อินเทลชี้ตลาดมือถือที่กำลังเติบโตคือโอกาสทองของอุตสาหกรรมไอที

/ ข่าวโดย: Venom-Crusher , 04/06/2011 11:30, 143 views / view in EnglishEN
Share

อินเทลเปิดเผยในงานคอม พิวเท็กซ์ถึงแผนล่าสุดของชิปตระกูล อินเทล™คอร์™ และ อินเทล™อะตอม™ โปรเซสเซอร์ ที่จะเข้ามารองรับโน้ตบุ๊กและอุปกรณ์มือถือรุ่นใหม่ๆ

ประเด็นข่าว
• อินเทลแยกกลุ่มใหม่สำหรับอุปกรณ์โมบายล์คอมพิวเตอร์ แบบบางเฉียบและน้ำหนักเบารุ่นยอดนิยมล่าสุด โดยใช้ชื่อว่า Ultrabook™
• อินเทลตั้งเป้าให้ผู้บริโภคที่ใช้แล็ปท้อปรุ่นทั่วไปร้อยละ 40 หันมาใช้ Ultrabook™ ภายในปลายปี 2555
• อินเทลเร่งพัฒนาในการนำ อะตอม™ โปรเซสเซอร์ มาเป็นเทคโนโลยีสำหรับการผลิตอุปกรณ์ใหม่ทุกปี เพื่อสร้างโซลูชั่นพิเศษที่หลากหลายรองรับตลาดกลุ่มต่างๆ
• อินเทลเน้นแพลต์ฟอร์มรุ่นใหม่สำหรับเน็ตบุ๊กโดยไม่ต้องใช้พัดลมระบายความ ร้อน และใช้ชื่อรหัสว่า “ซีดาร์เทรล” สำหรับแท็บเบล็ตที่ใช้อะตอม โปรเซสเซอร์ รุ่นปัจจุบัน  พร้อมเปิดตัวชิป “เมดฟิลด์” สำหรับแท็บเบล็ตที่บางเพียง 9 มม. เบาไม่ถึง 1.5 ปอนด์ และใช้กับระบบปฏิบัติการได้หลายชนิด

750301 อินเทลชี้ตลาดมือถือที่กำลังเติบโตคือโอกาสทองของอุตสาหกรรมไอที

คอมพิวเท็กซ์, กรุงเทพฯ 1 มิถุนายน 2554ฌอน มาโลนี่ รองประธานบริหาร อินเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวในงานคอมพิวเท็กซ์ โดยระบุว่า ภายในสิ้นปี 2555 ผู้ใช้แล็ปท้อปในตลาดเดิมร้อยละ 40 จะเปลี่ยนมาใช้ “Ultrabook™” คอมพิวเตอร์สายพันธุ์ใหม่ที่ไร้จุดอ่อน ซึ่งสามารถตอบโจทย์ที่สุดของประสิทธิภาพ ความเร็วในการตอบสนอง และระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม ด้วยดีไซน์หรูและบางเฉียบ

ในระหว่างการบรรยายเปิดงานคอมพิวเท็กซ์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนิทรรศการเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของโลก มาโลนี่กล่าวเพิ่มเติมถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเพื่อปรับแผนปฏิบัติการ ของ อินเทล™คอร์™โปรเซสเซอร์ สำหรับแล็ปท้อปกลุ่มใหม่ที่จะเกิดขึ้น นอกจากนั้นเขายังได้ย้ำถึงความพยายามของอินเทลในการผลักดันแนวทางการขยาย ตลาดสำหรับ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ แบบซิสเต็มออนชิป (System on a chip หรือ SOC) สำหรับเน็ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน แท็บเบล็ต และอุปกรณ์สำหรับการเดินทางอื่นๆ อีกด้วย

มาโลนี่กล่าวว่า “ระบบการประมวลผลเริ่มแปรสภาพไปอยู่ในอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ ส่วนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีก็คือตัวเร่งปฏิกิริยา และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่อินเทลกำลังจะทำกับแผนปฏิบัติการบวกกับความ ร่วมมือที่แข็งแกร่งของอุตสาหกรรม จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจของการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ในอีกไม่กี่ ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน”

Ultrabook™
วิสัยทัศน์ของอินเทลคือการส่งเสริมรูปแบบการใช้งานแนวใหม่ผ่านการพัฒนาอุ ปกรณ์โมบายล์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่มากขึ้น คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่นี้จะผสานประสิทธิภาพและสมรรถนะที่ได้จากแล็ปท้อปใน ปัจจุบัน เข้ากับคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ของแท็บเบล็ต ที่ทำให้ตอบสนองได้เร็ว มีระบบความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ภายใต้ดีไซน์การออกแบบที่บางเฉียบ น้ำหนักเบา และหรูหรากว่าเดิม Ultrabook™ จะเข้ามาเป็นตัวกำหนดทิศทางใหม่ให้กฎของมัวร์และเทคโนโลยีซิลิกอน เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับเดสก์ท้อปคอมพิวเตอร์รุ่นเริ่มต้นเมื่อ 40 ปีที่แล้ว

750302 อินเทลชี้ตลาดมือถือที่กำลังเติบโตคือโอกาสทองของอุตสาหกรรมไอที

มาโลนี่อธิบายว่าแผนการของอินเทลที่จะทำให้วิสัยทัศน์ดังกล่าวเป็นจริง ได้นั้น แบ่งออกเป็นสามระยะด้วยกัน โดยแผนในระยะแรกจะเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ด้วย อินเทล™ คอร์™ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ซึ่งเข้ามารองรับผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มแล็ปท้อปที่มีดีไซน์สวยงาม เบา และบางเพียง 20 มม. (0.8 นิ้ว) ด้วยราคาที่ตลาดยอมรับได้ คือ ไม่ถึง 1,000 เหรียญสหรัฐ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ชิปเหล่านี้จะเริ่มจำหน่ายในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งรวมถึง Ultrabook™ UX21 ของเอซุส*ด้วย ทั้งนี้ จอห์นนี ชีห์ ประธานของเอซุสได้ขึ้นบรรยายบนเวทีร่วมกับมาโลนี่ด้วย และได้นำเอาแล็ปท้อปรุ่นบางเฉียบซึ่งใช้อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอร์เรชั่นสอง รุ่นล่าสุดมาแสดงด้วย

ชีห์กล่าวว่า “เอซุสมีวิสัยทัศน์ในเรื่อง Ultrabook™ ที่สองคล้องกับอินเทล ลูกค้าของเราต้องการรูปแบบการประมวลผลที่ไร้จุดอ่อน ภายใต้การออกแบบเครื่องที่พกพาสะดวก น้ำหนักเบา และตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขาได้อย่างรวดเร็ว การแปลงสภาพพีซีให้กลายเป็นอุปกรณ์ที่บางเป็นพิเศษและตอบสนองได้อย่างรวด เร็วขึ้นจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้งานสำหรับพีซีของผู้คนอย่างแน่นอน”

นอกจากกล่าวถึงเทคโนโลยี อินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 2 แล้ว มาโลนี่ยังได้เปิดเผยถึงอินเทล โปรเซสเซอร์ ตระกูลถัดไปที่ใช้ชื่อรหัสว่า “ไอวี่บริดจ์” (Ivy Bridge) ซึ่งมีกำหนดจะนำใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 แล็ปท้อปที่ใช้ชิป “ไอวี่บริดจ์” จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากขึ้น เปิดประสบการณ์ในการรับชมภาพได้อย่างฉลาดล้ำ พร้อมด้วยเร่งอัตราการตอบสนองที่รวดเร็ว และระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่าเดิม “ไอวี่บริดจ์” จะเป็นชิปรุ่นแรกของระบบการผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 22 นาโนเมตรที่จะใช้ทรานซิสเตอร์ Tri-Gate 3 มิติ ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นอกจากนั้น มาโลนี่ยังได้กล่าวถึงเทคโนโลยีเสริม เช่น USB 3.0 และ Thunderbolt™ ที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ทำอย่างต่อเนื่องของอินเทล เพื่อผลักดันให้แพลตฟอร์มสำหรับพีซีก้าวหน้าต่อไป

ถัดจาก “ไอวี่บริดจ์” อินเทลยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้วางแผนเอาไว้สำหรับปี 2556 ซึ่งมีชื่อรหัสว่า “แฮสเวล” (Haswell) ซึ่งถือเป็นแผนระยะที่สามของการพัฒนา Ultrabook™ โดยเปลี่ยนโครงสร้างให้แล็ปท้อปมีดีไซน์ที่บางเฉียบ น้ำหนักเบา ที่ตอบสนองการทำงานได้รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น “แฮสเวล” จะช่วยให้อินเทลปรับปรุงระบบพลังงานของโมไบล์โปรเซสเซอร์ให้ดีขึ้น โดยจะใช้พลังงานเพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นเมื่อเทียบกับดีไซน์ในปัจจุบัน

