Review : Acer Aspire S7 Ultrabook
Share | Tweet |
Review : Acer Aspire S7
…เรามาต่อกันกับรีวิวของอัลตราบุคบางเฉียบจากค่าย Acer สำหรับโน๊ตบุ๊กระดับพรีเมียมของค่ายนี้อย่าง Aspire S series สุดบางเฉียบเครื่องนี้ ที่บอกได้เลยว่ามีการเปิดตัวไล่เลี่ยกับการเปิดตัวของ Windows 8 อย่าง Acer Aspire S7 พร้อมกับความบางเพียงแค่ครึ่งนิ้วเท่านั้น ตลอดจนจอทัชสกรีนคาปาซิทีฟ ที่เหมือนจงใจทำมาให้เหมาะสมกับการใช้งานร่วมกับ Windows 8 นั้นเองครับ
Processor | Intel Core i5 3317M 1.7 L3 3mb |
Chipset | Intel HM77 |
Memory | 4GB DDR3-1600MHz |
Graphics Adapter | Intel HD4000 |
Display | 13″ 1920*1080px |
Harddisk | SSD 128GB |
Optical Drive | N/A |
Network | Atheros AR5BMD222 |
Connection Port | USB3.0×2 micro HDMI,SD Cardreader |
Battery | UNKNOWN |
Weight | 1.3Kg |
OS Bundled | Microsoft Windows 8 |
…รายละเอียดของเครื่องนั้นก็เรียกได้ว่าจัดเต็มมาให้ในระดับหนึ่งทั้งซีพียู รหัสลงท้ายเลข 7 ตามระเบียบ อัลตราบุค มาพร้อมกับ SSD ขนาด 128GB นอกจากนี้การ์ดไวเรสนั้นเป็นของ Atheros AR5BMD222ที่ในรุ่นนี้รองรับทั้งไวเรส N ในย่าน 2.4 และ 5 GHz ในตัวเดียวกัน ซึ่งเอาจริงๆก็คือโน๊ตบุ๊คประเภทนี้ เรามานั่งมองสเป็คแบบนี้ มันอาจจะไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไรเสียเท่าไหร่ ลองเลื่อนลงมาดูรูปร่างหน้าตาตัวจริงกันดีกว่าครับ
..
…ด้วยรูปลักษณ์ลักษณะที่เน้นความบางเพียงครึ่งนิ้ว ตลอดจนผิวตัวเครื่องฝาด้านบนนี้ก็เป็นแบบผิวกระจกใสๆ เห็นเป็นเลเยอร์สีขาวด้านใน ให้ความรู้สึกที่พรีเมียมสุดๆ ชนิดที่ว่าใครเห็นผมนั่งทดสอบเจ้าเครื่องนี้อยู่ ก็จะมีแต่คนทักว่าเครื่องสวยมากเลยล่ะครับ
เรื่องของความบางดังที่ผมได้กล่าวไปในตอนต้นว่าความหนานั้นอยู่ที่ระดับครึ่งนิ้ว และน้ำหนักเพียง 1.3 กิโลกรัม ทำให้การพกพาทำได้สะดวก เรียกได้ว่า น้ำหนักและความรู้สึก ทำให้รู้สึกว่าเหมือนถือแค่ Tablet บางๆอยู่เครื่องหนึ่งเลยทีเดียว
…การออกแบบโดยรวมๆนั้นผมค่อนข้างชอบมากครับ เพราะดูแล้วเหมือน Acer นั้นจงใจออกแบบให้ S7 ของพวกเขานั้นเหมือนถูกออกแบบมา เพื่อมาใช้งานกับระบบปฏิบัติการ Windows 8 โดยเฉพาะ ไม่ใช่พีซีที่อยู่ในยุคของ Windows 7 แล้วเอามาปรับปรุงติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ ตั้งแต่เรื่องของหน้าจอทัชสกรีน และบานพับจอที่มีสเต็ปความหนืดในการพับอยู่ประมาณหนึ่ง
…หน้าจอที่สามารถเอนพับลงมา 180 องศาได้แบบนี้ ผมเคยเขียนไว้ในหลายๆรีวิวแล้วว่า มันเป็นสิ่งที่โน๊ตบุ๊กดีดี (ที่ออกแบบมาดีดี) เขามักจะมีมาให้กัน และแน่นอนครับใน S7 ก็มีมาให้ บานพับของ S7 ในเครื่องที่ผมได้มานี้นั้นจะมีลักษณะที่จะมีน้ำหนักค่อนข้างเบา(ลื่น) ในช่วงที่กำลังจะยกจากจังหวะปิดสนิท สามารถใช้มือเพียงข้างเดียวยกขึ้นมาได้ และพอยกขึ้นมาได้ราว 30องศา จะเริ่มมีอาการฟืดขึ้นในระดับหนึ่ง และพอถึงระดับ 140องศา ก็จะเริ่มเข้าสู่ความฝืดในอีกระดับหนึ่ง ซึ่งการกางจอแบบนี้ เหมาะมากเลยครับสำหรับการใช้งานจอทัชสกรีน ร่วมกับอินเตอร์เฟส metro ของ windows 8 ในกิจกรรมบางอย่างเช่นอาจจะใช้อ่าน ebooks ในท่าทางที่ไม่ได้วางเครื่องไว้บนโต๊ะ
…การระบายอากาศนั้นเครื่องจะเป่าลมร้อนออกด้านหลัง และดูดลมเย็นผ่านเข้าทางคีย์บอร์ดครับ
…คีย์บอร์ดนี่เป็นสิ่งที่ผมกระอักกระอ่วมที่จะมาเล่าให้ฟังเหลือเกินว่ามันเป็นอย่างไร เพราะว่าจะว่ามันให้ความรู้สึกที่เหมือนว่าเป็น premium ก็ใช่ครับ ทั้งสัมผัสปุ่มที่สวยงาม และเสียงคลิกที่ฟังแล้วเสนาะหูดีเหมือนกัน แต่ว่าปัญหาเรื่องจังหวะการกดที่ค่อนข้่างสั้นเกินไป แบบที่เราเคยพบใน Aspire S3 และ S5 ก็ยังตามมาหลอกหลอนประสาทผมอีกเช่นเคย ส่วนเรื่องของเลย์เอาท์นั้น ผมไม่มีปัญหากับการพิมพ์เอกสาร/พิมพ์แชท ใดๆทั้งสิ้น เลย์เอาท์วางกระจายตัวมาได้ดีสำหรับเครื่องขนาด 13 นิ้วแล้วครับ แต่จนกระทั่งจะต้องมากดปุ่ม Function key เพราะว่าใน S7 ตัวนี้นั้นเอเซอร์ทำการตัดปุ่ม F1-F12 ออกไป เหลือไว้เพียงแค่ปุ่มตัวเลข ซึ่งหากต้องการจะกดปุ่ม F1-F12 จะต้องกด function key ค้างไว้ ซึ่งผมรู้สึกว่า มันไม่ใช่วินโดวส์ มันไม่ใช่วิถีของพีซี ตรงนี้ยังไงก็คงต้องฝากทางเอเซอร์ พิจารณาในรุ่นต่อไป เอาปุ่ม F1-F12 กลับคืนมาด้วยนะครับ
…ทัชแพดนั้นมีขนาดที่ใหญ่พอที่จะสามารถวางนิ้วลงไปได้ 5 นิ้วเพื่อทำการเล่นกับระบบ gesture ในวินโดวส์ ซึ่งจริงๆแล้วตัวหน้าจอก็รองรับ multi touch ได้ถึง 10 จุดเต็มที่อยู่แล้ว แต่การใช้ทัชแพดก็ถือว่าเป็นอะไรที่สะดวกครับในกรณีที่เราขี้เกียจยกแขนขึ้นไปสัมผัสกับจอ การตอบสนองของทัชแพดกับการใช้งานแบบมัลติทัช ถือได้ว่าทำได้รวดเร็วว่องไว และมีอาการพลาดให้เห็นค่อนข้างน้อย แต่สำหรับการใช้งานในแบบการใช้ชี้เคอร์เซอร์ทั่วไป พบว่ายังมีอาการหน่วงๆช้าๆ และการเคลื่อนไหวของเคอร์เซอร์ที่ไม่ค่อยคม และไม่ค่อยเป็น linear เสียเท่าไหร่ครับ
.
…พอร์ตด้านขวามือ มี USB 3.0 มาให้สองพอร์ต และการ์ดรีดเดอร์
ส่วนอีกด้านหนึ่งก็มีพอร์ต Micro HDMI และ Audio jack 3.5mm แบบใช้ได้ทั้งไมโครโฟนและหูฟังในตัวเดียวกัน (สลับกันใช้) และปุ่มเพาเวอร์ ก็ย้ายมาอยู่บริเวณนี้ ซึ่งก็เหมือนเป็นการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานแบบอัลตราบุค ที่เรามักจะไม่ได้กดปุ่มเพาเวอร์กันบ่อยๆ เพราะว่าปกติก็คงจะใช้ฟีเจอร์ sleep และ quick resume กันอยู่แล้วครับ
เครื่องผมชั่งน้ำหนักได้ 1.27 กิโลกรัม ในกระดาษบอกว่า 1.3 กิโลกรัม
น้ำหนักรวมสายไฟชาร์จเครื่องอยู่ที่ 1.575 ถือได้ว่าเบามากเลยทีเดียวครับ ทั้งหมดนี้สามารถจับใส่ใน softcase ถือเดินไปไหนมาไหนได้สบายๆได้ทั้งวัน
Performance
- รายละเอียดเครื่อง
รายละเอียดดูกันให้ชัดเจนสำหรับซีพียู i5 ที่เป็นรุ่นกินไฟต่ำรหัสลงท้ายด้วยเลข 7 เป็น gen3 เรียบร้อยแล้ว
Super PI 1M
เรามาดู Super PI 1M ก็พบว่าตอกเวลาไปที่ 14.9 นับว่าไม่เลวเลยทีเดียวครับสำหรับเครื่องเล็กๆบางๆแบบนี้
Cinebench R10
Ciebench R11.5
คะแนนผลทดสอบ Cinebench ถือว่าทำคะแนนออกมาได้น่าประทับใจตามระดับที่มันควรจะทำได้ เรียกได้ว่าคะแนนระดับนี้ เอาไปใช้งาน productivity ทั่วๆไปได้อย่างไม่ช้าจนน่าหงุดหงิด ตลอดจนเอาไว้เล่นเกมเบาๆได้แน่นอน
AIDA64 Benchmark
CACHE & MEMORY BENCHMARK
DISK BENCHMARK
…ส่วนฮาร์ดดิสก์นั้นตัวโปรแกรมโชว์ว่าเป็น Intel ก็ทำความเร็วออกมาได้เร็วแบบทะลุจอด้วยความเร็วสูงถึงเกือบ 1000MB/s ซึ่งถ้าใครที่ไม่ค่อยได้ดูผลทดสอบฮาร์ดดิสก์ก็อาจจะงงๆ ก็ต้องอธิบายว่า ทุกวันนี้มาตรฐาน SSD ระดับกลางๆทั่วไป มักจะทำความเร็วการอ่านได้ราวๆ 200-400 MB/s กันครับ
Batterry Eater (100-50%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
…การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด 50% และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/acers7/b/11_12_2012_1/Report.html
137 นาที หรือ 2 ชั่วโมง 17 นาที ถือได้ว่าดูน้อยๆไปนิดหนึ่งนะครับสำหรับเครื่องระดับนี้ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ แต่จากการใช้งานจริง ผมทดลองใช้เปิดๆปิดๆบ้าง และหลักๆก็คือใช้เปิดไฟล์ PDF อ่านประกอบกับการบราวซ์เว็บไปเรื่อยๆ พบว่าแบตเตอร์รี่สามารถใช้งานได้นานถึงราว 4 ชั่วโมงกว่าๆเลยทีเดียว
PCMark 05
คะแนน PCmark คะแนนส่วนใหญ่แน่นอนว่ามาจากพลังของฮาร์ดดิสก์ SSD แน่นอนครับ แต่ก็น่าตกใจเหมือนกันที่ปั่นคะแนนจนได้ถึงทะลุหลักหมื่นไปแบบนี้
3Dmark06
3Dmark ก็อยู่ในเกณฑ์ปกติของกราฟฟิค HD4000
3Dmark11
คะแนนของ 3Dmark 11 ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกันครับ
.
…ถึงแม้ว่า Aspire S7 นั้นจะเปิดมาในราคาที่ผมคิดว่าผู้ซื้อโน๊ตบุ๊กวินโดวส์ส่วนใหญ่ไม่น่าจะมองกัน คือที่ระดับ 49900 (สำหรับโมเดลที่รีวิว) แต่มันก็น่าจะเป็นสิ่งที่สะท้อนอะไรหลายๆอย่างได้ครับว่างานออกแบบของคอมพิวเตอร์ฝั่ง PC อย่างเราๆนี้ก็สามารถทำให้ดี และเป็นตัวของตัวเองได้ ไม่ใช่เพียงแค่ Apple เจ้าเดียวเท่านั้นที่สามารถสร้างลายเซ็นประจำตัวของพวกเขาได้ ที่ผมกำลังจะบอกคือ S7 เป็นโน๊ตบุคที่มีดีไซน์ที่ดูดีเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างมาก การใช้งานก็ยืดหยุ่นตามสไตล์ของเครื่องวินโดวส์พีซี คุณสมบัติในฐานะอัลตราบุค ก็เพียบพร้อมทั้งความรวดเร็วในการใช้(ที่มีผลมาจากฮาร์ดดิส SSD ตัวเทพในเครื่องนี้) ความบางเบา ดีไซน์ที่ลงตัว บานพับที่พับได้ 180 องศา จอทัชที่ตอบสนองได้รวดเร็วติดมือดี จะติดข้อเสียเล็กๆน้อยๆก็อย่าการที่ไม่มีพอร์ตแลนมาให้ คีย์บอร์ดที่มีจังหวะการกดที่สั้นเกินไป และทัชแพดที่ยังมีอาการหนืดๆเวลาใช้เลื่อนเคอร์เซอร์ ก็เท่านั้นครับ
.
ขอขอบคุณ Acer