Review : Acer Travelmate TimelineX 8572TG
Share | Tweet |
Acer Travelmate TimelineX 8572TG
…สำหรับวันนี้ก็กลับมาเป็นคิวของโน๊ตบุ๊กอีกรอบครับกับโน๊ตบุ๊กจากค่ายดังที่ฮิตติดตลาดบ้านเรามาเป็นเวลาช้านาน Acer นั้นเอง ซึ่งวันนี้จะมาแปลกสักนิดหนึ่งครับ เป็น Acer จากตระกูล Travelmate ผิดกับที่ปกติเราจะเห็น Acer ใช้ชื่อรุ่นสำหรับโน๊ตบุ๊กตัวเองว่า Aspire โดยในซีรียส์ Travelmate นี้นั้น ตามระดับขั้นของผลิตภัณฑ์โน๊ตบุ๊กของค่ายนี้เขาแล้ว ก็จะหมายถึงโน๊ตบุ๊ก ที่มีเป้าหมายลูกค้าผู้ใช้ เป็นกลุ่มของมืออาชีพ และกลุ่มองค์กรต่างๆ นักธุรกิจ มากกว่าที่จะเป็นผู้บริโภคสินค้าไอทีทั่วๆไป ซึ่งมันจะมีคุณสมบัติที่อาจจะแตกต่างไปจากโน๊ตบุ๊กตลาดทั่วๆไปบ้าง ซึ่งจะเป็นอย่างไร เราลองมาชมกันเลยดีกว่าครับ
Processor | Intel Core i5 560M |
Chipset | Intel HM55 |
Memory | 4GB DDR3-1333MHZ |
Graphics Adapter | NVIDIA GeForce GT330M + Intel HD |
Display | 15.6″ (1366*768) |
Harddisk | 640gb 5400rpm SATA-II |
Optical Drive | DVD-RW |
Network | IEEE802.11N (Broadcom) + Broadcom Gigabit Ethernet |
Connection Port | cardreader, USB2.0 x4, VGA, RJ45, RJ11(Modem) |
Battery | 49Wh |
Weight | 2.4Kg |
OS Bundled | Windows 7 Professional |
..8572TG คือตัวเลขรุ่นของเครือ่งนี้ครับ เลข 8 ตามที่ผมเข้าใจคือจะสื่อถึงว่าเป็น Travelmate TimelineX series ส่วน 5 สื่อถึงจอ 15.6 นิ้ว และ 72 คือชื่อลำดับรุ่น ส่วนรหัส TG สื่อถึงมีกราฟฟิคทั้งแบบอินติเกรตของอินเทล ผนวกกับกราฟฟิคชิปแยกของ NVIDIA ในเครื่องเดียวกัน เพราะถ้าห้อย G อย่างเดียว จะหมายความว่ามีกราฟฟิคชิปแยก T จะสื่อถึงกราฟฟิคอินติเกรตครับ
…ซีพียูและกราฟฟิคชิป ยังคงเป็นของในเจเนอร์เรชั่นเก่าอยู่ครับ อย่าง Core i5 560M และ GeForce GT330M ซึ่งไม่ใช่เรือ่งแปลกในโลกของโน๊ตบุ๊กในระดับที่องค์กรเขาจะซื้อเหมาแบบเป็นโซลูชั่นใช้งานกัน เพราะบางทีอะไหล่บางอย่างมันจะสามารถใช้ร่วมกันได้ง่าย … แต่ถ้าสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ก็เรียกได้ว่า อาจจะไม่ถูกใจเท่าไหร่ ซึ่งจริงๆแล้วดูผลการทดสอบ บอกไว้ก่อนตรงนี้เลยว่า ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่กลัวกันแน่นอน
บอดี้ผิวด้าน ดูเรียบหรู สไตล์โน๊ตบุ๊กระดับนี้ที่มักจะทำกัน คือจะไม่มีลวดลายอะไรหวือหวามาก ดูแลรักษากันง่ายๆ
…ด้วยชื่อชั้นของตระกูล TimelineX ที่ก็น่าจะบอกได้อยู่แล้วครับว่าเน้นการพกพา ถึงตัวเครื่องจะมีขนาดถึง 15 นิ้ว แต่ว่าความหนานั้นอยู่ในระดับที่สามารถบรรจุใส่กระเป๋าเดินทางได้อย่างสบายๆ ด้วยน้ำหนักและกินพื้นที่ไม่มาก สะดวกใช้ได้เลยทีเดียว
บานพับจอก็ทำน้ำหนักได้กำลังดีครับ จอภายในเป็นจอด้านตามสไตล์โน๊ตบุ๊กระดับนี้ เพื่อตอบสนองการใช้งานในทุกๆที่แม้มีแสงสะท้อนมากๆ
คีย์บอร์ดฟูลไซส์ฟิตลงตัวเครื่องจอ 15 นิ้วพอดีๆ วางเลย์เอาท์ให้เอียงไปทางซ้ายมือเล็กน้อย ให้น้ำหนักและความหนักแน่นที่ดีกว่าเครื่องในตระกูล Aspire หลายๆรุ่นเลยทีเดียว แต่ถ้าสำหรับโน๊ตบุ๊กระดับธุรกิจแบบเดียวกันแล้ว ผมว่า Acer ยังไม่ถือว่าโดดเด่นมากนักครับ
บริเวณทัชแพดก็จะพบว่ามีที่สแกนลายนิ้วมือ เพื่อความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของโน๊ตบุ๊กระดับนี้ที่จะต้องมีครับ ทัชแพดใช้งานได้ดีมากๆ ละเอียด และเป็นลิเนียร์ดีใช้ได้ น้ำหนักปุ่มกด ก็เรียกได้ว่าแน่นกว่าเครื่องในตระกูล Aspire อยู่เล็กน้อย ไม่ได้เป็นนัยยะสำคัญอะไรครับ
.
ไม่ใช่ว่าโน๊ตบุ๊กทั่วๆไปจะมีพอร์ตแบบนี้มาให้ครับ Acer จับมันมาไว้ด้านข้างเลยกับ Docking port ไว้สำหรับเสียบเข้าแท่น Docking เพื่อเพิ่มระยะเวลาการใช้งานกับแบตเตอร์รี่ หรือจะเอาไว้เชื่อมต่อพอร์ตเพิ่มเติม เช่น พวก RS232 (Serial) หรือ LPT (Parallel) ที่ในงานทางวิศวกรรม หรือเครื่องสำนักงานเก่าๆที่ยังใช้การกันอยู่ต้องการใช้กัน
ส่วนพอร์ตทั่วๆไปถัดไปทางขวามือจะเป็นพอร์ตสำหรับ Gigabit Ethernet ถัดไปเป็น VGA และ USB ไม่มี HDMI มาให้ครับสำหรับรุ่นนี้
ส่วนด้านนี้ก็จะพบว่ามี USB ให้อีกถึง 3 พอร์ตด้วยกัน และมีคอนเน็กเตอร์แบบ RJ11 สำหรับโมเดมติดมาให้อีกด้วย
ปุ่มเพา เวอร์ตรงนี้ ตอนเปิดเครื่องครั้งแรก ผมกด ๆๆๆ ไม่ติดครับ จริงๆแล้วเขามีเอาไว้ให้เลื่อนไปทางขวามือ ซึ่งถ้ามีเล็บที่ไม่ได้ตัดมาสักสองสัปดาห์แบบผมตอนเทสเครื่อง ก็จะเลื่อนเปิดยากพอสมควร ส่วนด้านใต้สวิช ก็จะเป็นปุ่ม เปิดปิดระบบไวเรส ชัดเจนใช้งานได้ง่ายๆ และปุ่ม eject ถาดของออฟติคัลไดร์ฟใกล้ๆกัน
น้ำหนักรวมแบต 2.434 กิโลกรัม
น้ำหนักรวมสายชาร์จ อยู่ที่เกือบๆ 3 กิโลกรัม ถือว่าพกพาได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
Performance
- รายละเอียดเครื่อง
CPUZ และ GPUZ รายงานรายละเอียดของระบบทั้งหมดครับ การใช้งานกราฟฟิค เนื่องจากเครื่องนี้ไม่ได้ใช้เทคโนโลยี Optimus ของ NVIDIA นะครับ แต่ว่าจะเป็นตัว Switchable graphics ของทาง Acer เอง หลังจากนี้ก็มาลุยกันเลยครับ