เร่งแผนพัฒนาสำหรับ อินเทล™ อะตอม™ โปรเซสเซอร์
มาโลนี่ยังได้พูดถึงช่วงเวลาสำคัญและรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับแพลต์ฟอร์ มของอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ รุ่นถัดไปสำหรับแท็บเบล็ต เน็ตบุ๊ก และสมาร์ทโฟน  โดย อะตอม โปรเซสเซอร์ จะแซงหน้ากฎของมัวร์ได้สำเร็จ ด้วยการเร่งความเร็วของเทคโนโลยีสำหรับการผลิตจาก 32 นาโนเมตร เป็น 22 นาโนเมตร และ 14 นาโนเมตร ได้ภายในเวลา 3 ปีติดต่อกัน การเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ทุกปี จะทำให้อัตราการรั่วไหลของกระแสไฟในทรานซิสเตอร์ลดลงอย่างมาก ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานขณะทำงาน และยังเพิ่มความจุของจำนวนทรานซิสเตอร์ได้เพื่อพัฒนาสมาร์ทโฟน แท็บเบล็ตและเน็ตบุ๊กให้มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนมีอายุการใช้แบตเตอรี่ที่ยาวนานกว่าเดิม

หลังจากที่สามารถพิชิตยอดจำหน่ายเน็ตบุ๊กได้ครบ 100 ล้านเครื่องได้สำเร็จไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อินเทลได้เริ่มเตรียมแพลต์ฟอร์มสำหรับเน็ตบุ๊กรุ่นต่อไป โดยใช้ชื่อรหัสว่า “ซีดาร์เทรล” ซึ่งเป็นแพลต์ฟอร์มสำหรับเน็ตบุ๊กรุ่นแรกของอินเทลที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต แบบ 32 นาโนเมตรของอินเทล ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับอุปกรณ์ที่มีขนาดบางเฉียบ ไม่ต้องใช้พัดลมระบายความร้อน และมาพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษ Intel® Rapid Start Technology ที่ช่วยให้กลับคืนสู่สภาพพร้อมใช้งานได้เร็วกว่าเดิม เมื่อผสานกับ Intel® Smart Connect Technology ที่ช่วยในการรับข้อมูลที่สามารถอัพเดตเสมอในช่วงสแตนบายด์ ในขณะที่เทคโนโลยี Intel® Wireless Display และ PC Synch จะช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย และอัพเดตข้อมูล คอนเท้นท์ และมีเดีย ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ได้พร้อมกัน นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่าแพล์ตฟอร์มรุ่นใหม่สามารถยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้ นานกว่า 10 ชั่วโมง และปรับให้อยู่ในโหมดสแตนบายด์ได้ติดต่อกันได้หลายสัปดาห์อีกด้วย “ซีดาร์เทรล” (Cedar Trail) จะสามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการชั้นนำหลากหลายชนิด อาทิ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์* (Microsoft Windows) วินโดวส์ กูเกิ้ลโครม* (Google Chrome) และ มีโก้* (Meego) เป็นต้น

นอกจากนั้นมาโลนี่ยังได้นำเอาแท็บเบล็ตกว่า 10 รุ่นที่รองรับระบบปฏิบัติการสามแบบที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันโดยใช้ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ Z670 มาแสดงอีกด้วย โดยแพลต์ฟอร์มรุ่นนี้ได้ถูกนำไปใช้กับแท็บเบล็ตกว่า 35 ดีไซน์แล้ว นับตั้งแต่มีการเปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เช่น แบบconvertibles, sliders และดีไซน์ที่ล้ำสมัยอื่นๆ ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน รวมถึงดีไซน์ที่จะมีทยอยออกมาในช่วงหลังของปีนี้ด้วย

