Review : Asus Zenbook UX32VD
Share | Tweet |
Review : Asus Zenbook UX32VD
…เมื่อวันก่อนผมได้ทำการรีวิว Zenbook โฉมใหม่ที่ใช้ขุมพลัง Ivy-bridge และมีขนาดจอ 13 นิ้วไปแล้ว มาถึงวันนี้ก็มาถึงคิวของ UX32VD ซึ่งมันคือ Ultrabook ในนาม “Zenbook” จาก Asus อีกรุ่นหนึ่งที่มีขนาดจอ 13 นิ้วเช่นกัน แต่มีน้ำหนักที่มากกว่าเล็กน้อย และมาพร้อมกับกราฟฟิคการ์ด NVIDIA GeForce GT620 ที่มีพลังที่เหนือกว่ากราฟฟิคอินติเกรตภายในตัวซีพียู ประกอบกับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่า (มี SSD + HDD)
Processor | Intel Core i5 3317M 1.7Ghz 3MB L3 cache |
Chipset | Intel HM76 |
Memory | 4GB DDR3-1600MHz |
Graphics Adapter | Intel HD4000 + NVIDIA GeForce GT620 |
Display | 13.3″ 1366*768px |
Harddisk | 500GB 5400RPM + 32GB SSD |
Optical Drive | N/A |
Network | Intel Centrino 6235 |
Connection Port | USB2.0, USB3.0, micro-HDMI,SD/MMC Cardreader |
Battery | UNKNOWN |
Weight | 1.5Kg |
OS Bundled | Windows 7 Home Premium |
…Asus Zenbook UX32VD นั้นถือเป็น Ultrabook จากทาง Asus ที่เป็นโมเดลจอขนาด 13 นิ้ว เช่นเดียวกับ Zenbook prime UX31A โดยสำหรับในตลาดบ้านเราจะถูกวางไว้ให้ขายในราคาที่ต่ำกว่า โดยข้อแตกต่างกันระหว่างตัว Prime กับตัวที่เรากำลังชมกันนี้คือตัว prime จะเป็นรุ่นที่เน้นความบางสุดขีด จะใช้กราฟฟิคการ์ดออนบอร์ด และจะใช้ฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD 128GB และมีจอที่ละเอียดกว่า แต่ในขณะที่ UX32VD จะเน้นความเป็นกลางๆคือใช้กราฟฟิคการ์ด GT620 และฮาร์ดดิสก์จานหมุน 500gb ผนวกกับ SSD เพื่อเพิ่มความเร็ว และมีความละเอียดหน้าจอต่ำกว่าเล็กน้อย
..
…ดีไซน์โดยรวมนั้นส่วนหนึ่งถูกทำมาให้มีลักษณะบางซึ่งหากมองเผินๆจะแยกออกกันยากมากๆครับระหว่าง Zenbook prime กับเจ้า UX32VD นี้
หากสังเกตดีดีจะพบว่าตัวเครื่องมีความหนาและนูนกว่าตัว UX31A เล็กน้อยเท่านั้น หน้าจอก็ยังมีขนาด 13 นิ้วเช่นเดิม แต่ลดความละเอียดลงสำหรับตัวที่ผมได้มารีวิว ซึ่งจริงๆแล้วหากเป็น UX32VD ตัวที่เป็นตัว top จริงๆก็จะมีหน้าจอแบบ Full HD IPS มาให้เล่นเช่นเดียวกับ UX31A ครับ
…คีย์บอร์ด นั้นจะมีลักษณะบางๆแบนๆ กดแล้วจะให้ความรู้สึกว่าจังหวะการกดค่อนข้างสั้น แต่แน่นหนาใช้ได้ดี อาการคลอนมีบ้างแต่ไม่มาก ส่วนเลย์เอาท์ถือว่าทำมาได้พอตัวสำหรับเครื่องขนาด 13 นิ้ว พิมพ์ใช้งานได้ปกติโดยไม่รู้สึกว่ามือถูกบีบ แม้กระทั่งทัชแพดที่มีขนาดใหญ่แต่ก็ไม่ทำให้รู้สึกว่ารบกวนการใช้งาน คีย์บอร์ดเลยแม้แต่น้อย
…ทัช แพดนั้นเป็นแบบ Multi-touch ให้สัมผัสที่ผมบอกได้เลยว่า ดีกว่าโน๊ตบุ๊ก mainstreme หลายๆรุ่นที่ผมเคยสัมผัสมา ปกติแล้วผมจะไม่ prefer ที่จะใช้ multi touch หรือจะเรียกว่า gesture อะไรก็แล้วแต่ ในเครื่องแล็ปท๊อปพีซี แต่สำหรับ Zenbook แล้ว ผมใช้มันจนเพลิน ในการ scroll ขึ้นลงด้วยนิ้วสองนิ้ว และทำ pinch zoom ซึ่งคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า มันใช้งาน คล้ายๆกับเครื่อง Macbook นั้นแหละครับ การตอบสนองของมันทำได้ดีมากๆ ไม่หนืดไม่ดีเลย์ แต่ว่าจะติดช้าไปเสียนิดหนึ่งสำหรับคนที่ชอบเมาส์เคอร์เซอร์ไวๆแบบผม(ซึ่ง สามารถปรับแต่งเอาทีหลังได้) แต่ใครที่เคยชินกับการลากเคอร์เซอร์แบบคนปกติๆ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
.
ด้านหนึ่งจะพบพอร์ต USB3.0 , Micro HDMI และ Mini VGA ที่เวลาใช้งานจริงจะมีตัวแปลงมาให้ รวมไปถึงรูเล็กๆรูด้านนอกสุดจะเป็นช่องสำหรับเสียบไฟ DC เข้าครับ
ด้านนี้จะเป็นสลอตอ่าน SD/MMC/MS และ USB 3.0
…ด้านใต้เครื่องนี้มาแบบโล่งๆเนียนๆเลย สังเกตว่าฝานั้นจะมีลักษณะโหนกนูนขึ้นมามากกว่าตัว Zenbook prime ที่เราเพิ้่งได้รีวิวไปครับ
สติกเกอร์ COA สำหรับ Windows 7 Home premium แบบ OEM จะถูกติดมากับตัวอแดปเตอร์ ใครกลัวโดนตำรวจตรวจก็พก adaptor เอาไว้ก็แล้วกันนะครับ
…อันกลางนั้นคือ micro-HDMI to VGA ส่วนอันซ้ายมือคือการ์ดแลนแบบ USB สำหรับการเชื่อมต่อเน็ทเวิร์คผ่านคอนเน็กเตอร์แบบ RJ45 กับสายทองแดงเกลียวทั่วไป
อะแดปเตอร์สำหรับชาร์จไฟก็ถือว่าน้ำหนักไม่มาก พกพาได้สะดวกพอสมควร น้ำหนักรวมๆอยู่ที่ราว 1.7 กิโลกรัม จริงๆจะมีซองหนังอีก หากมาชั่งรวมกันคิดว่าคงจะหนักกว่านี้ไม่มากนักครับ
Performance
- รายละเอียดเครื่อง
รายละเอียดดูกันให้ชัดเจนสำหรับซีพียู Core i5 ใน ultrabook ที่มีรายละเอียดเชิงเทคนิคเหมือนกับ Core i5 รุ่นมาตรฐานเกือบทั้งหมด (ชุดคำสั่ง แคช บัส) เว้นเสียแต่ความถี่ที่อาจจะต่ำกว่ารุ่นปกติไปบ้าง โค้ดเนมก็โชว์เป็น Ivy-Bridge พร้อมกับกราฟฟิค HD4000 และเมื่อเปิดโปรแกรม GPUZ ก็จะพบกับกราฟฟิค GT620 ที่ทำงานกับระบบ Optimus คอยช่วยสลับการทำงานระหว่างชิปในซีพียูกับตัว GeForce ครับ
Super PI 1M
15 วินาทีนี้ถือว่ายังเร็วกว่าเครื่องยุค Core 2 duo อยู่ระดับหนึ่ง ถึงแม้จะสู้พวก Core i5 i7 รุ่นเต็มๆไม่ได้
Cinebench R10
Ciebench R11.5
คะแนนผลทดสอบ Cinebench ถือว่าทำได้น่าประทับใจเลยทีเดียวครับ โดยเฉพาะ Open GL test ดูแล้วอุุ่นใจขึ้นมากเลยทีเดียว
AIDA64 Benchmark
CACHE & MEMORY BENCHMARK
DISK BENCHMARK
คะแนนส่วนล่างที่ขึ้นหลัก 400mb/s คือของ SSD ส่วนตัวบนนั้นจะเป็นของ HDD 500GB ซึ่งถือว่าตัว HDD ทำความเร็วได้ดีพอสมควรเลยทีเดียว แต่ Acess time ยังถือว่ามากไปเสียหน่อยครับ ควรจะได้สัก 17ms หรือต่ำกว่านั้น
Batterry Eater (100-50%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
…การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด 50% และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/asus-vx32/b/6_8_2012_1/Report.html
184 นาที หรือหากประมาณการใช้งานแบตเตอร์รี่จนถึง 0% โดยการคิดจากอัตตราการเปลี่ยนแปลง ก็จะพบว่า Zenbook สามารถใช้งานได้ยาวนานประมาณ 3 ชั่วโมง 4 นาที กว่าๆเลยทีเดียว ซึ่งการใช้งานในชีวิตจริง หากไม่ได้ทำงานอะไรหนักๆมากนัก ผมคิดว่า 4 ชั่วโมงเป็นน่าจะพอไหวครับ
PCMark 05
คะแนน PCMark ก็ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากเลยทีเดียว
3Dmark06
คะแนนของ 3Dmark ก็เห็นถึงฤทธิ์เดชของ GT620 กันครับว่าถึงจะเป็นรุ่นเล็ก แต่ก็ทำคะแนนมาไล่ๆการ์ดรุ่นราคากลางๆได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
.
… รีวิวนี้โดยรวมๆแล้วผมคิดว่าเหมือนเป็นการทวนซ้ำความมีตัวตน และความเป็นตัวเป็นตนของ Zenbook รุ่นเดิมที่เคยมีมา เพราะภาพรวมการออกแบบของเครื่องนั้น Asus ยังคงอิงแบบเดิมซึ่งผมก็คงจะยังพูดแบบนี้อีกครับ เพราะมันเหมือนกันจริงๆ ต่างกันที่รายละเอียดเชิงเทคนิค สำหรับรีวิวนี้ผมก็ขอสรุปว่า หากใครอยากได้ Zenbook ในราคาที่เบาลงมาหน่อย (34,000 บาท) แต่ก็ต้องแลกมาด้วยน้ำหนักที่มากขึ้นอีกนิด ความหนาอีกหน่อย แต่ได้การ์ดจอและความจุ HDD มากขึ้น ส่วนความเร็วในการตอบสนอง เราก็ยังมีฮาร์ดดิส SSD ลูกเล็กๆติดมาให้สำหรับการทำ cache ต่างๆ ก็คิดว่าไม่น่าจะช้าไปกว่าแบบ SSD ล้วนๆแบบใน UX31A มากนักครับ
,,,แต่อย่างไรก็ดี UX32VD นั้นตัวขายจริงๆอาจจะมีอีกหลาย variant เช่นอาจจะมีรุ่นที่มีจอ Full HD IPS ติดมาให้ หรือจะมีเป็น SSD ล้วนๆก็เป็นได้ แต่ในเบื้องต้นเท่าที่ทราบในบ้านเรา สเป็ค จะเป็นประมาณนี้ครับ
.
.
.
.