หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หัวเว่ยนำเสนอเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูล  (อ่าน 1328 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 18 ตุลาคม 2023, 15:54:11 »



"ฉันต้องทำงานนี้ให้ทันกำหนดเวลา แต่ต้องรอคิวประมวลผลนานมาก แล้วจะทำอย่างไรดีตอนนี้"

"เดดไลน์การทดลองของฉันคือสัปดาห์หน้า แต่ฉันเพิ่งสังเกตเห็นว่าข้อมูลบางอย่างไม่ถูกต้อง และต้องใช้เวลามากกว่า 100 ชั่วโมงเพื่อรันแบบจำลองอีกครั้ง มันทำให้เร็วขึ้นได้ไหม"

"การทดลองนี้สำคัญมาก และใกล้ถึงกำหนดเวลาส่งแล้ว ช่วยทำงานของฉันก่อนได้ไหม"

ปัญหาที่นักวิจัยวิทยาศาสตร์ต้องเผชิญไม่ได้มีเพียงการเคลื่อนที่ของโมเลกุล องค์ประกอบของดีเอ็นเอ การทดสอบในอุโมงค์ลม การทดลองการสร้างแบบจำลองที่ซับซ้อน หรือการทดสอบแบบจำลองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่อย่างจำกัด และการประสานงานระหว่างการรอคอยทรัพยากรที่ยาวนาน

เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) และลดต้นทุนในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงแบบสาธารณะของมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้จัดให้มีการประเมินผู้ให้บริการ เพื่อเลือกเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงอัจฉริยะไร้การสูญเสียข้อมูล (lossless) ของหัวเว่ย (Huawei) อยู่ในอันดับที่ 1 เนื่องจากมีประสิทธิภาพการประมวลผลที่ไม่มีใครเทียบได้

ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง

มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นผู้นำในการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ในหมู่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศจีนหลังการซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในปี 2506 ต่อมาในปี 2544 มหาวิทยาลัยฯ ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ เพื่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สำหรับเป็นแพลตฟอร์มการวิจัยแบบสหสาขาวิชาชีพที่สามารถให้บริการกิจกรรมการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ในปี 2561 ได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงแบบสาธารณะ ประกอบด้วยคลัสเตอร์ 3 กลุ่มที่เริ่มมีการนำมาใช้งาน ได้แก่ เว่ยหมิง นัมเบอร์ วัน (Weiming No. 1) เว่ยหมิง ทีชชิง นัมเบอร์ วัน (Weiming Teaching No. 1) และเว่ยหมิง ไบโอโลจิคัล ไซแอนซ์ นัมเบอร์ วัน (Weiming Biological Science No. 1) โดยมีจำนวนคอร์ประมวลผลทั้งหมดบนแพลตฟอร์มสาธารณะสูงถึง 31,732 หน่วย และพลังการประมวลผลสูงสุดอยู่ที่ 3.65 PFLOPS แพลตฟอร์มดังกล่าวมอบระบบนิเวศคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสำหรับสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ กลศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และธรณีวิทยา

รากฐานที่มั่นคงสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงทำหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุนสำคัญสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ โดยเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของมหาวิทยาลัยปักกิ่งมีผู้ใช้ถึง 5,070 รายจากทั้งหมด 96 คณะ แพลตฟอร์มดังกล่าวยังสนับสนุนโครงการวิจัยมากกว่า 545 โครงการมูลค่ารวมกว่า 3.136 พันล้านหยวน และบทความวิจัยคุณภาพสูงมากกว่า 1,400 ฉบับ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเปิดตัวรางวัลกอร์ดอนเบลล์ (Gordon Bell Award) ในปี 2563 โดยโครงการที่ได้รับรางวัลนี้สามารถขยายขีดจำกัดการจำลองพลวัตของโมเลกุลด้วยจำนวนอะตอมมากกว่า 100 ล้านอะตอมผ่านจักรกลเรียนรู้ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าทึ่งอย่างมาก และถือเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าที่สำคัญที่สุดในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน

ความต้องการด้านการประมวลผลที่สูงขึ้น ทำให้การสร้างเครือข่ายใหม่เป็นเรื่องเร่งด่วน

เนื่องจากผู้ใช้แพลตฟอร์มมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาระงานในการดำเนินงานจึงเข้าใกล้ขีดจำกัดสูงสุด สิ่งนี้นำไปสู่ปริมาณงานและความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ตัวอย่างเช่นคลัสเตอร์เว่ยหมิง ไบโอโลจิคัล ไซแอนซ์ นัมเบอร์ วัน ที่มีการใช้งานโหนดเกินเหนือ 95% มาเป็นระยะเวลานาน โดยมีเวลาดำเนินงานสูงสุดที่ 109 ชั่วโมง และเวลาเข้าคิวสูงสุดที่ 550 ชั่วโมง ทำให้การปรับปรุงระบบและเครือข่ายเป็นเรื่องเร่งด่วน

อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่ https://www.thaipr.net/it/3397405
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: