Pete’s Dragon ภาพยนตร์จากดีสนีย์ใช้ Adobe Creative Cloud (อะโดบี ครีเอทีฟคลาวด์) เป็นเครื่องมือเบื้องหลังความสำเร็จ

/ ข่าวโดย: Nongkoo OverclockTeam , 31/08/2016 19:10, 393 views / view in EnglishEN
Share

Pete’s Dragon ภาพยนตร์จากดีสนีย์ใช้ Adobe Creative Cloud (อะโดบี ครีเอทีฟคลาวด์) เป็นเครื่องมือเบื้องหลังความสำเร็จ

adobe article petes dragon Pete’s Dragon ภาพยนตร์จากดีสนีย์ใช้ Adobe Creative Cloud (อะโดบี ครีเอทีฟคลาวด์) เป็นเครื่องมือเบื้องหลังความสำเร็จ

เกรซ เจ้าหน้าที่ป่าไม้คิดว่า เรื่องที่พ่อของเธอเล่าว่า มีมังกรอาศัยอยู่แถบแปซิฟิคตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเพียงแค่นิทาน จนกระทั่งเธอได้พบกับเด็กกำพร้าลึกลับที่ชื่อพีทวัยเพียง 10 ขวบที่เล่าว่าเขาอาศัยอยู่ในป่ากับมังกรตัวเขียวชื่อว่าเอลเลียต พีทคือใคร มาจากไหน แล้วเอลเลียตจริงๆ แล้วคืออะไรกันแน่?

เกรซและผู้ชมทุกท่านถูกเชิญให้เข้าไปพบกับมิตรภาพระหว่างเด็กน้อยคนหนึ่งกับมังกรที่เปลี่ยนชีวิตของพวกเขา ในภาพยนตร์เรื่อง Pete’s Dragon ของดีสนีย์ ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เดือนนี้

นักเขียนและผู้กำกับเดวิด โลเวอรีย์ ที่สร้างชื่อจากภาพยนตร์อิสระเรื่อง Ain’t Them Bodies Saints ได้นำภาพยนตร์คลาสสิคของดีสนีย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2517 มารีเมคให้กับผู้ชมในยุคปัจจุบัน ด้วยการเน้นไปที่ความสัมพันธ์ในวัยเยาว์ของพีทกับมังกร ภาพยนตร์ดั้งเดิมในปี พ.ศ. 2517 ถูกสร้างเป็นการ์ตูนสองมิติ แต่ในเวอร์ชั่น พ.ศ. 2559 นี้ มังกรเอลเลียตถูกสร้างแบบสามมิติด้วยคอมพิวเตอร์แต่ทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนสามารถสัมผัสขนปุยๆ ของเอลเลียตได้เลย

การนำเรื่องราวของพีทกับเอลเลียตมานำเสนอกับผู้ชมในยุคปัจจุบันต้องทำให้เหมือนจริง ด้วยการผสมผสานระหว่างการแสดงจริงกับตัวละครที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ (CGI) ซึ่งสามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยการวางแผนและการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของทุกคนที่ทำงานเบื้องหลัง ซึ่ง Adobe Creative Cloud มีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ ด้วยการใช้พลังความสามารถของโปรแกรม Adobe Photoshop CC, Adobe Premiere Pro CC และ Adobe After effects CC ในการเตรียมวางแผนงานด้านภาพและมุมกล้อง และการปรับแต่งภาพก่อนและหลังการถ่ายทำ ทำให้ผู้กำกับโลเวอรี่สามารถทำการตัดต่อภาพยนตร์แบบคร่าวๆ ได้เพื่อให้มั่นใจว่าเขาได้งานที่ต้องการครบถ้วนระหว่างกำลังทำการถ่ายทำในแต่ละครั้ง

เพื่อให้เข้าใจว่า Adobe Crative Cloud ช่วยให้ทีมงานนักสร้างสรรค์เห็นภาพที่ต้องการในภาพยนตร์เรื่อง Pete’s Dragon ตรงกันได้อย่างไร อะโดบีได้สัมภาษณ์ผู้กำกับ: เดวิด โลเวอรี่, โปรดิวเซอร์: จิม วิทเทเกอร์, ซูเปอร์ไวเซอร์ด้านพรีวิชวลไลเซชั่น: สจ๊วต อัลเลน และ Creative Art Director ด้านวิชวลเอฟเฟคต์ของ Weta Digital: จิโน อะเซเวโด

image001 Pete’s Dragon ภาพยนตร์จากดีสนีย์ใช้ Adobe Creative Cloud (อะโดบี ครีเอทีฟคลาวด์) เป็นเครื่องมือเบื้องหลังความสำเร็จ

อะโดบี: ทำไมถึงสนใจทำหนังเรื่อง Pete’s Dragon

วิทเทเกอร์ (โปรดิวเซอร์) : ภาพยนตร์เรื่อง Pete’s Dragon เรื่องนี้ เป็นเรื่องของความสัมพันธ์และพลังของมิตรภาพระหว่างเด็กชายคนหนึ่งกับมังกร และผมก็ถูกดึงดูดด้วยความสัมพันธ์อันงดงามระหว่างพีทกับเอลเลียตในทันทีที่ผมได้อ่านสคริป ผมรู้เลยว่าเรามีภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมอยู่ในมือ

โลเวอรี่ (ผู้กำกับ): ภาพยนตร์สำหรับเด็กมีความสำคัญ เพราะมันมีผลต่อชีวิตของพวกเขา ผมรู้สึกตื่นเต้นจริงๆ กับไอเดียในการสร้างภาพยนตร์ที่จะเติบโตไปพร้อมกับพวกเด็กๆ เมื่อพวกเขาได้ชมมันในครั้งแรก พวกเขาจะตื่นเต้นไปกับภาพและความมหัศจรรย์ สามารถสัมผัสถึงอารมณ์และประสบการณ์ของพีท และเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น พวกเขาจะพบว่ายังมีเรื่องราวอื่นๆ ในภาพยนตร์ที่สามารถนำมาใช้ได้

อะโดบี: การทำวิชวลไลเซชั่นช่วยในการสร้าง Pete’s Dragon อย่างไรบ้าง


วิทเทเกอร์: เอลเลียตอาจเป็นเพียงแค่มังกรตัวหนึ่ง แต่การแสดงอารมณ์ความรู้สึกของมันจะต้องเหมือนคนจริงๆ คุณต้องเชื่อได้ว่ามันมีชีวิตอยู่จริง การทำพรีวิชวล (Previsualization) เป็นเรื่้องสำคัญในการทำภาพยนตร์ประเภทนี้ เพราะว่า เอลเลียตไม่มีอยู่จริง ดังนั้น ทีมงานและตัวแสดงจำเป็นต้องรู้ว่าเอลเลียตหน้าตาเป็นอย่างไร  เคลื่อนไหวอย่างไร

อัลเลน (ซูเปอร์ไวเซอร์ด้านพรีวิชวลไลเซชั่น):  : ถ้าเรารู้รายละเอียดล่วงหน้า เช่น เอลเลียตตัวใหญ่แค่ไหน หน้าตาเป็นอย่างไร แสดงออกแบบไหน เราจะประหยัดเงินและเวลาในการถ่ายทำไปได้เยอะมาก การเตรียมงานที่ถูกต้องก่อนการถ่ายทำจริงช่วยให้ทีมงานทุกคนเข้าใจตรงกัน ลดความสับสนในการถ่ายทำไปได้ ซึ่งเรื่องนี้มีส่วนอย่างมากในการควบคุมงบประมาณ และตารางการถ่ายทำให้อยู่ในแผนที่กำหนดเอาไว้

การทำโพสวิชวล (Postvisualization) ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะนี่คือการเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับสิ่งที่ถ่ายทำมาแล้ว เราสามารถทดลองสร้างจังหวะการเคลื่อนไหว เปลี่ยนมุมมอง ใส่ตัวละครดิจิตอลลงไป เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการเล่าเรื่องของผู้กำกับและทีมผลิต

อะโดบี: แล้วมีการใช้โปรแกรมของอะโดบีมาช่วยในกระบวนการทำวิชวลไลเซชั่นอย่างไรบ้าง

อัลเลน: การทดลองมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการทำพรีวิชวล เราต้องค้นหาทางเลือกต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะได้งานตรงตามที่ผู้กำกับต้องการ เราใช้ Premiere Pro CC ในกระบวนการตั้งแต่การพรีวิชวลจนถึงโพสต์วิชวล เราสามารถเปลี่ยนลำดับภาพได้อย่างรวดเร็วเมื่อผู้กำกับหรือทีมโปรดักชั่นมีไอเดียใหม่ๆ และสามารถรวมวิชวลจากแหล่งที่มาต่างๆ กัน เช่น จากฟุตเทจที่ไปถ่ายทำ, จากหุ่นสามมิติที่สร้างขึ้น (3D Models), จาก Photoshop Layers เพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์อย่างที่เราต้องการ

ในเรื่อง Pete’s Dragon นี้ เราใช้ Photoshop CC และ After Effects CC พอสมควรระหว่างการทำวิชวล ผู้กำกับท้าทายเราให้หาทางทำให้เอลเลียตหายตัวและแสดงตัวแบบหลากหลาย เราใช้การเรนเดอร์เลเยอร์ใน Photoshop เพื่อสร้างผลในแบบต่างๆ แล้วเอาไปทำงานต่อใน After Effects

เมื่อการทำพรีวิชวลเสร็จสมบูรณ์ เราใช้ Adobe Illustrator CC เพื่อสร้างไดอะแกรมสำหรับใช้ในการถ่ายทำ ไดอะแกรมนี้จะบอกว่า กล้องควรอยู่ตรงไหน อยู่สูงเท่าไหร่ เคลื่อนกล้องไปทางใด และรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆเพื่อให้ทีมงานใช้ทำงานจริงได้สะดวกขึ้น


อะโดบี: ช่วยเล่าเกี่ยวกับการทำให้มังกรมีชีวิตหน่อยได้ไหม

อะเซเวโด (Creative Art Director ด้านวิชวลเอฟเฟคต์ของ Weta Digital):: ปกติเราคิดว่ามังกรต้องน่ากลัว แต่ในเรื่องนี้เราต้องการสร้างสิ่งมีชีวิตที่สามารถเป็นเพื่อนกับเด็กๆได้ และเมื่อมังกรไม่สามารถพูดได้ เราจึงต้องทำให้มังกรแสดงออกทางอื่น เราออกแบบตัวละครอย่างละเอียดมาก หู ตา และขนถูกทดลองสร้างจนกว่าจะออกมาดูดี เราใช้ Adobe Photoshop CC ในการออกแบบมากจริงๆ ผมสามารถเพิ่มเลเยอร์และใส่เอฟเฟคต์เพื่อสร้างทางเลือกได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อเราต้องการความสมจริง ผมหาข้อมูลจากสิ่งมีชีวิตจริงเพื่อมาใช้สร้างมังกร เช่น ผมรู้ว่าจะมีฉากที่เห็นเท้าของเอลเลียต ผมจึงหาภาพอ้างอิงของเล็บและอุ้งเท้าของสุนัขมาปรับใช้ เพื่อเอามาทำเป็นเลเยอร์อ้างอิงในการสร้างรายละเอียด โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างสรรค์ เพราะว่าคุณสามารถทดลองทำอะไรหลายๆ แบบได้ ก่อนที่จะสรุปเป็นงานชิ้นสุดท้าย

อะโดบี: คุณทำให้ทีมงานและนักแสดงเห็นภาพที่คุณต้องการได้อย่างไร

โลเวอรี่: มีศิลปินจากหลากหลายสาขามาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างงาน คุณต้องทำให้ทุกคนเข้าใจทุกอย่างตรงกัน สำหรับผม โปรแกรมในชุด Adobe Creative Cloud มีส่วนสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อผมต้องการให้ทุกคนเข้าใจว่าผมอยากได้อะไร ถ้าผมอยากได้ช็อตที่รถบรรทุกวิ่งข้ามสะพาน จากนั้นก็เฟดไปเป็นช็อตที่ช่างไม้กำลังแกะสลักไม้ ผมสามารถทำได้ใน Photoshop จากนั้นก็ลากชิ้นงานไปใส่ใน After Effects เพื่อทำแอนิเมชั่น แล้วส่งไฟล์ไปให้ศิลปินที่ Weta Digital แล้วบอกว่า “นี่คือสิ่งที่ผมอยากให้เป็น” การทำแบบนี้ช่วยลดความสับสนและประหยัดเวลาในการสื่อสารไปได้มาก

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ การสื่อสารกับนักแสดงที่ต้องเล่นกับตัวแสดงร่วมที่ไม่มีอยู่จริงอาจจะยากกว่านี้ แต่เมื่อผมสามารถเปิด After Effects แสดงภาพที่ทำการซ้อนตัวละครอนิเมชั่นเข้ามาให้นักแสดงอย่าง Robert Redfort, Bryce Dallas Howard หรือนักแสดงคนอื่นๆ ได้เห็นภาพว่าพวกเขากำลังทำการแสดงกับอะไร และตัวละครแอนิเมชั่นจะตอบสนองอย่างไร มันทำให้พวกเขาเข้าใจและทำการแสดงได้ดี ผมยังใช้ Premiere Pro ตัดต่อสดๆ ได้ ผมชอบตัดต่อระหว่างการถ่ายทำเพราะผมจะได้แน่ใจว่าผมได้ช็อตที่ผมต้องการ Premiere Pro เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผม ใช้งานง่ายและมีความยืดหยุ่น ผมสามารถโหลดฟุตเทจของวันนี้ใส่แล็ปท็อป ตัดต่ออย่างรวดเร็วเพื่อให้มั่นใจว่างานเป็นไปตามแนวทางที่ต้องการ


อะโดบี: ช่วยยกตัวอย่างว่า Premiere Pro ช่วยอะไรคุณได้บ้างระหว่างการถ่ายทำ

โลเวอรี่: มีซีนนึงที่มีตัวแสดงเป็นเด็กสองคนคือ พีทกับนาตาลี ตกมาจากต้นไม้ใหญ่มาก ผมกังวลมากเพราะว่าเด็กสองคนต้องลอยลงมาจากความสูง 75 ฟุต ซีนนี้ต้องมีการผูกเคเบิ้ลและการเตรียมตัวอย่างมาก และคุณมีเวลาแค่ห้าชั่วโมงต่อวันในการทำงานกับเด็กๆ เพราะพวกเขาต้องไปโรงเรียน เวลาการถ่ายทำน้อยกว่าปกติมาก ดังนั้น ประสิทธิภาพคือสิ่งสำคัญ หลังจากการถ่ายทำซีนนั้นสองวัน ผมไม่ค่อยมั่นใจว่าเราได้ทุกอย่างครบตามต้องการแล้วหรือยัง ขณะที่เราเหลือเวลาถ่ายอีกแค่เพียงวันเดียว ผมใช้โปรแกรม Premiere Pro ตัดฟุตเทจทั้งหมดเข้าด้วยกันคร่าวๆ ทำให้ผมรู้ว่ายังมีปัญหาบางอย่างอยู่ มันเยี่ยมมากที่ผมสามารถรู้ได้ว่าเรายังต้องการถ่ายเพิ่มอีกตรงไหนอย่างไรบ้างในอีกหนึ่งวันที่เหลือ และนี่ทำให้เราได้ซีนที่ยอดเยี่ยมโดยที่ไม่ต้องเสียเวลามากกว่าหนึ่งวันในการถ่ายเพิ่ม และไม่ต้องเสียงบประมาณในการถ่ายใหม่


อะโดบี: เห็นภาพตัวเองใช้งาน Adobe Creative Cloud ทำงานในอนาคตหรือไม่

วิทเทเกอร์: สำหรับการทำพรีวิชวล ผมต้องใช้แน่นอน เพราะเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการเตรียมงานภาพยนตร์ จากการทำงานกับโลเวอรี่ ผมพบว่าผมยังสามารถใช้งาน Premiere Pro ได้อีกมากในการถ่ายทำแบบวันต่อวัน ผมกำลังสนับสนุนให้ผู้กำกับคนอื่นๆ ทำแบบเดียวกับที่โลเวอรี่ทำ และใช้ Premiere Pro เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพว่า เมื่อแต่ละซีนมาอยู่ด้วยกันแล้วจะเป็นอย่างไร และใช้ประโยชน์จากมันให้มากที่สุด

ac2b8e284a2ac2b8c2b2ac2b8e280a1ac2b8c2aaac2b8c2b2ac2b8c2a7ac2b8c2a1ac2b8c2b4ac2b9eac2b8sac2b8c2a5 ac2b9c281ac2b8c281ac2b8c2a5ac2b8c2a5ac2b8 Pete’s Dragon ภาพยนตร์จากดีสนีย์ใช้ Adobe Creative Cloud (อะโดบี ครีเอทีฟคลาวด์) เป็นเครื่องมือเบื้องหลังความสำเร็จ

โดย นางสาวมิเชล แกลลินา, ผู้จัดการด้านการตลาดอาวุโสของครีเอทีฟคลาวด์, อาฟเตอร์เอฟเฟ็กต์, คาแร็คเตอร์ แอนนิเมเตอร์

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza