Review : Lenovo Ideapad Y570

, / บทความโดย: Northbridge , 19/07/2011 01:11, 6,089 views / view in EnglishEN
«»
Share

1310701879DSC 0863 Review : Lenovo Ideapad Y570

Lenovo Ideapad Y570

เมื่อหลายวันก่อนผมได้เอารีวิวของ Ideapad Y470 ขึ้นไป พร้อมกับเสียงฮือฮาเล็กน้อย ถึงความแรงและความคุ้มค่าต่อราคาค่าตัวของมัน ซึ่งแน่นอนครับว่า Ideapad Y series นั้นเป็นโน๊ตบุ๊กที่โดดเด่นในเรื่องของการใช้งานด้านบันเทิง และเกม ที่มีจุดแข็งเรื่องราคาขายมานานตั้งแต่สมัยก่อนอยู่แล้ว Y570 ก็เช่นเดียวกับ Y470 ครับ ภายใน มีรายละเอียดทางด้านเทคนิคที่คล้ายกันแทบจะทุกอย่าง ผิดที่ 570 จะเป็นจอ 15 นิ้ว กราฟฟิคชิปนั้นจะเป็น GT555M (ในขณะที่ 470 เป็น GT550) รวมไปถึงดีไซน์ และการออกแบบ ก็มาในแบบฉบับของ Yx70 แบบยุคนี้เหมือนๆกันราวกับเป็นตัวโคลนที่ถูกฉีดซิลิโคนให้ตัวพองโตขึ้นเป็นจอ 15 นิ้วของ Y470 เลยทีเดียว

Processor Intel Core i7-2630QM
Chipset Intel HM67
Memory 4GB DDR3-1333MHZ
Graphics Adapter NVIDIA GeForce GT555M (Optimus)
Display 15.6″ 1366×768 (Glare) LED
Harddisk 750GB 5400RPM SATAII
Optical Drive DVD-RW
Network Intel WiFilink 1000BGN
Connection Port cardreader, USB3.0 x2,USB 2.0×1, VGA,HDMI, RJ45,eSATA
Battery 58Wh
Weight 2.7kg
OS Bundled DOS

evin Review : Lenovo Ideapad Y570

..รายละเอียดทางเทคนิคต่างๆมากันแบบครบๆ และจัดเต็มด้วยการ์ดจอ GeForce GT555M ผนวกกับซีพียูควอดคอร์อย่าง Core i7 2630QM รวมไปถึงการ์ดแลนจากอินเทลแท้ๆอย่าง WiFilink 1000BGN เรียกได้ว่าเลือกใช้คอมโปเนนท์ที่มีคุณภาพเช่นเดียวกันกับ Y470 จุดอ่อนอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าจะให้มาได้แล้วสำหรับเครื่องขนาดใหญ่แบบนี้ก็คือฮาร์ดดิสก์ ที่ยังคงเป็น 5400RPM ทุกวันนี้เครื่องไซส์ 15 นิ้วที่เน้นความแรงส่วนใหญ่ก็จะใส่มาเป็น 7200RPM กันหมดแล้ว

1 Review : Lenovo Ideapad Y570

บอดี้นั้นดูๆแล้วค่อนข้างสะดุดตากับดีไซน์ที่มีการแฝงเอา Texture ไว้ในลาย เมื่อส่องกับแสงไฟจัดๆ

2 Review : Lenovo Ideapad Y570

ตัวบอดี้ภายนอกผมเข้าใจว่าเป็นวัสดุที่คล้ายกับโลหะสักประเภทหนึ่ง เพราะเวลาที่เปิดแอร์เย็นๆ จับที่ผิวแล้วจะให้ความรู้สึกเย็นๆเหมือนเหล็กเลยทีเดียว

3 Review : Lenovo Ideapad Y570

ภายในเปิดออกมาก็จะพบกับโทนสีสไตล์เมทัลลิกติดโทนส้ม และให้สัมผัสที่คล้ายกับวัสดุโลหะ ทำให้รู้สึกหนักแน่นมากยิ่งขึ้น

4 Review : Lenovo Ideapad Y570

คีย์บอร์ดใน Y570 นั้นก็จะมีการใช้ปุ่มลักษณะเว้าลงเพื่อรองรับกับสรีระปลายนิ้วของคนทั่วไป Lenovo เรียกมันว่า Accu Keyboard ที่จะมีลักษณะเว้าลงไปตรงกลาง ทำให้ได้สัมผัสที่แม่นยำและลดการพิมพ์ผิดได้มากขึ้น รวมไปถึงน้ำหนักการกดปุ่มที่มีการปรับปรุงมาได้ค่อนข้างดี แต่ผมว่ายังไม่หนักแน่นเท่ากับระดับ Thinkpad แต่สำหรับโน๊ตบุ๊กระดับนี้ ถือได้ว่าโอเคเลยทีเดียวครับ ที่จะแตกต่างจาก Y470 นั้นก็คือด้วยความที่มันมีขนาดเครื่องใหญ่กว่า จึงสามารถบรรจุเอา numpad มาไว้ให้ได้ ซึ่งก็ทำให้การเล่นเกมหลายๆเกมนั้นสะดวกมากขึ้น ไม่ต้องต่อคีย์บอร์ดเสริมแต่อย่างใด

5 Review : Lenovo Ideapad Y570

ลำโพงเสียงคุณภาพดีเลยทีเดียว การันตีด้วยตรา JBL คงไม่ต้องถามอะไรกันต่ออีกแล้วครับ

6 Review : Lenovo Ideapad Y570

ทัชแพดมีการออกแบบมาให้ลงตัวกับตัวเครื่อง ปุ่มกดนั้นจะออกแนวแข็งๆไปสักนิดครับ ประกอบกับดีไซน์ที่เป็นปุ่มแท่งเดียวยาวไป จึงทำให้คลิกได้ไม่ค่อยสะดวกนัก แต่ในส่วนของทัชแพดนั้นมีดีที่สามารถใช้ scroll ได้ตรงขอบด้านขวา ขอบอกว่า scroll ง่ายมากๆ ส่วนความแม่นยำก็จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี และเซ็ตความไวมาในระดับที่พอดีแล้ว (ในเครื่องทดสอบ)

.

————————————————–

7 Review : Lenovo Ideapad Y570

ด้านขวามือจะมีช่องระบายความร้อนที่เราจะเห็นฮีทซิงค์ทองแดงขนาดใหญ่ ประกอบกับพอร์ตเชื่อมต่อที่เรามักจะเสียบแช่ไว้กันอย่าง VGA, HDMI, RJ45(LAN) , eSATA และ USB2.0

8 Review : Lenovo Ideapad Y570

หันมาทางด้านนี้ก็จะพบกับ USB3.0 อีกสองช่อง และไดร์ฟ DVD-RW

9 Review : Lenovo Ideapad Y570

ด้านหน้าก็จะมีสวิชสีเงินที่มีไว้สำหรับสลับการทำงานของระบบ Optimus เพื่อสลับการ์ดจอไปมาระหว่าง Intel และ GeForce รวมไปถึงการ์ดรีดเดอร์สำหรับการ์ดตระกูล SD/MMC

10 Review : Lenovo Ideapad Y570

แบตเตอร์รี่ขนาด 62Wh ถือว่าค่อนข้างใหญ่เลยทีเดียว

11 Review : Lenovo Ideapad Y570

ภายในก็จะพบกับระบบระบายความร้อนฮีทไปป์สองเส้นแยกกันระหว่างซีพียูกับชิปกราฟฟิค

12 Review : Lenovo Ideapad Y570

น้ำหนักผมชั่งรวมแบตได้ 2.73 กิโลกรัม

13 Review : Lenovo Ideapad Y570

เมื่อรวม Adaptor นั้นก็จะหนักถึง 3.2 กิโลกรัม

————————————————–

Performance

- รายละเอียดเครื่อง

cpuz Review : Lenovo Ideapad Y570

Lenovo Y470 นั้นมาพร้อมกับ Intel Core i7 2630QM ที่มี Hyper Threading ทำให้วินโดวส์มองเห็นซีพียูได้มากถึง 8 Thread ด้วยกัน จัดเต็มด้วย L3 cache 6MB มากสุดๆกว่าพวก i5 รุ่นเล็กๆถึงเท่าตัวเลยทีเดียว รวมไปถึงกราฟฟิคการ์ด GT555 ที่รองรับเทคโนโลยี Optimus ที่จะทำให้สามรถสลับใช้งานการ์ดจอระหว่าง On CPU ของอินเทล หรือจะใช้กราฟฟิคประสิทธิภาพสูงของ NVIDIA ก็ได้เช่นกัน

Super PI 1M

pi1m Review : Lenovo Ideapad Y570

ตอกเวลาไว้ที่ 13.198 วินาที ถือว่าเบสิกๆสำหรับซีพียู SandyBridge บนเดสก์ทอพ แต่ถ้าพูดถึงโน๊ตบุ๊ก นี่คือแทบจะเป็นหัวแถวแล้วครับ

WinRAR

rar Review : Lenovo Ideapad Y570

ความเร็วพุ่งเอาๆเลยทีเดียว

- Cinebench R10

cb10 Review : Lenovo Ideapad Y570

คะแนนของ Cinebench R10 คะแนนก็ออกมาเรียกได้ว่าสูงมากๆ แต่เมื่อเทียบกับตัวกราฟฟิคการ์ด GT550 นั้นก็ถือได้ว่าสูงกว่ากันไม่มากนักครับ

Ciebench R11.5

cb11 Review : Lenovo Ideapad Y570

สังเกตคะแนน OpenGL ดีดีครับ ว่า GT555 ทรงพลังมากแค่ไหน ปกติการ์ดระดับล่างๆหรือของอินเทลเอง ได้อย่างเก่งก็ไม่เกิน 10fps ครับ

Batterry Eater (100-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน

การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด ใช้การ์ดจอออนซีพียูของอินเทล และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง

Discharge Review : Lenovo Ideapad Y570

http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/lenovoy570/b/29_6_2011_1/Report.html

จากผล การทดสอบ เหลือเพียง 77 นาทีเท่านั้น นับได้ว่าจอ 15 นิ้วนั้นต้องใช้กำลังไฟในการส่องสว่างแบกไลท์มากกว่าเครื่อง 14 นิ้วอยู่โขเลยทีเดียวครับ

Temperature (Torture Test)

ทดสอบในห้องปรับอากาศควบคุมที่ 25องศาเซลเซียส เป็นเวลาราว 10 นาที ด้วยโปรแกรม Prime95 (small FFT) เพื่อทำให้ซีพียูทำงานแบบ Full load เปิดคู่กับโปรแกรม Furmark เพื่อเปิดการทำงานของกราฟฟิคชิปให้เป็น full load ซึ่งการทดสอบในสภาพแวดล้อมแบบนี้อาจจะไม่ทำให้ซีพียูมีความร้อนสูงสุดเนื่องจากมี Furmark มากวน แต่ก็จะทำให้ระบบโดยรวมนั้นมีความร้อนสูงทีสุด เพราะ Furmark จะช่วยสร้างโหลดและความร้อนให้กับตัวกราฟฟิคชิป แทนที่จะให้มีโหลดที่ตัวซีพียูเพียงอย่างเดียว

จริงๆแล้วผมไม่อยากให้เอาเรื่องการทดสอบนี้มาเป็นนัยยะสำคัญมากนักครับ แต่เห็นมีคนเรียกร้องกันมาเลยลองทำการทดสอบให้ดูกัน กล่าวคือผมมองว่า โน๊ตบุ๊กเครื่องหนึ่งนั้นออกแบบมาสำหรับการทำงานที่ความร้อน ที่มันสามารถทนได้ด้วยระบบระบายความร้อนเดิมๆของผู้ผลิตอยู่แล้ว แต่การทดสอบจะแสดงให้เห็นว่า ระบบระบายความร้อนเดิมนั้น มีประสิทธิภาพในการนำเอาความร้อนออกจากระบบได้เร็วแค่ไหน แต่จะไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเสถียรในการใช้งานในชีวิตประจำวันมากนัก

temps Review : Lenovo Ideapad Y570

คลิกดูรูปใหญ่ได้

จากการทดสอบ Y570 นั้นก็ถือได้ว่าสามารถทำผลงานได้ดี อุณหภูมิของซีพียูทั้ง 4 แกน อยู่ในระดับ 70-76 องศา เท่านั้น กับกราฟฟิคชิปก็ป้วนเปี้ยนอยู่ที่ไม่ถึง 80 องศาดี

————————————————–

AIDA64 Benchmark

CACHE & MEMORY BENCHMARK

ev01 Review : Lenovo Ideapad Y570

DISK BENCHMARK

ev02 Review : Lenovo Ideapad Y570

CRYSTALDISK MARK

ev03 Review : Lenovo Ideapad Y570

————————————————–

PCmark 05

pcm05 Review : Lenovo Ideapad Y570

PCmark คะแนนออกมาผมคิดว่าคะแนน HDD นั้นน่าจะเป็นตัวฉุดไว้ให้คะแนนมันไม่สูงมากนัก แค่เจ็ดพันกลางๆ แต่คะแนนด้านอื่นๆก็ถือว่าใช้ได้ครับ

3Dmark06

06 Review : Lenovo Ideapad Y570

คะแนน 3Dmark เห็นแล้วชื่นใจ เกือบแตะหมื่นแต้มไปอีกแล้ว !

.

.


ผลสรุปของ Y570 ผมก็ยังคงยืนยันคำเดิมดังที่ผมเคยกล่าวไปในรีวิวของ Y470 ครับ ว่ามันเป็นโน๊ตบุ๊กที่มีความแรงเกือบจะแรงที่สุด ในระดับราคาไล่เลี่ยกันของมันแล้ว ทั้งกราฟฟิคการ์ดระดับกลางสูง อย่าง GT555M และซีพียูควอดคอร์ SandyBridge ระดับสูงอย่าง Core i7 ภาพรวมการออกแบบต่างๆก็ถือได้ว่าทำได้ดี จะติดก็ที่ว่าอาจจะซดแบตเตอร์รี่ให้หมดไปอย่างรวดเร็วไปเสียหน่อยเนื่องมาจากจอมีขนาดใหญ่ และสว่างพอสมควร

สไตล์การออกแบบก็ดูมีเอกลักษณ์แฝงอยู่นิดๆ ไม่เชยและไม่หลุดโลกจนเกินไป งานประกอบถือได้ว่าเรียบร้อยกว่า Lenovo ในโมเดลซีรียส์ที่ถูกกว่านี้มากพอสมควร ราคาแค่ 34500 บาท ได้ซีพียู การ์ดจอ กับลำโพงดีดีขนาดนี้ ไม่คุ้มก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรแล้วครับ แต่ก็ต้องอย่าลืมครับว่า โน๊ตบุ๊กแต่ละเครื่องก็จะเหมาะกับบุคลิกของคนที่แตกต่างกันไป ก่อนที่จะตัดสินใจอะไร ให้ไปลองใช้ลองสัมผัสดูก่อนว่าชอบงานออกแบบไหม อย่าคิดแต่จะเอาสเป็คที่แรงที่สุด ดีที่สุด เพราะมันไม่ใช่ทั้งหมด สำหรับโน๊ตบุ๊กสักเครื่องครับ

.

.

ขอขอบคุณ Lenovo

จากการพิจารณาถึงความสามารถ ประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊กในกลุ่มระดับราคาและขนาดใกล้เคียงกันแล้ว ผมยังคงขออ้างอิงถึงรางวัลที่เคยได้ให้ไปใน Y470 เดิม และถือเป็นการให้รางวัลควบคู่กันไป กับ Best Performance สำหรับ Y570/470 จาก Lenovo ครับ

vmod award performance best Review : Lenovo Ideapad Y570



fgsdfgsdD

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 5 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»