Review : Toshiba Satellite L640 (AMD Turion II P520)
Share | Tweet |
Toshiba Satellite L640
…สวัสดี ครับ สำหรับช่วงนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นช่วงของการรีเฟรชตลาดโน๊ตบุ๊ก กับโน๊ตบุ๊กรุ่นล่าง ระดับราคา 18000-2xxxx จอประมาณ 14 นิ้ว กันค่อนข้างบ่อยสักหน่อย เพราะขณะนี้ผมตั้งข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งครับ ว่าผู้ผลิตค่ายดังหลายๆค่ายก็เริ่มหันมาใส่ใจในเรื่องของคุณภาพงานประกอบ และความคุ้มค่ากับโน๊ตบุ๊กกลุ่มนี้กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง Toshiba นั้นก็ไม่น้อยหน้าใครครับ ส่ง L series ลงมาต่อยอดความสำเร็จจากเดิมที่ L510 เคยทำออกมาประสบความสำเร็จไม่แพ้แบรนด์ดังจากไต้หวันหลายๆแบรนด์ ก่อนอื่นก่อนใด ก็ลองมาดูเสป็คเบื้องต้นของ L640 เครื่องที่เราได้รับมาในวันนี้กันดีกว่าครับ
Processor | AMD Turion II X2 P520 (2.3Ghz 1×2mb of L2 cache) |
Chipset | AMD RS880M+SB820M Chipset |
Memory | 2GB DDR3 |
Graphics Adapter | ATi Radeon HD5145 |
Display | 14.0″ (1366×768) |
Harddisk | 500gb 5400rpm SATA-II |
Optical Drive | DVD-RW |
Network | Broadcom (IEEE802.11 B/G/N) |
Connection Port | cardreader SD/MMC, USBx3, VGA, HDMI, eSATA, RJ45 |
Battery | 4200mAh |
Weight | 2.17kg |
OS | DOS |
ตัว L640 ที่เราได้รับมานั้นเป็นรุ่นที่มี option และเสป็คที่ให้มากลางๆครับ โดยซีพียูนั้นเป็นของทางค่าย AMD Turion II X2 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของซีพียูโมบายล่าสุดของ AMD อธิบายคร่าวๆคือเป็นซีพียูโครงสร้าง K10 แบบในเดสทอพ แต่ตัด L3 cache ออกไป และในบางรุ่นจะมีการขยาย L2 cache จาก 512kb ต่อคอร์ เป็น 1024kb ต่อคอร์ ดังเช่นในรุ่น P520 ที่อยู่ในเครื่องโตชิบ้าเครื่องนี้นั้นเองครับ ซึ่งเรื่องเทคนิคอื่นๆนั้นก็ถือว่าธรรมดาๆไม่มีอะไรหวือหวาครับ ตั้งแต่กราฟฟิคจาก AMD ซึ่งเป็นชิปแยกจากตัวชิปเซ็ตออกมา เป็น HD5145 และไวเรสการ์ดจาก Broadcom รองรับถึงมาตรฐาน N
ดีไซน์โดย ทั่วไปนั้นออกมาในแนวของ Toshiba DNA ในปัจจุบันครับ ถ้าใครเคยเห็น M500 ก็คงจะร้องอ๋อ แล้วก็อาจจะพาลคิดไปเล่นๆว่า L640 เครื่องนี้คือ M500 เพราะหน้าตามันช่างละม้ายคล้ายคลึงกันมากเลยทีเดียว
แต่ความหนานั้น เรียกได้ว่าบางกว่าตัวรุ่นใหญ่อย่าง M500 อยู่พอสมควรเลยทีเดียว
หน้าจอเมื่อกางจนสุด
คีย์บอร์ด เป็นปุ่มพลาสติกสากๆ แต่ให้สัมผัสที่เรียบร้อยและมั่นคงดีมากครับ เลย์เอาท์คงจะไม่มีปัญหาอะไรกับเครื่องจอใหญ่ถึง 14 นิ้วแบบนี้ การออกแบบโดยทั่วๆไปแล้วแทบจะไม่น่าเชื่อเลยครับว่าเป็นโน๊ตบุ๊กราคาถูก เพราะทำออกมาได้ดีไม่แพ้รุ่นพี่อย่าง M500 เลย
ทัชแพดมี ปุ่มเปิดปิด กันการรบกวนขณะใช้งานพิมพ์บนแป้นคีย์บอร์ดเป็นเวลานานๆ ส่วนสัมผัสทัชแพดนั้นจะเป็นผิวสากๆแต่ไร้ขอบ ดูสวยไปอีกแบบ ทัชแพดสามารถใช้งานแทนเมาส์ได้ค่อนข้างแม่นยำดี ไม่มีอะไรกวนใจนักครับ
มาดูที่ พอร์ตเชื่อมต่อกันบ้างครับ L640 ก็ให้พอร์ตมาแบบครบๆพร้อมใช้งาน ทั้งหัวต่อสำหรับหัวต่อ RJ45 สำหรับ Gigabit lan ถัดมาเป็นช่องสำหรับHDMI และ USB อีกสองพอร์ตซึ่งพอร์ตหนึ่งตรงนั้นก็จะเป็น Combo port ที่สามารถใช้งาน eSATA ได้ด้วย ส่วนเอาดิโอนั้น ก็มีมาให้แค่ In/Out แค่นั้นครับ
อีกด้านหนึ่งจะเป็นทีอ่ยู่ของไดร์ฟ DVD-RW , USB 2.0 และช่องสำหรับต่อ VGA อ้อ ช่องไฟ DC in ก็อยู่ทางด้านนี้ด้วยครับ
ลองมุดดูใต้เครื่องก็จะพบว่าฝานั้นสามารถถอดออกมาเปลี่ยนอุปกรณ์ได้ค่อนข้างมากและง่ายดาย ด้วยไขขวงแฉกเพียงด้ามเดียว
เปิดออกมา ก็จะพบกับเมมโมรีแบบ DDR3 ที่มีสลอตว่างมาให้อีก 1 การ์ด Wireless NIC และฮาร์ดไดรืฟแบบ SATA II ครับ ซึ่งผมคิดว่าเราก็คงจะไม่ต้องอัพเกรดอะไรไปมากกว่านี้แล้วล่ะ
มาดูที่แบตเตอร์รี่ ขนาดใหญ่ แต่ความจุน้อยไปนิด แค่ 4200 มิลลิแอมป์ชั่วโมง
น้ำหนักรวมแบต 2.17 กิโลกรัม
รวม AC adaptor แล้วก็จะหนัก 2.57 กิโลกรัม ซึ่งก็ถือได้ว่ายอมรับได้สำหรับการพกพาทั่วไป
จอให้ความละเอียดระดับ 720P และสีสันค่อนข้างดี สังเกตด้วยสายตาคร่าวๆก็พบว่าสีเที่ยงตรงและสวยงามดีครับ
มุมมองด้านข้างก็ทำได้ดีมาก แทบหาจุดบอดไม่เจอเลย
พับลงมาก็ไม่เลว ยังสว่างๆอยู่
พอมุมเงยก็มีมืดบ้าง
Performance
- รายละเอียดจาก CPUZ
...ผม ได้อธิบายไปในตอนต้นของบทความแล้วนะครับว่า Turion II X2 ตัวนี้ใช้โครงสร้างแบบ K10 และมี L2 cache ขนาด 1024kb ทั้งหมดสองก้อนด้วยกันสำหรับซีพียู 2 core อีกอย่างหนึ่งที่เราจะมาดูกันนั้นก็คือกราฟฟิคการ์ดแบบชิปแยก ATI Radeon HD5145 ซึ่งเป็นน้องเล็กสุดจากตระกูล HD 5xxx ซึ่งประสิทธิภาพก็จะดีกว่ากราฟฟิคออนบอร์ดที่น่าจะยังคงเป็นซีรียส์ 4อยู่ แน่นอนแต่คงไม่มากนัก เพราะเมมโมรีที่ใช้ยังคงเป็นแบบ DDR3 64bit ขนาด 512mb อยู่ครับ แต่เชื่อได้เถอะครับว่ากราฟฟิคแค่นี้ ก็เรียกได้ว่าเหลือเฟือแล้วสำหรับการใช้งานออฟฟิศ และดูหนังความละเอียดสูงๆสำหรับทุกวันนี้
- Super PI 1m
33.86 วินาที เร็วขึ้นกว่า AMD ตระกูล Athlon แต่ก็ถือว่ายังช้ากว่า Intel ตามสไตล์ที่สาวก AMD น่าจะรู้ดีครับ
- Cinebench R10
ทีนี้มาดู Cinebench 10 จะสังเกตว่าคะแนน CPU นั้นก็ทำออกมาได้ไม่ดีเท่าไร แต่คะแนน Open GL นั้นก็ทำออกมาได้ดีเกินหน้าเกินตาราคาค่าตัวเลยทีเดียว
- Cinebench R11.5
แต่คะแนนของ 11.5 นั้นก็ออกมาในระดับที่พอรับได้
Batterry Eater (95-5) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด และทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียุและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการจริงได้ค่อน ข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/toshiba-l640/b/27_6_2010_1/Report.html
138 นาที หรือ 2 ชั่วโมง 18 นาที นับได้ว่าน่าพอใจมากๆสำหรับเครื่องที่มีแบตขนาดเพียง 4200มิลลิแอมป์ กับซีพียูที่ประสิทธิภาพค่อนข้างดี พร้อมจอขนาด 14 นิ้วกับกราฟฟิคแยกอีกต่างหาก
Sisoft Sandra
PCmark 05
คะแนนแค่นี้ อย่าไปคิดมากครับ เล่นไปเห้อะ ดีกว่าโน๊ตบุ๊กราคาใกล้ๆกันในยุคก่อนปัจจุบันเป็นไหนๆ
3Dmark06
3Dmark 06 ก็ทำออกมาได้ดีเลยทีเดียว เรียกได้ว่าถ้าจะต้องเอาไปเล่นเกม ก็สามารถที่จะพอเล่นเกมเก่าๆได้อย่างลื่นไหล เกมใหม่ๆก็พอที่จะเปิดเล่นได้บ้างพอผ่านๆไป
.
.
…Toshiba Satellite L640 ถือได้ว่าเป็นดาวเด่นอีกตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ครับสำหรับโนตบุ๊กในกลุ่ม Value ด้วยราคาตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 19900 บาทเท่านั้น กับประสิทธิภาพที่ได้ นับว่าคุ้มค่าจริงๆครับ สำหรับคนที่กำลังมองหาโน๊ตบุ๊กราคาไม่แพง รองรับการใช้งานทั่วไป สามารถนำมาใช้งานแทน Desktop PC เครื่องเก่าได้อย่างสบาย จอขนาดกำลังดี พกพาไปไหนก็พอได้ ใช้งานในบ้านก็ยังไม่อัดอัดมากนัก
…จะ มีข้อเสียอย่างหนึ่งที่โน๊ตบุ๊กกลุ่มนี้มักจะเป็นเหมือนๆกันก็คือแบตเตอร์ รี่ขนาดที่ให้มาถึงแม้ในการทดสอบจะทำเวลาได้ถึง 2 ชั่วโมง แต่ผมก็ยังมองว่าน้อยไปสักหน่อยครับ กับขนาดแค่ 4200 มิลลิแอมป์ ซึ่งนอกจากนี้ ก็คงจะหาข้อติติงได้ลำบากแล้ว
สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลาไปก่อน สวัสดี…
.
.
ขอขอบคุณ Toshiba