Review : Lenovo Ideapad Y570
Share | Tweet |
Performance
- รายละเอียดเครื่อง
Lenovo Y470 นั้นมาพร้อมกับ Intel Core i7 2630QM ที่มี Hyper Threading ทำให้วินโดวส์มองเห็นซีพียูได้มากถึง 8 Thread ด้วยกัน จัดเต็มด้วย L3 cache 6MB มากสุดๆกว่าพวก i5 รุ่นเล็กๆถึงเท่าตัวเลยทีเดียว รวมไปถึงกราฟฟิคการ์ด GT555 ที่รองรับเทคโนโลยี Optimus ที่จะทำให้สามรถสลับใช้งานการ์ดจอระหว่าง On CPU ของอินเทล หรือจะใช้กราฟฟิคประสิทธิภาพสูงของ NVIDIA ก็ได้เช่นกัน
Super PI 1M
ตอกเวลาไว้ที่ 13.198 วินาที ถือว่าเบสิกๆสำหรับซีพียู SandyBridge บนเดสก์ทอพ แต่ถ้าพูดถึงโน๊ตบุ๊ก นี่คือแทบจะเป็นหัวแถวแล้วครับ
WinRAR
ความเร็วพุ่งเอาๆเลยทีเดียว
- Cinebench R10
คะแนนของ Cinebench R10 คะแนนก็ออกมาเรียกได้ว่าสูงมากๆ แต่เมื่อเทียบกับตัวกราฟฟิคการ์ด GT550 นั้นก็ถือได้ว่าสูงกว่ากันไม่มากนักครับ
Ciebench R11.5
สังเกตคะแนน OpenGL ดีดีครับ ว่า GT555 ทรงพลังมากแค่ไหน ปกติการ์ดระดับล่างๆหรือของอินเทลเอง ได้อย่างเก่งก็ไม่เกิน 10fps ครับ
Batterry Eater (100-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
…การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด ใช้การ์ดจอออนซีพียูของอินเทล และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/lenovoy570/b/29_6_2011_1/Report.html
จากผล การทดสอบ เหลือเพียง 77 นาทีเท่านั้น นับได้ว่าจอ 15 นิ้วนั้นต้องใช้กำลังไฟในการส่องสว่างแบกไลท์มากกว่าเครื่อง 14 นิ้วอยู่โขเลยทีเดียวครับ
Temperature (Torture Test)
…ทดสอบในห้องปรับอากาศควบคุมที่ 25องศาเซลเซียส เป็นเวลาราว 10 นาที ด้วยโปรแกรม Prime95 (small FFT) เพื่อทำให้ซีพียูทำงานแบบ Full load เปิดคู่กับโปรแกรม Furmark เพื่อเปิดการทำงานของกราฟฟิคชิปให้เป็น full load ซึ่งการทดสอบในสภาพแวดล้อมแบบนี้อาจจะไม่ทำให้ซีพียูมีความร้อนสูงสุดเนื่องจากมี Furmark มากวน แต่ก็จะทำให้ระบบโดยรวมนั้นมีความร้อนสูงทีสุด เพราะ Furmark จะช่วยสร้างโหลดและความร้อนให้กับตัวกราฟฟิคชิป แทนที่จะให้มีโหลดที่ตัวซีพียูเพียงอย่างเดียว
…จริงๆแล้วผมไม่อยากให้เอาเรื่องการทดสอบนี้มาเป็นนัยยะสำคัญมากนักครับ แต่เห็นมีคนเรียกร้องกันมาเลยลองทำการทดสอบให้ดูกัน กล่าวคือผมมองว่า โน๊ตบุ๊กเครื่องหนึ่งนั้นออกแบบมาสำหรับการทำงานที่ความร้อน ที่มันสามารถทนได้ด้วยระบบระบายความร้อนเดิมๆของผู้ผลิตอยู่แล้ว แต่การทดสอบจะแสดงให้เห็นว่า ระบบระบายความร้อนเดิมนั้น มีประสิทธิภาพในการนำเอาความร้อนออกจากระบบได้เร็วแค่ไหน แต่จะไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเสถียรในการใช้งานในชีวิตประจำวันมากนัก
คลิกดูรูปใหญ่ได้
จากการทดสอบ Y570 นั้นก็ถือได้ว่าสามารถทำผลงานได้ดี อุณหภูมิของซีพียูทั้ง 4 แกน อยู่ในระดับ 70-76 องศา เท่านั้น กับกราฟฟิคชิปก็ป้วนเปี้ยนอยู่ที่ไม่ถึง 80 องศาดี