หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หัวเว่ยชูโซลูชัน eLTE ยกระดับความสามารถด้านการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าบุยในกานา  (อ่าน 1131 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 17 มิถุนายน 2023, 09:53:34 »

องค์การพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) คาดการณ์ว่า กำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนของแอฟริกาอาจสูงถึง 310 กิกะวัตต์ภายในปี 2573 ส่งผลให้แอฟริกาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำด้านการผลิตพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าบุย (Bui Power Authority หรือ BPA) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานพลังน้ำในประเทศกานา กำลังก้าวสู่ความเป็นผู้นำในภูมิภาคทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า โดยมีความพร้อมด้านบริการการสื่อสารและการจัดการการดำเนินงานที่จำเป็นผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ eLTE ของหัวเว่ย

ดร. แมทธิว โอโปกู เพรมเปห์ (Matthew Opoku Prempeh) รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของกานา ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของระบบไอซีทีในการจัดการพลังงานอัจฉริยะที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตไฟฟ้า การดำเนินงานของโรงไฟฟ้า และการจ่ายไฟฟ้า ระบบเหล่านี้ช่วยให้สามารถผสานพลังงานหมุนเวียนเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อการเข้าถึงและอุปทานที่เชื่อถือได้และมีเสถียรภาพ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประเทศในการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างทั่วถึงภายในปี 2568

ดร. เพรมเปห์กล่าวถ้อยแถลงหลังจากที่โรงไฟฟ้าบุยเริ่มดำเนินการเครือข่ายบรอดแบนด์ส่วนตัวที่สร้างโดยหัวเว่ย ณ สถานีผลิตกำลังไฟฟ้าภายในโรงไฟฟ้าบุย

ดร. เพรมเปห์ กล่าวว่า "ในขณะที่กานากำลังก้าวสู่การกระจายไฟฟ้าอย่างทั่วถึงภายในปี 2568 จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราที่จะต้องอาศัยพลังแห่งระบบไอซีทีในการเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าให้เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานหมุนเวียน และสร้างความมั่นใจว่าครัวเรือนทั่วประเทศจะมีไฟฟ้าใช้อย่างเสถียรและคุ้มค่า"

โรงไฟฟ้าบุยจึงร่วมกับหัวเว่ย สร้างเครือข่ายบรอดแบนด์ส่วนตัว eLTE ที่สามารถเจาะทะลุกำแพงคอนกรีตและโครงสร้างพื้นฐานของโรงไฟฟ้าบุยในประเทศกานา นับเป็นครั้งแรกที่หัวเว่ยนำโซลูชัน eLTE มาใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำ โดยเครือข่ายนั้นประกอบด้วยบริการเสียง วิดีโอ และดาต้า ช่วยให้สามารถสื่อสารได้ทันทีระหว่างห้องควบคุมและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงรอบ ๆ โรงงาน ครอบคลุมพื้นที่ทำงานในร่มและกลางแจ้ง โดยไม่ต้องเดินสายและติดตั้งเกินความจำเป็น รวมถึงถนนภายในเขื่อน ห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และพื้นที่อยู่อาศัยของพนักงานในบริเวณใกล้เคียง

นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในรูปแบบใหม่ ๆ

ด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ เช่นการกดเพื่อพูด และการโทรแบบกลุ่มสำหรับทั้งเสียงและวิดีโอ เครือข่ายส่วนตัวจึงช่วยให้การบำรุงรักษาตามปกติและการจัดการเหตุฉุกเฉินของโรงไฟฟ้าเป็นไปได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

"ปัจจุบันพนักงานสามารถสื่อสารผ่านวิดีโอคอลเพื่อแก้ไขปัญหาการบำรุงรักษาได้ในเวลารวดเร็ว" วิศวกรของหัวเว่ยกล่าว "การสร้างเครือข่ายที่ทันสมัยยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเติบโต ส่งผลให้ไซต์งานนี้พลิกโฉมสู่ความเป็นดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด"

ระบบไฮบริดพลังงานน้ำ-แสงอาทิตย์

พลังงานสะอาดมีความสำคัญมากขึ้นในสัดส่วนพลังงานของประเทศกานา เนื่องจากแผนพลังงานแห่งชาติของกานามีเป้าหมายที่จะบรรลุการเข้าถึงพลังงานทดแทนที่ 10% ภายในปี 2573 บทบาทของโรงผลิตไฟฟ้าบุยในฐานะผู้ให้บริการไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญของประเทศจึงได้รับการยกระดับและเสริมความแข็งแกร่ง ด้วยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

การก่อสร้างเฟสแรกของโครงการขนาด 250 เมกะวัตต์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2562 ด้วยการพัฒนาโรงงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าบุยยังได้เปิดการใช้งานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำขนาด 5 เมกะวัตต์แห่งแรกในภูมิภาคทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า และจ่ายพลังงานผ่านลานไกไฟฟ้าบุย (Bui Switchyard) ไปยังระบบจ่ายพลังงานส่วนกลางของประเทศ (National Interconnected Transmission System หรือ NITS)

ขับเคลื่อนการพัฒนาในภาคเหนือของกานา

โรงไฟฟ้าบุยผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้ 404 เมกะวัตต์ และเพิ่มเติมอีก 50 เมกะวัตต์จากการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ในบริเวณโรงงาน โดยกำลังการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนทั้งหมดคิดเป็นประมาณ 6-7% ของพลังงานทั้งหมดที่ผลิตในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 47,000 ตันต่อปี

ทั้งนี้ กานามีความจริงจังที่จะใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นโดยโรงไฟฟ้าบุย เพื่อส่งเสริมการตกปลาในอ่างเก็บน้ำ และดูแลการชลประทานในพื้นที่ปลูกพืชผลการเกษตร เช่น ข้าวโพด มะม่วงหิมพานต์ และอ้อย รวมกว่า 30,000 เฮกตาร์

โรงไฟฟ้าบุยกำลังร่วมมือกับนักลงทุนเอกชนเชิงกลยุทธ์ เพื่อดำเนินการโรงงานแปรรูปมะม่วงหิมพานต์และโรงงานน้ำตาลในบริเวณบุย โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเกษตรในกานา ส่งเสริมการจ้างงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: