Review : Asus N82JQ Notebook & USB 3.0 Performance
Share | Tweet |
Performance
- รายละเอียดจาก CPUZ
...ซีพียู Core i7 620M ทำงานที่ความเร็ว 2.67GHZ พร้อมเทคโนโลยี Turbo boost เข้าไปอีก สิ่งที่ i7 นั้นมีเหนือกว่า i5 ตระกูล 5xx นั้นก็คือเรื่องของขนาด L3 cache ที่มีมากถึง 4mb และ ความสามารถในการควบคุมเมมโมรีที่ความเร็วสูงกว่า ในที่นี้คือ DDR3 1333MHz และกราฟฟิคการ์ดที่ติดมาให้ก็ไม่ธรรมดาเช่นกันครับ เป็น GT335 ที่มี ROP 8 ชุด และ 72Unified shaders พร้อมเทคโนโลยี Optimus ที่ซึ่งจะได้อธิบายอีกครั้งด้านล่างนี้ …(ยกยอดมาจากรีวิวของซัมซุงเลยนะครับ)
…ตัวเครื่องโนตบุก ที่รองรับเทคโนโลยี NVIDIA OPTIMUS นั้น จะเป็นการประสานการทำงานระหว่าง Graphics processor ที่เป็นชิปแยกอย่าง Geforce กับ Graphics processor ภายในตัวซีพียู โดยส่วนใหญ่แล้ว ระบบที่ใช้ Optimus นั้นจะใช้งานแสดงผลผ่าน Graphics processor ภายในซีพียู Intel เป็นหลัก และจะมีการเรียกใช้ชิป Geforce ที่เป็นชิปแยก เมื่อมีการใช้งานในด้านของกราฟฟิค โดยระบบจะทำการเปลี่ยนและสลับการทำงานโดย อัตโนมัติ โดยไม่มีอาการจอภาพมืดดับ ดีเลย์ หรือรีสตาร์ตเครื่อง และนอกจากนี้ ผู้ใช้ก็จะสามารถเลือกใช้งานตัวประมวลผลกราฟฟิคได้เองด้วยเช่นกัน ผิดกับระบบสลับการทำงานของกราฟฟิคที่สมัยก่อนผู้ผลิตโนตบุกจะพัฒนากันเอง ที่การสลับการทำงานของกราฟฟิคนั้นจะยังมีอาการจอภาพมืด ดีเลย์ หรือในบางครั้งต้องการรีสตาร์ตเครื่องด้วย
…ซึ่งผลลัพท์ที่ได้ก็คือ เราจะได้ใช้ Notebook ที่มีทั้งประสิทธิภาพกราฟฟิคที่ดีจากชิปของ NVIDIA ที่ซึ่งอาจจะมีการบริโภคพลังงานที่สูงกว่ากราฟฟิคแบบอินติเกรต และในเวลาที่ต้องการใช้งานแบบแสตนบายกับแบตเตอร์รี่ยาวๆ ก็สลับไปเลือกใช้กราฟฟิคอินตริเกรตเพื่ออัตตราการสิ้นเปลืองพลังงานที่ต่ำกว่านั้นเองครับ
สามารถเลือกใช้งานด้วยการคลิกขวาจากตัวไอคอนของโปรแกรมได้เช่นกัน แต่ต้องไปตั้งค่าเปิดเมนูแบบนี้ใน nvidia control panel เสียก่อน
- Super PI 1m
เข้ามาดูในเรื่องของประสิทธิภาพ ประเดิมด้วย Super PI 1M ก็ซัดไป 13.463 วินาที แรงกว่าโนตบุก 14 นิ้วอยู่หลายรุ่นมากๆแล้ว
- Cinebench R10
คะแนน Cinebench ก็ยังคงแรงมากๆ แรงกว่าโนตบุกมาตรฐานๆสำหรับทุกวันนี้อยู่พอสมควร ในการทดสอบทุกการทดสอบที่เกี่ยวกับพลังในการประมวลผล มาจากการเลือกใช้กราฟฟิค Geforce 310 นะครับ
- Cinebench R11.5
สองแต้มนิดๆ แต่สังเกตคะแนน Open GL นี่ทำออกมาได้ไม่ขี้เหร่เลยนะครับ
Batterry Eater (95-5) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด เลือกใช้กราฟฟิค Integrated และทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียุและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการจริงได้ค่อน ข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/asusn82/b/8_11_2010_1/Report.html
117 นาที หรือ 1 ชั่วโมง 57 นาที ก็ถือได้ว่าทำได้ไม่เลวครับ กับซีพียูแรงๆอย่าง Core i7 620 แต่เอาจริงๆแล้วก็คือกินไฟจุพอสมควร เพราะแบตเตอร์รี่นั้นขนาดก็ไม่ใช่น้อยๆ ใหญ่ถึง 63Wh เลยทีเดียว