มาโลนี่ยังได้กล่าวถึง “เมดฟิลด์” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตรรุ่นแรกของอินเทลที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับสมาร์ทโฟนและแท็บเบล็ต โดยเฉพาะ “เมดฟิลด์” (Medfield) ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสำหรับการ ใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความคมชัดเวลารับชมมีเดีย เล่นเกมส์ และรับชมภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงประสิทธิภาพสำหรับแท็บเบล็ต อินเทลได้จัดให้มีการนำชิป “เมดฟิลด์” มาทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการกูเกิล แอนดรอยด์ 3.0 (“Honeycomb) มาสาธิตเป็นครั้งแรก ชิปเมดฟิลด์จะเริ่มเข้าสู่การผลิตเพื่อจำหน่ายภายในปลายปีนี้ แพลต์ฟอร์มดังกล่าวจะเข้ามารองรับแท็บเบ็ลตดีไซน์ที่มีความหนาเพียง 9 มม. และมีน้ำหนักน้อยกว่า 1.5 ปอนด์ โดยจะเริ่มจำหน่ายในช่วงครึ่งแรกของปี  2555  และชิปรุ่นนี้ยังรองรับระบบปฏิบัติการได้หลากชนิด รวมทั้งแอนดรอยด์และมีโก้ด้วย

มาโลนี่กล่าวว่า “แผนการทำงานที่อินเทลกำลังดำเนินการสำหรับอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ เมื่อผสานกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นกับ อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ จะทำให้อินเทลมีศักยภาพมากขึ้นในการจัดสรรโซลูชั่นฮาร์ดแวร์แบบครบวงจร ที่สามารถนำไปใช้กับแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์หลากชนิดได้ ตั้งแต่แบ็คเอ็นด์เซิร์ฟเวอร์ที่รองรับการทำงานของระบบคลาวด์ ไปจนถึงอุปกรณ์อื่นๆ อีกหลายพันล้านเครื่องที่ใช้เพื่อการเข้าถึงระบบคลาวด์ด้วย”

750303 อินเทลชี้ตลาดมือถือที่กำลังเติบโตคือโอกาสทองของอุตสาหกรรมไอที

“Keeley Lake” จะรองรับระบบปฎิบัติการ ได้หลากหลาย อาทิ โครมโอเอส* (ChromeOS), มีโก้* (MeeGo) และ วินโดวส์ โดยใช้ “ซีดาร์เทรล” แพลต์ฟอร์ม

ระบบคลาวด์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
มาโลนี่กล่าวว่า การที่ผู้คนและอุปกรณ์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะนำไปสู่การขยายตัวของบริการต่างที่เกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์ เพื่อใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูล มีการปรับข้อมูลให้สอดคล้องกัน และสร้างความบันเทิงได้มากขึ้นตามไปด้วย และอินเทลเองก็มีศักยภาพที่จะเติบโตไปพร้อมกับระบบคลาวด์ โดยกล่าวเสริมว่าคลาวด์จำเป็นต้องใช้อินเทลเซิร์ฟเวอร์เครื่องใหม่หนึ่ง เครื่องต่อสมาร์ทโฟนใหม่ทุกๆ 600 เครื่อง หรือ แท็บเบล็ตใหม่ทุกๆ 122 เครื่อง ที่ต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต  เขายังได้ย้ำถึงวิสัยทัศน์ “Cloud 2015” ของอินเทลที่ต้องการเห็นระบบคลาวด์ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างปลอดภัยผ่านระบบคลาวด์ส่วนตัวและสาธารณะ นอกจากนี้ระบบเครือข่าย “อัตโนมัติ” ที่ช่วยจัดสรรปริมาณงานในเซิร์ฟเวอร์ของศูนย์ข้อมูลให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด และประหยัดพลังงาน และสามารถ “แยกแยะอุปกรณ์” ได้ด้วย เพื่อให้รู้ว่ามีแอพพลิเคชั่นไหนที่อยู่ระหว่างการทำงานและประมวลผล

มาโลนี่กล่าวทิ้งท้ายโดยเน้นถึงความสำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำ อุตสาหกรรมไอทีของไต้หวันในช่วงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของระบบประมวลผลนี้ โดยได้เรียกร้องให้มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกันเพื่อขับเคลื่อน อุตสาหกรรมไปสู่ระบบประมวลผลยุคใหม่ผ่านอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายและหาซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม “อุตสาหกรรมไอทีของไต้หวันจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการผลักดันให้วิสัย ทัศน์นี้กลายเป็นจริงขึ้นมาได้” มาโลนี่สรุป

ถ้าหากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแถลงข่าวในวันนี้ให้เข้าไปดูได้ที่ www.intel.com/newsroom/computex/index.htm

เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล (NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สินค้า รวมทั้งการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่ newsroom.intel.com และ blogs.intel.com

– 30 –

Intel และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์ ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza