวกรสามารถเลือกส่วนประกอบที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบพื้นที่จัดเก็บที่ยั่งยืน
เริ่มต้นด้วยรายการ The Tech Between Us (เทคโนโลยีที่อยู่ในชีวิตของเรา) พอดแคสต์ยอดนิยมของ EIT ซึ่งจัดโดยคุณเรย์มอนด์ หยิน (Raymond Yin) ผู้อำนวยการฝ่ายเนื้อหาทางเทคนิคของเมาเซอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นพอดแคสต์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บพลังงานสีเขียวรายการแรกจากทั้งหมดสามรายการ คุณหยินได้ร่วมพูดคุยกับดร. อิเมอเร กยุก (Dr. Imre Gyuk) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยการจัดเก็บพลังงาน กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ โดยการสนทนากล่าวถึงความสำคัญในการดักจับและจัดเก็บพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้แน่ใจว่าระบบกริดเชื่อมต่อกับพลังงานระยะยาวและยั่งยืน การอภิปรายยังสอดคล้องไปกับวันคุ้มครองโลกในปีนี้ (วันเสาร์ที่ 22 เมษายน) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่หัวข้อ "ลงทุนเพื่อเปลี่ยนโลก" (Invest in our Planet) และดูว่าบริษัทต่าง ๆ ได้ทำอะไรไปบ้างเพื่อผลักดันความยั่งยืน
"เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เปิดตัวโปรแกรม EIT ในปีนี้พร้อมกับแขกรับเชิญที่น่าประทับใจและหัวข้อที่เหมาะกับสถานการณ์" คุณเรย์มอนด์ หยิน ผู้อำนวยการฝ่ายเนื้อหาทางเทคนิคของเมาเซอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และผู้จัดรายการพอดแคสต์ The Tech Between Us กล่าว "เราหวังว่าเนื้อหาทางเทคนิคเกี่ยวกับระบบกักเก็บพลังงานสีเขียวนี้จะช่วยวิศวกรและนวัตกรที่กำลังออกแบบโซลูชันแห่งอนาคต"
รายการเริ่มต้นด้วยการแนะนำเทคโนโลยีเบื้องหลังระบบจัดเก็บพลังงานสีเขียว และเน้นทางเลือกทั้งในปัจจุบันและอนาคตเพื่อใช้แทนลิเธียมไอออน ตลอดจนความเคลื่อนไหวทางเทคนิคล่าสุดสำหรับภาคส่วนพลังงานสีเขียว ซีรีส์เปิดตัวให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนและเน้นไปที่การเติบโตของพลังงานแสงอาทิตย์ โดยกล่าวถึงการจัดส่งพลังงาน ระบบที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีแหล่งที่มา การจัดเก็บ และสายส่ง เพื่อที่จะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง และเมื่อเข้าใจความท้าทายเกี่ยวกับการใช้โซลูชันการจัดเก็บพลังงานชั่วคราวในการออกแบบที่ใช้งานได้จริงแล้ว วิศวกรจะได้รับข้อมูลเชิงลึกอันล้ำค่าเกี่ยวกับโซลูชันหมุนเวียน
ผู้ร่วมสนับสนุนในตอนนี้ ได้แก่ อนาล็อก ดีไวเซส (Analog Devices), อินฟินีออน (Infineon), ลิตเทลฟิวส์ (Littelfuse), ออนเซมิ (onsemi), พานาโซนิค (Panasonic), ฟีนิกซ์ คอนแท็คท์ (Phoenix Contact), ทีอี คอนเน็คทิวิตี้ (TE Connectivity) และวีเชย์ (Vishay) โปรแกรม EIT ของเมาเซอร์ยังคงนำเสนอเนื้อหาพิเศษที่หลากหลายเพื่อเสริมการสนทนาในรายการ The Tech Between Us ทั้งนี้ โปรแกรมนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนและระบบจัดเก็บ ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระดับโลก ผ่านบทความ 2 บทความ กรณีศึกษา อินโฟกราฟิก และวิดีโอที่เน้นให้เห็นว่าชุมชนการออกแบบกำลังทำอะไรในแวดวงระบบกักเก็บพลังงานสีเขียว
EIT การกักเก็บพลังงานสีเขียว / หน้า 2
นอกจากระบบพลังงานสีเขียวแล้ว โปรแกรมของเมาเซอร์จะพาสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานแมทเทอร์ (matter) การแพทย์ดิจิทัล เซ็นเซอร์วัดสิ่งแวดล้อม Wi-Fi 7 และระบบแมชชีนวิชันของเครื่องจักรอุตสาหกรรม โดยจะเปิดเผยความเคลื่อนไหวทางเทคนิคที่จำเป็นเพื่อให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเน้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในตลาด โปรแกรมส่งเสริมนวัตกรรม Empowering Innovation Together ของเมาเซอร์เริ่มขึ้นเมื่อปี 2558 เป็นหนึ่งในโปรแกรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.mouser.com/empowering-innovation/green-energy-storage-systems/ และติดตามเมาเซอร์ได้ทางเฟซบุ๊ก (Facebook), ลิงด์อิน (LinkedIn), ทวิตเตอร์ (Twitter) และยูทูบ (YouTube)
อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่
https://www.thaipr.net/it/3334953