Review : Lenovo Ideapad U150
Share | Tweet |
Lenovo Ideapad U150
…สวัสดีครับ ห่างหายไปพอสมควรกับบทความในหมวดของการรีวิวโน๊ตบุ๊ก ซึ่งทุกวันนี้ ผมเองก็รู้สึกว่า ตลาดโน๊ตบุ๊กในปัจจุบันนั้น เกิดมีเทรนด์ใหม่ของโน๊ตบุ๊กในกลุ่มหนึ่งขึ้นมานั้นก็คือ กลุ่มที่เป็น Ultra Portable ที่มีขนาดใกล้เคียงกับ Netbook ซึ่งมักจะมีราคาที่ไม่แพงมากนัก ใช้ซีพียู Pentium Mobile รุ่นใหม่ที่มีโครงสร้างเช่นเดียวกับรุ่น Core 2 แต่ไม่มี Optical drive และวันนี้ผมเองก็มาพร้อมกับโน๊ตบุ๊กใหม่ในกลุ่มที่ว่านี้ จากทางเลอโนโว ซึ่งเป็นรุ่น Ideapad U150 นั้นเองครับ
Processor | Intel Pentium Dualcore Mobile SU4100 (1.3GHz L2 2mb) |
Chipset | Intel GS45 |
Memory | 2GB DDR3-1066Mhz |
Graphics Adapter | Intel Graphics X4500 (Intregrated) |
Display | 11.6″ (1366×768) |
Harddisk | Western Digital 320gb (IDE) |
Optical Drive | N/A |
Network | Intel WiFi Link 5100 AGN (IEEE802.11 draft N & B/G) |
Connection Port | cardreader, USBx3 VGA, HDMI, RJ45, eSATA |
Battery | 5800mAh |
Weight | 1.4kg |
OS | Windows 7 Home Premium |
….ถ้าให้พูดกันตรงๆก็คือ โน๊ตบุ๊กในกลุ่มนี้ เสป็ค ก็คล้ายๆว่าจะลอกกันมาครับ คือมีพอร์ตเชื่อมต่อสมัยใหม่อย่าง HDMI หรือ eSATA มาให้ครบครัน แต่ไม่มีออฟติคอลไดร์ฟ แบตเตอร์รี่ก็มีความจุที่ค่อนข้างจะใหญ่โตสักนิด และก็มีขนาดจอ 11.6 สำหรับใน U150 นั้นรองรับถึงความละเอียดระดับ HD 720P กันเลยทีเดียว
…ความโดดเด่นของ U150 นั้นอยู่ที่ซีพียูที่เลือกใช้เป็น Pentium Dual Core ผิดกับหลายๆรุ่นในกลุ่มนี้ที่เรามักจะเห็นเป็นซีพียูซิงเกิลคอร์ อย่างเช่น Toshiba T110 ที่จะเป็น Pentium เวอร์ขั่น Single core หรือตระกูล Aspire Timeline ของเอเซอร์ ที่มักจะมาเป็น Core 2 Solo แบบซิงเกิลคอร์นั้นเองครับ
ใใใแต่สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของ U150 นั้นก็คือ การ์ดไวเรส ที่ปกติแล้ว โน๊ตบุ๊กที่ไม่ได้รับตรา Centrino นั้นจะใช้เป็นการ์ดไวเรสของ Atheros หรือ Broadcom แต่ใน U150 นั้นเป็นไวเรสจาก Intel WiFi Link 5100 ซึ่งจากประสบการณ์ตรงส่วนใหญ่ จับโน๊ตบุ๊กมาหลายเครื่อง ก็จะพบว่าไวเรสการ์ดของอินเทลนั้น มีความสามารถในการค้นหาสัญญาณ ดีกว่าสองแบรนด์ที่กล่าวมาข้างต้นครับ
ดีไซน์ของตัวเครื่องโดยรวมนั้นเป็นไปตามแบบฉบับของเลอโนโวในศักราชใหม่ครับ คือจากการฟังเสียงของผู้ใช้เกี่ยวกับปัญหาเครื่องผิวแบบ Glossy และแน่นอนครับ สำหรับ U150 ก็เช่นกัน พื้นผิวและลวดลาย เป็นไปในแนวทางเดียวกับตระกูล Y Series คือเป็นสีดำด้าน มีลายเล็กน้อย พร้อมโลโก้ Lenovo สีเงิน แต่ในรุ่นนี้ ไม่มีขอบส้มนะครับ
ความบางสำหรับโน๊ตบุ๊กเครื่องนี้ก็ถือได้ว่าค่อนข้างบางครับ แต่จะมีจุดหนึ่งที่ผมต้องชี้แจงในตอนกลางๆของบทความว่างมันไม่ได้บางและเพรียว อย่างที่คิด
อีกมุมหนึ่งเมื่อแง้มฝาดู
เมื่อกางฝาโน๊ตบุ๊กออกมา ภายในนั้นก็มีการใช้โทนสีไปในโทนสีอ่อน
เลย์เอาท์ของคีย์บอร์ดก็เป็นไปในแนวทางที่ดูแล้วสบายๆ จุดที่น่าจะติก็คงจะมีอยู่จุดเดียวครับคือปุ่ม fn ถ้าใครที่เคยชินกับการใช้งานคีย์บอร์ดของเดสก์ทอพ ก็จะไม่คุ้นกับการที่เอาปุ่ม fn มาแทนที่ปุ่ม CTRL นั้นเองครับ
ทัชแพดเป็นแบบ Multi Touch ใช้งานร่วมกับ Windows 7 ได้ แต่สิ่งที่ผมเกลียดที่สุดในโน๊ตบุ๊กสมัยนี้ ก็คือทัชแพดแบบ Multi Touch นั้นแหละครับ เพราะผมเองยังมีความรู้สึกว่าทัชแพดประเภทนี้ ยังไม่สามารถให้ความแม่นยำได้เท่าที่ควร ผิดกับ Mutli Touch ต้นตำหรับอย่าง Mac book ที่เจ้านั้นทำออกมาแล้ว เรียกได้เลยว่า เอามาใช้งานได้จริงๆครับ
ปุ่มบริเวณของคอนโซลก็มีมาให้แต่ปุ่มเบสิกๆอย่างเช่นปุ่ม Mute หรือ Recovery และเพาเวอร์ รวมไปถึงไฟแสดงผลปุ่ม num lock / capslock/ scroll lock
สิ่งหนึ่งที่ผมอยากบอกคุณผู้อ่านก็คือระนาบของโน๊ตบุ๊กรุ่นนี้นั้น ออกแบบมาค่อนข้างลาดลงไปหาผู้ใช้ สืบเนื่องมาจากแบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่ที่บรรจุอยู่บริเวณใต้ท้องเครื่องนั้นเองครับ ส่วนบานพับน้นก็ยังคงเป็นในรูปแบบของตัว L ซึ่งสามารถกางออกได้ในระดับหนึ่งครับ
ถ้าสังเกตดีดีก็จะเห็นลายฝังบริเวณ Handrest ครับ
พอร์ตด้านซ้ายมือ มีพอร์ต VGA HDMI และ eSATA combo ที่จะมี USB ใช้ร่วมกันอีกพอร์ตหนึ่ง
ส่วนพอร์ตด้านขวามือ มี USB มาให้ทั้งหมดสองพอร์ต พอร์ตสำหรับ GBe Lan และ Audio In/Out นอกจากนี้ก็ยังคงมีสวิชสำหรับเปิดปิดระบบไร้สายของเครื่องอีกด้วย
มาดูทางด้านใต้เราจะสังเกตเห็นบริเวณแบตเตอร์รี่ ที่ปูดออกมาบวกกับรูระบายอากาศบริเวณสลอตแรมและสลอต PCIE ของเน็ตเวิร์คการ์ด
แบตเตอร์รี่ 5100mAh
เปิดให้เห็นกันจะจะ กับการ์ด Wifi จาก Intel
จุดนี้เป็นจุดที่น่าชมเชยอีกจุดหนึ่งคือฝาสามารถเปิดออกมาเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ควรจะเปลี่ยนได้ ได้ทุกชิ้น
1.4 kg
1.75kg รวมสายชาร์จ
มุมมองของจอก็ถือว่าทำได้ดีน่าชมเชยครับในรุ่นนี้
Performance
- รายละเอียดจาก CPUZ
- Super PI 1m
40 วินาทีนิดๆ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติของซีพียูประหยัดพลังงานแบบนี้ครับ
Win RAR Benchmark
- Cinebench R10
นับได้ว่าทดสอบเสร็จเร็วกว่าที่ผมเคยทดสอบโน๊ตบุ๊กกลุ่มประหยัดพลังงานที่ผ่านๆมาครับสืบเนื่องมาจากซีพียู Dual Core
Batterry Eater (96-86%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/lenovou150/b/22_1_2010_1/Report.html
เมื่อดูจากอัตตราการเปลี่ยนแปลงของแบตเตอร์รี่ใน 24 นาที ก็จะได้ว่าแบตเตอร์รี่ของ U150 นั้นมีระยะการใช้งานเฉลี่ย ประมาณ 4 ชั่วโมง
คลิกที่กราฟเพื่อดู HTML ของโปรแกรมทดสอบ
PCmark 05
3Dmark01se
3Dmark06
Lenovo Ideapad U150 ก็เป็นโน๊ตบุ๊ก Ultra portable อีกรุ่นหนึ่งที่เรียกได้ว่าออกแบบมาได้ค่อนข้างดี งานประกอบเนี้ยบ รวมไปถึงมีคุณสมบัติประหยัดไฟ ใช้งานกับแบตเตอร์รี่ได้เวลานาน รวมไปถึงประสิทธิภาพของซีพียู Intel Pentium Dualcore ที่ดีกว่าPentium รุ่นซิงเกิลคอร์ทั่วๆไป กับราคาเปิดตัวตอนนี้เท่าที่ผมทราบมาราคาก็จะอยู่ที่ราวๆ 25000 บาท เพียงเท่านั้นครับ
สำหรับวันนี้ ผมก็ต้องขอลาไปก่อน สวัสดีครับ.
ขอขอบคุณ
Lenovo Thailand