Review : Acer Aspire Timeline 4810TG
Share | Tweet |
Acer Aspire Timeline 4810TG
…Aspire Timeline หลายท่านได้ยินชื่อนี้ คงจะพอคุ้นหูกันอยู่บ้างจากการตลาดที่ค่อนข้างรุกหนักของเอเซอร์ในทุกวันนี้ ที่เราจะเห็นได้ในโฆษนาทีวี ของโน๊ตบุกในซีรียส์นี้ ที่มีจุดขายอยู่ที่ความประหยัดพลังงาน แบตเตอร์รี่ที่ใช้งานได้ยาวนาน และความสะดวกในการพกพา สำหรับวันนี้ ผมก็ได้รับ Aspire Timeline 4810TG ซึ่งเ็ป็นอีกรุ่นหนึ่งของอนุกรม Timeline ที่ใช้ซีพียู SU3500 บวกกับการ์ดจอที่สามารถเลือกได้ระหว่าง Intel GMA และกราฟฟิคแยกชิปออกมาจากชิปเซ็ตที่บริโภคพลังงานมากกว่า แต่ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าอย่าง ATi Radeon HD4330 นั้นเองครับ
…
Processor | Intel Core 2 solo SU3500 (1.4Ghz) L2 3mb |
Chipset | Intel GS45 |
Memory | 4GB DDR3 |
Graphics Adapter | ATi Radeon HD4330 / Intel |
Display | 14″ WXGA (1366×768) |
Harddisk | 320gb 5400rpm SATA2 |
Optical Drive | DVD-RW |
Network | Intel WiFi Link 5100 AGN (IEEE802.11 draft N & B/G) |
Connection Port | 5in 1 cardreader, USBx3, HDMI, VGA, RJ45 |
Battery | 5600mAh |
Weight | 2.0kg (Include Batterry) |
OS | Windows Vista Home Premium |
Aspire Timeline 4810TG รหัส TG นั้น หมายถึงกราฟฟิคที่มีมาให้เป็นทางเลือกสำหรับการใช้งานต่างสถานการกันถึงสองตัว คือ ATi 4330 และ Intel ถ้าเป็นในรุ่นที่มีรหัส T อย่างเดียว จะหมายถึงตัวที่ไม่มีกราฟฟิคของ ATi ติดมาให้ด้วยนั้นเองครับ และสำหรับในวันนี้ เราได้รับ 4810TG ในรุ่นที่ใช้ซีพียูซิงเกิลคอร์ประหยัดพลังงานอย่าง Core 2 Solo SU3500 แต่ยังคงขนาด L2 cache ไว้ถึง 3 mb ด้วยกัน และด้วยแบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่พอสมควรถึง 5600 มิลลิแอมป์ ก็ต้องมาดูกันครับว่า ประสิทธิภาพที่ทำำได้นั้น จะสมกับเป็นอนุกรม Timeline หรือไม่
บอดี้นั้นเป็นลักษณะโลหะ แบบเดียวกับรุ่นอื่นๆในอนุกรม Timeline ตัวเครื่องนั้นเป็นขนาด 14 นิ้ว เท่ากับจอ ไม่เล็ก แล้วก็ไม่ใหญ่เสียทีเดียว แต่ติดที่ว่า มีความบาง จึงทำให้ตัวเครื่องนั้นดูน่าพกพาไปใช้งานนอกสถานที่เลยทีเดียวครับ
สิ่งที่น่าชื่นชมสำหรับ Aspire Timeline ก็คือ บอดี้ที่เป็นลักษณะคล้ายโลหะทีมีความแน่นนาพอสมควร (ย้ำว่าพอสมควร) ไม่ถึงกับหนาปึ้กระดับพวก IBM Thinkpad รุ่นเก่าๆ แต่ก็สร้างความมั่นใจในการพกพาและจับถือได้ดี และที่สำคัญ ผิวไม่มีความมันวาว จึงทำให้เปื้อนเป็นรอยนิ้วมือได้ยากครับ
ถึงแม้ตัวเครื่องจะมีความบางมาก และใช้จอบานพับแบบรูปตัว L(ทำให้กางได้ไม่ถึีง 180องศา) แต่ก็ยังสามารถทำในส่วนของบานพับ และตัวแผ่นจอทั้งหมด ขึ้นรูปออกมาได้สวยงาม และไม่มีอาการสั่นได้โดยง่าย เหมือนกับโน๊ตบุ๊กตัวบางๆหลายๆรุ่นที่มีขายกันอยู่ครับ
คีย์บอร์ดมีการเซาะร่องอย่างสวยงาม เหมือนจะเป็นพิมพ์เขียวเดียวกับ Timeline รุ่นอื่นๆ ซึ่งจะว่าไป มันก็สวยดีครับ แต่ว่าการเซาะร่องแบบนี้ ก็ต้องดูแลในเรื่องความสะอาด ฝุ่นผง มากเป็นพิเศษกว่าแป้นพิมพ์แบบปกตินิดหนึ่ง
Touchpad มีปุ่มเปิดปิด ซึ่งต้องบอกได้เลยว่า ใช้งานได้สะดวก และมีขนาดกำลังดีมากๆ เหมาะสำหรับการใช้งานนอกสถานที่จริงๆครับ
ด้านบนจะเป็นบริเวณปุ่ม Console ของเครืิ่อง จะมีคีย์ลัดสำหรับทำ Backup ระบบ คีย์ลัดเปิดปิด Wireless และคีย์สำหรับสับไปโหมดประหยัดพลังงาน ซึ่งระบบจะเปลี่ยนมาใช้กราฟฟิคออนบอร์ดของ Intel แทนที่ ตัว Radeon 4330 ซึ่งโหมดนี้ จะสามารถกดใช้งานได้ก็ต่อเมื่อถอดสาย AC adapter ออกแล้วเท่านั้นครับ
ถึงแม้จะบางเฉียบ แต่ก็ยังสามารถมี Optical Drive กับเขาได้ โดยเป็น DVD-RW (DL) ธรรมดาๆครับ ไม่มีปุ่ม Eject ในตัว ต้องคอยกดปุ่ม Eject บนคอนโซลด้านบนเครื่อง ใกล้ๆกับลำโพง (อาจมีดีเลย์บ้าง) ส่วนพอร์ตที่เหลือ ก็จะเหลือเพียง USB อีกหนึ่งพอร์ต และ RJ45 สำหรับ Lan เท่านั้น สำหรับพอร์ตทางด้านขวามือ
ด้านซ้ายมือจะมีทั้ง DSUB และ HDMI กับ USB อีกสองพอร์ต ทั้งนี้น่าเสียดายว่า ไม่มี eSATA ไม่งั้นล่ะจะเรียกได้ว่าครบสูตรเลยทีเดียว
การ์ดรีดเดอร์ซ่อนไว้ด้านหน้าของตัวเครื่อง ดังภาพ
ใต้เครื่องก็เช่นเคยครับ ไม่สามารถเปิดฝาได้ ติดสติกเกอร์ ถึงแม้จะเป็นตัวเดโมก็ตาม ยังคงติดสติกเกอร์บังน้อตเอาไว้ 1 ตัว จึงทำให้เราไม่กล้าที่จะเปิดฝาออกมาดูภายในกันครับ
แบตเตอร์ีรี่ขนาด 5600 มิลลิแอมป์ ใหญ่พอสมควร เสป็คเคลมว่าใช้ได้นานสุดถึง 8 ชั่วโมง !!
ขึ้นตาชั่ง น้ำหนักก็ถือว่ากำลังดี ใส่กระเป๋าถือได้ แค่ 2 กิโลกรัม
ดูเหมือนว่าที่ชาร์จแบตจะไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไรครับ กับเครื่องระดับนี้ แต่ถ้าหากจะพกไปด้วยแล้วละก็ แบกน้ำนักเพิ่มอีกประมาณ 4 00 กรัมนะครับ
ทดสอบจอในแต่ละมุมมอง
Super PI 1m
ความเร็วของ Super PI 1m นั้นถือว่าเร็วพอๆกับรุ่นพี่ที่เป็น Dual core อย่าง SU9400 เลยทีเดียว เนื่องจาก Core 2 Solo SU3500 นั้น แทบจะมีพื้นฐานแบบเดียวกันหมดกับ Core 2 Duo เพียงแต่ถูกปิดการทำงานของอีกคอร์หนึ่งไว้ โดยที่ยังคงไว้ซึ่ง L2 ขนาด 3mb จึงทำให้หนึ่งคอร์ที่เหลืออยู่ ทำการประมวลผลได้ดีเหมือนเดิม ในงาน Single thread เช่นนี้
Cinebench R10
.