WinRAR
ความเร็วออกมา จริงๆแล้วมันก็ไม่ได้ช้าไปกว่า Gen II มากนักนะครับ …
- Cinebench R10
คะแนนของ Cinebench R10 ออกมาดีมากเลยทีเดียวถึงแม้กราฟฟิคชิปและซีพียูจะเป็นของตกยุคอยู่
Ciebench R11.5
ประสิทธิภาพถึงแม้จะเป็นซีพียูใน Generation แรก ก็ไม่ได้ดูแล้วน่าเป็นห่วงครับ ถือได้ว่าทำออกมาได้ดีเสียด้วยซ้ำ
Batterry Eater (100-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
…การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด กราฟฟิคสลับใช้ของ Intel และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
จากผลการทดสอบ 105 นาที ซึ่งผมคิดว่าน่าจะมีปัญหาระหว่างการทดสอบเกี่ยวกับการล็อคความเร็วซีพียูแน่นอนครับ เอาเป็นว่าผลนี้ไว้ดูขำขำไม่ต้องไว้อ้างอิงกับบทความอื่นๆนะครับ
AIDA64 Benchmark
PCmark 05
PCmark คะแนนออกมา ก็ยังถือว่าใช้การได้ดีในยุคนี้อยู่ครับ
3Dmark06
คะแนนแบบนี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะมาจากโน๊ตบุ๊กที่มีมาดขรึมๆดีไซน์เรียบๆแบบนี้เลยทีเดียว
.
.
…ด้วยความที่มันเป็นโน๊ตบุ๊กสำหรับองค์กร ธุรกิจ คุณสมบัติอะไรหลายๆอย่าง ที่เราผู้ใช้ระดับทั่วๆไปอยากจะเห็น มันอาจจะถูกถอดออกไปเยอะแยะหน่อยครับ ด้วยข้อจำกัดของฮาร์ดแวร์ของมันด้วย ซึ่งแต่ละอย่าง มันก็มีเหตุผลอยู่ครับ เพราะว่าเวลาที่เขาซื้อโน๊ตบุ๊กยกล็อตไปใช้กันในองค์กรเนี่ย ซื้อเป็นโซลูชั่น การดูแลรักษา การสลับอะไหล่กัน ก็จะเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วย ดังนั้นเราอาจจะไม่ได้เห็นการอัพเดตเกี่ยวกับสเป็ค ฮาร์ดแวร์ส่วนหลักๆกันบ่อยเหมือนที่เราเห็นโน๊ตบุ๊กในตลาดกำลังเทเปลี่ยนมาเป็น Core i ใน gen ที่ 2 กันสักเท่าไหร่
…แต่ถ้ามองด้วยคุณสมบัติด้านความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการปกป้องข้อมูลด้วยโซลูชั่นของทาง Acer เอง เอาง่ายๆว่าแค่เปิดฝาออกมาก็เห็นกันแล้วครับว่ามีที่สแกนลายนิ้วมืออยู่ตรงทัชแพดด้วย ถ้าหากว่ามองในเรื่องของเสถียรภาพ ความปลอดภัย และบอดี้ที่แข็งแกร่งกว่าโน๊ตบุ๊กทั่วๆไปอยู่เล็กน้อย Travelmate TimelineX 8572TG ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะครับ นอกจากนี้ ดีไซน์ที่บาง กับจอขนาด 15 นิ้ว ที่ดูเหมือนจะไปกันไม่ได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เป็นจุดขายของเครื่องตัวนี้ด้วยเช่นกัน
.
.
ขอขอบคุณ Acer
fgsdfgsdD