ตรงนี้จะเริ่มมีผลต่างชัดเจน ว่าเราจะไม่สามารถทดสอบแบบ Multi CPU กับ SU3500 ได้ แต่ว่า Aspire Timeline 4810TG นั้นจะได้เปรียบตรงกราฟฟิค ที่จะได้คะแนนในส่วนของ Open GL มากเป็นพิเศษ อานิสงส์จากกราฟฟิค ATi 4330 ครับ
HDTune Benchmark (Disk Read performance)
อันนี้ต้องขอชมนิดหนึ่ง ว่าฮาร์ดดิสก์จากค่าย WD ตั้งแต่ที่เคยทดสอบมา รู้สึกว่ากราฟจะออกมาสวย และเกือบเร็วที่สุด ในแง่ของ Acess time ในกลุ่ม 5400rpm SATA2 ครับ
Win RAR
Battery Time
ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry eater ด้วย โหมดประหยัดพลังงาน (กราฟฟิคออนบอร์ด อินเทล)
5ชั่วโมง !! (จากแบตเตอร์รี่ 95%)
คลิกเพื่อดูหน้า HTML ของ benchmark ตัวนี้
Synthetic Benchmark
Sisoft Sandra 2009
PCmark05
คะแนน PCmark นี่เป็นปกติที่ซีพียูที่มีแกนประมวลผลมากกว่า จะมีคะแนนสูงครับ เพราะเน้นการทดสอบแบบ Multitask และการ encode ไฟล์วีดีโอต่างๆ
3Dmark06
พลังจาก Radeon HD4330 นั้นส่งผลให้ Aspire Timeline 4810TG มีคะแนนเป็นหัวแถวได้ไม่ยากเลยครับ คะแนนระดับนี้ ถือว่าสามารถคาดหวังการเล่นเกมสามมิติในปัจจุบันได้แบบพอเล่นได้เลยทีเดียว อาจจะต้องปรับความละเอียด และเอ็ฟเฟ็คบางอย่างลดลงไปบ้าง แต่ก็สามารถเล่นได้ด้วยครับ
.
Acer Aspire Timeline 4810TG นับได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊กกลุ่มประหยัดพลังงาน เน้นการใช้งานบนแบตเตอร์รี่ที่ยาวนาน ที่น่าสนใจอีกเครื่องหนึ่งเลยทีเดียว จากแต่ก่อนที่เรามักจะเห็นเครื่องแบบนี้ มีขนาดหน้าจอที่ต่ำกว่า 13 นิ้วลงไป แต่ใน 4810TG ตัวนี้ มีขนาดจอใหญ่ถึง 14 นิ้ว ถึงแม้จะมีขนาดถึง 14 นิ้ว ก็ไม่ทำใหู้รู้สึกเกะกะเหมือนพวกโน๊ตบุกกลุ่มที่เน้น performance มากนัก เพราะด้วยความบางของมัน และข้อดีอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับโน๊ตบุ๊กในกลุ่มประหยัดพลังงานนั้นคือ มีไดร์ฟ DVD-RW ติดตั้งมาให้ในตัว รวมไปถึง บอดี้ที่สวยงามน่าใช้ และดูแข็งแรงดีครับ
ประสิทธิภาพที่ได้จากกราฟฟิค ATi Radeon HD4330 ก็จัดได้ว่าพอที่จะนำมาใช้งานเพื่อความบันเทิง ได้บ้าง เช่น เกม หรือสำคัญที่สุด การเล่นหนัง Hi-def ที่กราฟฟิคจาก ATi นั้นถือได้ว่าเป็นเจ้าแรกๆที่มี Hardware decoder ที่ช่วยลดภาระให้ซีพียู เป็นค่ายแรกๆ จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่า มันจะตอบสนองการใช้งานด้านความบันเทิงได้ไม่แพ้โน๊ตบุ๊กเครื่องใหญ่ๆเลยทีเดียว หากต้องการประหยัดแบต ก็แค่สับมาใช้การ์ดจอออนบอร์ดของ Intel เรียกได้ว่า แรงสั่งได้เลยทีเดียว
น่าเสียดายจุดหนึ่งตรงที่ซีพียูนั้นเป็นซิงเกิลคอร์ Core 2 Solo แต่อย่างไรก็ดี ยังมีรุ่น Dual core ให้เลือกเล่นอีกครับสำหรับอนุกรมนี้ แต่แน่นอนว่า ราคาก็ค่อนข้างกระโดดขึ้นไปมากเช่นกัน สนนราคาของเจ้า 4810TG ตัว SU3500 นั้นอยู่ที่ประมาณ สามหมื่นบาท แต่ถ้าเป็นตัว Core 2 Duo SU9400 นั้น ราคาจะกระโดดไปอยู่ที่ราว 40000 บาทเลยทีเดียว ก็ต้องชั่งน้ำหนักกันดีดีว่ายอมรับได้มั้ยกับซีพียู Single core ณ ชั่วโมงนี้ เพราะถ้านำมาใช้งานพื้นฐานแค่เช็คเมล ทำงานออฟฟิศ ผมคิดว่า ลองลงไปมองตัว 4810T ที่ไม่มีกราฟฟิคแยก จะประหยัดเงินลงไปได้อีกหลายพันเลยทีเดียวครับ
ส่วนข้อเสียอย่างสุดท้าย ที่ผมคิดว่าลูกค้ากลุ่มพนักงานออฟฟิศ อาจจะไม่ชอบกันก็คือ “ไม่มี eSATA” มาให้ เพราะเท่าที่เคยได้ยินได้ฟังมา สมัยนี้ฮาร์ดดิสก์ external ก็ได้มีการเปลี่ยนมาใช้อินเตอร์เฟสแบบ eSATA กันมากพอสมควรแล้วครับสำหรับหน่วยงานใหญ่ๆครับ
.
ขอขอบคุณ
Acer ประเทศไทย